การเตรียมพร้อมและการบรรเทาทุกข์จากภัยพิบัติ

 

.   สถานการณ์ทั่วไป

       .           ปัจจุบันภัยจากการคุกคามด้านกำลังทหารภายนอกประเทศมีแนวโน้มลดลง  ในขณะที่

สาธารณภัยมีแนวโน้มที่จะทวีจำนวนความถี่และความรุนแรงเพิ่มขึ้น  ไม่ว่าจะเป็นสาธารณภัยที่

เกิดขึ้นจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติซึ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงได้  หรือที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์

ขณะเดียวกัน  การพัฒนาและความเจริญก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรม  ได้ยังผลให้ภัยพิบัติที่เกิดขึ้น

มีความหลากหลายและสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น  ภัยพิบัติมักก่อให้เกิดความเสียหายและผลกระทบใน

ด้านต่าง ๆ อย่างมาก  ซึ่งถือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างยิ่ง   เพื่อป้องกันและลดผล

กระทบที่อาจจะเกิดขึ้น  การจัดทำหรือการปรับปรุงแผนป้องกันภัยจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง

ทั้งนี้เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยให้สามารถปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีระบบ  มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

สูงสุด

       .   ในภาวะปกติ  รัฐต้องเตรียมป้องกันภัยต่าง ๆ  ด้วยการจัดเตรียมการให้พร้อม           ที่จะเผชิญ

กับภัยทุกรูปแบบเมื่อเกิดภัยขึ้นหรือใกล้จะเกิด  ไม่ว่าภัยแบบใดแบบหนึ่งหรือเกิดหลายแบบพร้อม ๆ

กัน  หน่วยงานของรัฐจะต้องเข้าอำนวยการปฏิบัติในการป้องกัน  บรรเทา  และฟื้นฟูบูรณะอย่างมี

เอกภาพ  เพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด

       .   กระทรวงกลาโหม  เป็นองค์กรหนึ่งของรัฐที่มีหน้าที่ให้การสนับสนุนช่วยเหลือผู้ประสบ

สาธารณภัยตาม พ...ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ..๒๕๒๒  และแผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน

..๒๕๔๑ ของกระทรวงมหาดไทย   จึงได้จัดตั้ง ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กระทรวงกลาโหม

(ศบภ.กห.) ขึ้น  ตามคำสั่ง กห. (เฉพาะ) ที่ ๗๐/๔๐  ลง ๒๕ มี..๔๐   โดยมีหน้าที่อำนวยการ

ประสานงาน  สั่งการและกำกับดูแลการปฏิบัติของส่วนราชการใน กห. ในการช่วยเหลือผู้ประสบ

สาธารณภัยทั้งปวง ตลอด ๒๔ ชั่วโมง   ในส่วนของกองทัพอากาศ ได้จัดตั้ง ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย

กองทัพอากาศ (ศบภ.ทอ.) ขึ้นรองรับภารกิจให้การช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย ตามนโยบายของ

กห.  เมื่อได้รับการร้องขอจากหน่วยงานของรัฐ และ/หรือ เอกชน และ/หรือ ศบภ.กห.  โดยมี

ผช.เสธ.ทอ.ฝขว. เป็น ผอ.ศูนย์ ฯ   จก.ยก.ทอ. เป็นรอง ผอ.ศูนย์ ฯ  และ ผอ.กกร.ยก.ทอ. เป็นเลขา ฯ

ศูนย์ ฯ

.   ภารกิจ

       เตรียมและดำเนินการป้องกันบรรเทาและลดอันตรายที่เกิดขึ้นแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

และของรัฐ  อันเนื่องมาจากสาธารณภัย  เมื่อได้รับการร้องขอจากศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กห.

(ศบภ.กห.) และ/หรือ ฝ่ายพลเรือน

                                                                                             .   การปฏิบัติ…

 

- -

 

.   การปฏิบัติ

       .   แนวความคิดในการปฏิบัติ

                 ..   เพื่อให้การช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบสาธารณภัยเป็นไป

อย่างมีประสิทธิภาพ  สอดคล้องกันนโยบาย กห., บก.ทหารสูงสุด และการปฏิบัติของเหล่าทัพอื่น

ทอ. จะจัดตั้ง ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ  มีคำย่อว่า “ศบภ.ทอ  ขึ้นที่ กกร.ยก.ทอ.

