หลัการและเหตุผล
เทคโนโลยีการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการช่วยจัดการเรียนการสอน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะปัจจุบัน ซึ่งเป็นโลกยุคสารสนเทศที่สามารถนำข้อมูลข่าวสารทั่วโลกมาใช้เพิ่มพูน
ประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเรียนรู้แก่ผู้เรียนได้อย่างไม่มีขีดจำกัด อินเทอร์เน็ตได้กลายมาเป็น
ถนนสายใหม่ของการศึกษา เนื่องจากก่อให้เกิดการเชื่อมโยงและกระจายข้อมูลข่าวสารไปทุกหนแห่ง
ทั่วโลก เกิดเป็นสังคมของการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและตลอดชีวิต
เวิลด์ไวด์เว็บเป็นบริการหนึ่ง บนอินเทอร์เน็ตซึ่งได้รับความนิยมนำมาประยุกต์ใช้เพื่อการศึกษามากขึ้นเรื่อยๆ
ทั้งนี้เนื่องจากสามารถ นำเสนอข้อมูลสารสนเทศในลักษณะสื่อหลายมิติหรือมัลติมีเดียที่มีประสิทธิภาพ
ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับสื่อได้ทันทีและได้รับข้อมูลทั้งตัวอักษร ภาพกราฟิก
ภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์ และเสียง จึงเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในวงการศึกษาในด้านการเรียนการสอน
ปัจจุบันผู้เรียนผู้สอนได้พัฒนาศักยภาพของตนเองด้วยการสร้างเว็บไซต์เพื่อการศึกษาเป็นจำนวนมาก
ดังนั้น กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการที่จะส่งเสริมและสนับสนุนทรัพยากรมนุษย์ของชาติที่มีศักยภาพ
ความรู้และความสามารถในการสร้างเว็บไซต์เพื่อ การศึกษา จึงได้ดำเนินโครงการจัดประกวดเว็บไซต์เพื่อการศึกษาสำหรับครูและนักเรียนขึ้น
วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดผลงานทางวิชาการในรูปแบบของเว็บไซต์ที่ผลิตโดยครูและนักเรียนซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน
2.
เพื่อกระตุ้นให้เกิดกระบวนการพัฒนาศักยภาพของครูและนักเรียน
3.
เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนเว็บไซต์เพื่อการศึกษา
เป้าหมาย
มีเว็บไซต์ที่สร้างโดยครู
และนักเรียน ในเนื้อหาวิชาต่างๆ ที่ชนะการประกวด 18 เว็บไซต์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
มีเว็บไซด์ที่ส่งเข้าประกวดระดับประถมศึกษา
50 เว็บไซด์ ระดับมัธยมศึกษา 50 เว็บไซด์ และระดับอาชีวศึกษา 50 เว็บไซด์
ประเภทของเว็บไซต์เพื่อการศึกษาที่ส่งเข้าประกวด
1.
แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
เว็บไซต์ของครูและเว็บไซต์ของนักเรียน แต่ละประเภท แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ
-
ระดับประถมศึกษา
-
ระดับมัธยมศึกษา
-
ระดับอาชีวศึกษา
2.
เนื้อหาของเว็บไซต์
--เว็บไซต์ของครู
เนื้อหาที่นำเสนอเป็นเนื้อหาที่ส่งเสริมการเรียนการสอนตามหลักสูตร ระดับประถมศึกษา
มัธยมศึกษา และอาชีวศึกษา
--เว็บไซต์ของนักเรียน
เนื้อหาที่นำเสนออาจเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับวิชาที่เรียนหรือภูมิปัญญาในท้องถิ่น
3.
คุณสมบัติของเว็บไซต์เพื่อการศึกษาที่ส่งเข้าประกวด
--ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องบอกวัตถุประสงค์ของเนื้อหาความรู้ที่จัดทำและระบุหมวดวิชาที่ส่งและระดับชั้น
(เฉพาะในส่วนของภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่ต้องระบุหมวดวิชาและ ระดับชั้น)
--
เป็นสื่อที่คิดค้นเองไม่ลอกเลียนแบบผู้อื่นอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และไม่ผูกพันลิขสิทธิ์กับผู้อื่น
--
เป็นเว็บไซต์เพื่อการศึกษาที่ไม่เคยได้รับรางวัลในการประกวดใดๆ มาก่อน
--
เนื้อหาไม่ขัดต่อความมั่นคง ความสงบเรียบร้อยของชาติและศีลธรรมอันดีของประชาชน
ผู้มีสิทธิ์ส่งเข้าประกวด
1.
