ศึกษาเครื่องเป่า

คลิกสองครั้งเพื่อเพิ่มภาพตัดปะ
คลิกเพื่อ1. การจับแซกโซโฟนและการวางนิ้วในตำแหน่งต่าง ๆ
ในขั้นแรก จะใช้มือซ้ายจับลำตัวส่วนบนของแซกโซโฟนและให้หัวแม่มือของมือซ้ายอยู่ที่ตำแหน่งที่พักนิ้วใกล้กับตำแหน่ง 0 ถ้านึกภาพไม่ออกกลับไปดูที่ภาพแรกจะมีบอกไว้ (ที่สำหรับวางนิ้วหัวแม่มือจะอยู่ด้านหลังของแซกโซโฟน) ส่วนตำแหน่ง 1, 2, 3 จะถือว่าเป็นจุดหลักของส่วนบนของแซกโซโฟน โดยใช้นิ้วชี้กดลงไปที่หมายเลข 1 และใช้นิ้วกลางกดลงไปที่หมายเลข 2 เสร็จแล้วใช้นิ้วนางกดลงไปที่หมายเลข 3 ส่วนนิ้วก้อยจะใช้เฉพาะ L1, L2, L3, L4 และด้านข้างจะมีตำแหน่งต่าง ๆ ตามแผนภูมิคือ ตำแหน่ง L5, L6, L7 ตำแหน่งต่าง ๆ นี้ก็จะมีบทบาทในการทำให้เกิดเสียงในระดับต่าง ๆ กัน วิธีการใช้ L1 – L7 จะอธิบายในเรื่องของตำแหน่งต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดเสียง และเมื่อใช้มือจับส่วนบนของแซกโซโฟนเสร็จแล้ว ตอนนี้เราจะกลับไปยังส่วนล่างของแซกโซโฟน เราจะเห็นขอเกี่ยวของแซกโซโฟน ถ้านึกไม่ออกให้กลับไปดูที่ภาพแรกเสร็จแล้วใช้มือขวาจับส่วนล่างของแซกโซโฟนโดยใช้นิ้วหัวแม่มือวางลงไปที่ใต้ขอเกี่ยวด้านหลังของแซกโซโฟน เมื่อเสร็จแล้วมองไปทางด้านหน้าของแซกโซโฟน เราจะเห็นหมายเลข 4, 5, 6 นั้นก็เป็นจุดหลักของส่วนล่างเช่นเดียวกันกับจุดหลักส่วนบน ตอนนี้ใช้นิ้วชี้ไปกดที่หมายเลข 4 เมื่อเสร็จแล้วใช้นิ้วกลางไปกดที่หมายเลข 5 จากนั้นใช้นิ้วนางไปกดที่หมายเลข 6 ส่วนนิ้วก้อยจะใช้เฉพาะ R1, R2 และด้านข้างทางขวามือจะมีตำแหน่ง R3, R4, R5, R6, R7 ตำแหน่งต่าง ๆ นี้ก็จะมีบทบาทในการทำให้เกิดเสียงในระดับต่าง ๆ กันเช่นเดียวกับกลุ่มตำแหน่ง L จะเห็นได้ว่า ผมยังไม่ได้กล่าวถึง O, H เลย ตำแหน่ง O ก็คือการเพิ่ม Octave Key ตัวอย่างเช่น จากโดต่ำขึ้นไปหาตัวโดสูง เรียกว่า Octave ส่วนตำแหน่งตัว H ใช้สำหรับเล่นโน้ตสูงขึ้นเกินการจับนิ้วธรรมดา เพิ่มข้อความ


แหล่งอ้างอิง : นายพงศกร มั่นกันนาน

โดย : นาย พงศกร มั่นกันนาน, มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์, วันที่ 21 สิงหาคม 2546