เพื่อเตรียมปฏิบัติภารกิจตลอด ๒๔ ชั่วโมง ตั้งแต่ยามปกติ  โดยมี ผช.เสธ.ทอ.ฝขว. รับผิดชอบ  ส่วน

หน่วย ทอ. ณ ที่ตั้งต่างจังหวัด  ได้แก่  รร.การบิน  กองบิน  และฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนาม  ให้

จัดตั้งศูนย์บรรเทาสาธารณภัยหน่วยขึ้น  มีคำย่อว่า “ศบภ. ………”   เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบ

สาธารณภัยในพื้นที่ตั้งของหน่วย  โดยมี ผบ.หน่วย เป็นผู้รับผิดชอบ

                 ..    ศบภ.ทอ. มี ผช.เสธ.ทอ.ฝขว. เป็นผู้อำนวยการศูนย์ ฯ (ผอ.ศบภ.ทอ.)  จก.ยก.ทอ.

เป็นรองผู้อำนวยการศูนย์ ฯ (รอง ผอ.ศบภ.ทอ.)   รอง จก.ยก.ทอ.() เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ ฯ

(ผช.ผอ.ศบภ.ทอ.)   ผอ.กกร.ยก.ทอ. เป็นเลขานุการศูนย์ ฯ (เลขา ฯ ศบภ.ทอ.)  และ รอง ผอ.กกร.

ยก.ทอ. เป็นผู้ช่วยเลขานุการศูนย์ ฯ (ผช.เลขา ฯ ศบภ.ทอ.)   โดยจัดให้มีกำลังพล  อุปกรณ์  เครื่องมือ

เครื่องใช้  และยานพาหนะสำหรับปฏิบัติงานอย่างเพียงพอ   สำหรับ ศบภ.รร.การบิน  กองบิน  และ

ฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนาม  ให้ ผบ.หน่วย เป็นผู้อำนวยการศูนย์ ฯ

                 ..    ศบภ.ทอ. มีหน้าที่วางแผน  อำนวยการ  ประสานงาน  สั่งการและควบคุม  กำกับ

ดูแลการปฏิบัติของหน่วย ทอ. ต่าง ๆ  ทั้งในที่ตั้งส่วนกลางและต่างจังหวัด  ในการให้การช่วยเหลือ

และบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบสาธารณภัยทั้งปวง  รวมทั้งเป็นศูนย์กลางรับการบริจาคของ

ทอ. เพื่อการช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย  และรวบรวมผลการปฏิบัตินำเรียนผู้บังคับบัญชาอย่าง

ต่อเนื่อง

       .   ขั้นตอนการปฏิบัติ

                 การให้การช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบสาธารณภัย  ต้องกระทำอย่าง

ต่อเนื่องตลอดเวลาตั้งแต่ยามปกติ  โดยแบ่งขั้นตอนการปฏิบัติออกเป็น ๓ ขั้นตอน  ดังนี้

                 ..    ขั้นเตรียมการและป้องกัน  คือ  การจัดเตรียมและหาวิธีป้องกันมิให้ประสบภัยขึ้น

หรือแก้ไขอุปสรรคไว้ล่วงหน้าก่อนที่ภัยจะเกิดขึ้น  เพื่อลดผลกระทบที่เป็นอันตรายและการสูญเสียต่อ

ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ภาครัฐและเอกชน   โดยปฏิบัติตั้งแต่ยามปกติ  ดังนี้

                               ...   การเตรียมคนและวัสดุอุปกรณ์

                                                -   จัดเตรียม จนท. รับผิดชอบงาน ซักซ้อม ฝึกซ้อม อบรมและกำหนด

วิธีการปฏิบัติหน้าที่ตามขั้นตอนต่าง ๆ ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ

                                                                                                                           -   ประสาน…

- -

 

                                                -   ประสานการเตรียมการกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการจัดเตรียม

คน  วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ  รวมทั้งจัดหางบประมาณสนับสนุนตามความจำเป็นและเหมาะสม

                                                -   จัดเตรียมกำลังพล  สถานที่  วัสดุอุปกรณ์  เครื่องมือเครื่องใช้

เพื่อสนับสนุนการป้องกันภัยต่าง ๆ

                               ...   การจัดระบบการปฏิบัติการ

                                                -   จัดให้มีการทำแผนการปฏิบัติของ จนท.  และมีการซักซ้อมตั้งแต่

ยามปกติ  เพื่อให้พร้อมปฏิบัติการได้ทันทีเมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้น

                               ...   การสำรวจพื้นที่เสี่ยงภัย

                                                -   สำรวจวิเคราะห์พื้นที่ที่มักเกิดภัยขึ้นเป็นประจำ  หรือเป็นพื้นที่ที่

เสี่ยงต่อการเกิดภัยทุกรูปแบบ  และจัดทำบัญชีเป้าหมายการป้องกันภัยต่าง ๆ โดยแยกประเภทของภัย

จัดลำดับความเร่งด่วนในการปฏิบัติในการเผชิญภัยคุกคามที่เกิดขึ้น

                 ..    ขั้นการปฏิบัติเมื่อเกิดภัย  คือ  การขจัดหรือลดความรุนแรงของภัย  รวมทั้งการ

รักษาขวัญและความเป็นระเบียบให้คงไว้  เพื่อให้สถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว  โดยมีวัตถุประสงค์  ดังนี้