เว็บไซต์ของครู
ครู
อาจารย์ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอาชีวศึกษา ซึ่งอาจจะส่งเป็นรายบุคคล
หรือ เป็นคณะก็ได้ คณะละไม่เกิน 3 คน และครู อาจารย์คนเดียวกันนั้นอาจเป็นสมาชิกได้มากกว่า
1 คณะแต่เป็น หัวหน้าคณะได้เพียงคณะเดียว การส่งผลงานให้ส่งรายบุคคลหรือคณะละ
1 ผลงานเท่านั้น
2.
เว็บไซต์ของนักเรียน
ให้ส่งผลงานเป็นคณะบุคคล
คณะละไม่เกิน 4 คน โดยต้องมีครู อาจารย์ เป็นที่ปรึกษา 1 คน นักเรียนคณะละไม่เกิน
3 คน ครู อาจารย์เป็นที่ปรึกษาได้หลายคณะแต่ละคณะ ส่งผลงานได้ 1 ผลงานเท่านั้น
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาผลงานที่ส่งเข้าประกวด
1.
ต้องสร้างเป็นเว็บไซต์ที่แสดงผลอย่างถูกต้องผ่านโปรแกรมบราวเซอร์ที่ได้รับความนิยม
คือ Internet Explorer4.0 ขึ้นไป และ/หรือ Netscape 4.0 ขึ้นไป (ควรดูเอกสารข้อเสนอแนะที่แนบท้ายประกอบ)
2.
ผลงานที่ส่งเข้าประกวดสามารถนำ
Web programming มาพัฒนาร่วมได้ ให้ใช้เฉพาะ Script programming หรือ Flash
เท่านั้น และให้ระบุรายละเอียดโปรแกรมในแบบฟอร์ม "รายละเอียดประกอบผลงานที่ส่งประกวด"
3.
จำนวนเว็บเพจของเนื้อหาความรู้ที่เกี่ยวข้อง ผลงานที่ส่งเข้าประกวด
--เว็บเพจของครู
1)
ระดับประถมศึกษา ไม่น้อยกว่า 20 หน้าเว็บเพจ
2)
ระดับมัธยมศึกษา ไม่น้อยกว่า 25 หน้าเว็บเพจ
3)
ระดับอาชีวศึกษา ไม่น้อยกว่า 25 หน้าเว็บเพจ
--เว็บเพจของนักเรียน
1)
ระดับประถมศึกษา ไม่น้อยกว่า 10 หน้าเว็บเพจ
2)
ระดับมัธยมศึกษา ไม่น้อยกว่า 15 หน้าเว็บเพจ
3)
ระดับอาชีวศึกษา ไม่น้อยกว่า 15 หน้าเว็บเพจ
4.
ผลงานที่ส่งเข้าประกวดซึ่งรวมถึงรูปภาพ
ข้อความ เสียง วีดิทัศน์ และส่วนอื่นๆ ของผลงานต้องเป็นผลงานที่ผู้ส่งเข้าประกวดสร้างสรรค์ด้วยตนเอง
มิได้ทำซ้ำ คัดลอกเลียนแบบ ดัดแปลงของผู้อื่นอันเป็น การละเมิดลิขสิทธิ์
และผู้ส่งผลงานจะต้องรับผิดชอบในผลงานที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์เกิดขึ้น
5.
เกณฑ์การพิจารณาตัดสินแบ่งพิจารณาเป็น 4 ส่วน คะแนนรวม 100 คะแนน
-
เว็บเพจของครู
ศิลปะและความคิดสร้างสรรค์
: เนื้อหา : เทคนิค : ประโยชน์ต่อการนำไปใช้
20
: 40 : 20 :20
-
เว็บไซต์ของนักเรียน
ศิลปะและความคิดสร้างสรรค์
: เนื้อหา : เทคนิค : ประโยชน์ต่อการนำไปใช้
30
: 30 : 30 :10
รายละเอียดแต่ละส่วนของเกณฑ์การพิจารณาตัดสินผลคือ
ส่วนที่ 1 ศิลปะและความคิดสร้างสรรค์
1.
ความคิดสร้างสรรค์มีความโดดเด่น แปลกใหม่
2.
ความสวยงามน่าสนใจใช้สีสันที่เหมาะสม
3.
การวาง lay out ช่วยให้อ่านข้อมูลได้ง่ายสบายตา
4.
มีความกลมกลืนในการนำเสนอทุกหน้า
ส่วนที่ 2 เนื้อหา
เว็บไซต์ของครูพิจารณาในประเด็นต่อไปนี้
1.
เนื้อหาถูกต้องตามหลักวิชา สมบูรณ์ในตัวเอง
2.
ใช้ภาษาถูกต้อง กระชับ เข้าใจง่าย เหมาะสมกับวัยผู้เรียน
3.
ครอบคลุมวัตถุประสงค์ที่นำเสนอ
4.
ความยากง่ายเหมาะสมกับระดับชั้น
5.
เลือกใช้ภาพกราฟิกและสื่อมัลติมีเดียอื่นที่เหมาะสมกับเนื้อหา เช่น เสียง
วีดิทัศน์ รวมทั้ง Web programming ต่างๆ เช่น Simulation. การโต้ตอบกับผู้ใช้
เว็บไซต์ของนักเรียนพิจารณาในประเด็นต่อไปนี้
1.
เนื้อหามีความถูกต้องตามหลักวิชา
2.
ใช้ภาษาถูกต้อง เหมาะสม กระชับ เข้าใจง่าย
3.
ครอบคลุมวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้
4.
เลือกใช้ภาพกราฟิกและสื่อมัลติมีเดียอื่นที่เหมาะสมกับเนื้อหา เช่น เสียง
วีดิทัศน์ รวมทั้ง ต่างๆ
Web programming ต่างๆ เช่น Simulation, การโต้ตอบกับผู้ใช้
ส่วนที่ 3 เทคนิค
1.
แสดงผลอย่างถูกต้องผ่านโปรแกรมบราวเซอร์ที่เป็นที่นิยมคือ Internet Explorer
version 4.0 ขึ้นไป และ/หรือ Netscape 4.0 ขึ้นไป
2.
แสดงผลภาษาไทยอย่างถูกต้อง
3.
เทคนิคการใช้ภาพเหมาะสม เช่นเลือก format ของรูปภาพที่ถูกต้องรวมทั้งการเลือกใช้เทคนิคในด้านอื่นด้วย
4.
ความถูกต้องของการทำจุดเชื่อม (link) ไปยังจุดต่างๆ
5.
ความถูกต้องของการใช้ตารางและ/หรือเฟรม
6.
ความถูกต้องของ web programming และสื่อมัลติมีเดียอื่นเช่น Flash, Script
Programming เสียง, วีดิทัศน์
7.
ความราบรื่นในการเรียกดูข้อมูล (Navigation User friendliness)
ส่วนที่ 4 ประโยชน์ต่อการนำไปใช้
1.
เป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในการเรียนการสอนสำหรับครู นักเรียน
2.
เป็นประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้
3.
เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของบุคคลทั่วไป
การส่งผลงานเข้าประกวด
1.
ให้ส่งใบแจ้งความจำนงเข้าประกวดทางไปรษณีย์ที่กลุ่มพัฒนาสื่อเทคโนโลยี ศูนย์พัฒนาหนังสือ
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ กทม. 10300 หรือกรอกทางอินเตอร์เน็ตที่ URL
http://www.school.net.th/eduwebcontest 2002 ภายในวันที่ 30 มีนาคม 2545
(หากพ้นกำหนดไม่มีสิทธิส่งผลงานเข้าประกวด)
2.
ส่งผลงานพร้อมใบสมัครที่กลุ่มพัฒนาสื่อเทคโนโลยี ศูนย์พัฒนาหนังสือ กรมวิชาการ
ชั้น 5 กระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพฯ 10300 โทรศัพท์ 0-2281-6185 ต่อ 504,
505 โทรสาร 0-2628-5336 ภายในวันที่ 10 เมษายน - 15 พฤษภาคม 2545
3.
ส่งผลงานโดยบันทึกลงแผ่น CD-ROM หรือแผ่นดิสเกต จำนวน 5 ชุด พร้อมรายละเอียดประกอบตามแบบฟอร์มที่แนบกับใบสมัคร
อาจมีเอกสารการนำเสนออื่นๆ ประกอบด้วยก็ได้ กรณีส่งแผ่นดิสเกตที่มากกว่า
1 แผ่น ต้องบอกวิธีการลงในคอมพิวเตอร์ให้สามารถเรียกดูข้อมูลได้หากไม่สามารถเรียกดูข้อมูลได้
คณะกรรมการสงวนสิทธิที่จะไม่พิจารณา
4.
คณะกรรมการฯ สงวนสิทธิ์ที่จะไม่ส่งคืนผลงาน
5.
ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดทุกผลงานทั้งได้รับรางวัลและไม่ได้รับรางวัลยินยอมให้กระทรวงศึกษาธิการ
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาตินำผลงานที่ส่งเข้าประกวดเผยแพร่ต่อสาธารณะได้
การพิจารณาตัดสินและประกาศผล
1.
กระทรวงศึกษาธิการจะแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาตัดสินการประกวดเว็บไซต์เพื่อการศึกษา
คณะหนึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทั้งด้านเนื้อหา เทคโนโลยีและกระบวนการเรียนการสอน
ทำหน้าที่พิจารณาตัดสินผลงานที่ส่งเข้าประกวด
2.
คณะกรรมการฯ ตัดสินไม่มีสิทธิ์ส่งผลงานเข้าประกวด และหรือเป็นครูที่ปรึกษาของกลุ่มนักเรียน
3.
คณะกรรมการฯตามข้อ 1 สงวนสิทธิ์ที่จะไม่ให้รางวัลหนึ่งรางวัลใดก็ได้
4.
การตัดสินของคณะกรรมการฯ ตามข้อ 1 ถือเป็นเด็ดขาด จะอุทธรณ์มิได้
5.
ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดจะต้องรับผิดชอบหากเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ และกระทรวงศึกษาธิการสงวนสิทธิ์ที่จะยกเลิกการให้รางวัลสำหรับผลงานที่เชื่อว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในกรณีที่ปรากฏหลักฐานภายหลังว่า
ผลงานที่ได้รับรางวัลดังกล่าวเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือเป็นการคัดลอกผลงานผู้อื่นมา
จะเรียกคืนรางวัลทั้งหมดและตัดสิทธิ์การส่งผลงานเข้าประกวดตลอดไป
6.
กระทรวงศึกษาธิการจะประกาศผลให้ทราบทางสื่อมวลชนต่างๆ ประมาณปลายเดือน กรกฎาคม
2545
การให้รางวัล
1.
รางวัลทั้งสองประเภทแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอาชีวศึกษา
รางวัลประเภทนักเรียนกรณีส่งเป็นคณะที่มีครูเป็นที่ปรึกษา
ให้ครูที่ปรึกษารับรางวัลเป็นสัดส่วนต่อนักเรียนในอัตรา 20 : 80
ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศจะได้รับเงินรางวัลพร้อมทั้งโล่รางวัล
ส่วนผู้ที่ได้รับรางวัลชมเชยจะได้รับเกียรติบัตรพร้อมทั้งเงินรางวัล โดยมีรายละเอียดดังนี้
-ระดับประถมศึกษา
รางวัลชนะเลิศสำหรับครู
3 รางวัลๆ ละ 30,000
รางวัลชนะเลิศสำหรับนักเรียน
3 รางวัลๆ ละ 20,000
รางวัลชมเชยสำหรับครู
3 รางวัลๆ ละ 10,000 รางวัลชมเชยสำหรับนักเรียน 3 รางวัลๆ ละ 5,000
-ระดับมัธยมศึกษา
รางวัลชนะเลิศสำหรับครู
3 รางวัลๆ ละ 30,000 รางวัลชนะเลิศสำหรับนักเรียน 3 รางวัลๆ ละ 20,000 รางวัลชมเชยสำหรับครู
3 รางวัลๆ ละ 10,000
รางวัลชมเชยสำหรับนักเรียน
3 รางวัลๆ ละ 5,000
-
ระดับอาชีวศึกษา
รางวัลชนะเลิศสำหรับครู
3 รางวัลๆ ละ 30,000
รางวัลชนะเลิศสำหรับนักเรียน
3 รางวัลๆ ละ 20,000
รางวัลชมเชยสำหรับครู
3 รางวัลๆ ละ 10,000
รางวัลชมเชยสำหรับนักเรียน
3 รางวัลๆ ละ 5,000
2.
การให้รางวัลจะให้รางวัลแก่ผู้สร้างผลงานเท่านั้น
3.
การรับรางวัล กระทรวงศึกษาธิการจะแจ้งให้ผู้ที่ได้รับรางวัลทราบโดยตรง
4.
ให้ผลงานที่ได้รับรางวัลเป็นลิขสิทธิ์ของกระทรวงศึกษาธิการแต่ผู้เดียวแต่เพียงผู้เดียว
การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
ผลงานที่ได้รับรางวัลตามข้อ
6. กรมวิชาการจะเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้โรงเรียนและสถานศึกษาทราบต่อไป
รายละเอียดการติดต่อ
กลุ่มพัฒนาสื่อเทคโนโลยี ศูนย์พัฒนาหนังสือ
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
กรุงเทพฯ 10300
โทรศัพท์ 0-2281-6185 ต่อ 504, 505
โทรสาร 0-2628-5336
หรือ
โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย (SchoolNet)
โทรศัพท์ 0-2247-8288
โทรสาร 0-2247-8055
|