                               ...   สงวนรักษาชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และทรัพย์สินของทาง

ราชการ

                               ...   รักษาขวัญ กำลังใจ และความเป็นระเบียบในการปฏิบัติหน้าที่ของ

เจ้าหน้าที่และประชาชนให้คงไว้ระหว่างที่ภัยยังปรากฎอยู่

                               ...   ระงับภัยที่เกิดขึ้นให้ยุติโดยเร็ว

                 ..    ขั้นการฟื้นฟูบูรณะ  คือ  การดำเนินการทั้งปวงเพื่อช่วยเหลือบรรเทาอันตราย

ซ่อมแซมสิ่งชำรุดเสียหายให้กลับคืนสู่สภาพเดิม  เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจของประชาชน

ให้กลับคืนสู่สภาพปกติ  โดยยึดถือหลัก ๓ ประการ  ดังนี้

                               ...   ให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ขั้นต้นแก่ประชาชนผู้ประสบภับ

                               ...   ให้การบรรเทาอันตรายอันเกิดต่อเนื่องมาจากภัยนั้น

                               ...   ให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือ  การฟื้นฟูสภาพของประชาชนผู้ประสบภัย

ให้สามารถดำรงชีวิตกลับสู่สภาพปกติโดยเร็ว

       .   พื้นที่รับผิดชอบ

                 ..    ในเขตพื้นที่กรุงเทพ ฯ และปริมณฑล   ศบภ.ทอ. รับผิดชอบการปฏิบัติ

                 ..    ในเขตพื้นที่ต่างจังหวัด ให้ ศบภ.รร.การบิน,  กองบิน  และฝูงบินอิสระปฏิบัติ

                                                                                                                                ราชการ…

- -

 

ราชการสนาม  รับผิดชอบการปฏิบัติ  โดยพิจารณาจังหวัดใกล้เคียงและจังหวัดรอบที่ตั้งหน่วยเป็นหลัก

       .   ขอบเขตการปฏิบัติและอำนาจสั่งการ

                 ..    ดำเนินการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบสาธารณภัย  อันเกิดจากภัยธรรมชาติและ

อุบัติภัยเท่านั้น

                 ..    ใช้วัสดุ  อุปกรณ์  ยุทโธปกรณ์  และกำลังพลที่มีอยู่ใน ทอ.  โดยประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานฝ่ายพลเรือน และประชาชนในพื้นที่ที่เกิดภัยพิบัติ

                 ..    หลีกเลี่ยงการปฏิบัติการใด ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อแผนการป้องกันและบรรเทา

สาธารณภัยของฝ่ายพลเรือนหรือของรัฐ  โดยให้ประสานการปฏิบัติซึ่งกันและกัน

                 ..    ผอ.ศบภ.ทอ. มีอำนาจสั่งใช้วัสดุ  อุปกรณ์  ยุทโธปกรณ์  และกำลังพล  รวมทั้ง

อากาศยานของ ทอ.  ในการช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย

                 ..    ผอ.ศบภ.รร.การบิน,  กองบิน  และฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนาม  สามารถ

สั่งการใช้วัสดุ  อุปกรณ์  ยุทโธปกรณ์  และกำลังพล  รวมทั้งอากาศยาน  ที่อยู่ในบังคับบัญชา  ให้

การช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยได้ทันทีเมื่อได้รับการร้องขอ  แล้วรายงานให้ ศบภ.ทอ. ทราบ

ทุกระยะ

                 ..    การให้ความช่วยเหลือ ตามข้อ ๓..  หากเกินขีดความสามารถของหน่วย

ให้ขอรับการสนับสนุนจากหน่วย ทอ. ข้างเคียง  และ/หรือ ศบภ.ทอ.

 

ตัวอย่างการช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์อันเนื่องมาจากภัยพิบัติที่ผ่านมา

         ในกรณีภาคใต้เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ ในช่วงเดือนสิงหาคม พ..๒๕๔๐    สาเหตุจาก

พายุโซนร้อน “ซีต้า“  ได้พัดผ่านพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย   ส่งผลให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าว

ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก   โดยเฉพาะที่จังหวัดชุมพรและจังหวัดระนอง  ประชาชนไม่สามารถออกจากพื้นที่น้ำท่วมได้ เกิดภาวะขาดแคลนอาหารและน้ำดื่ม

                     กองทัพ ได้ร่วมกันให้การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัยอย่าง

เร่งด่วน  โดย ทอ. ได้ใช้อากาศยานขนส่งกำลังพล เครื่องอุปโภคบริโภค น้ำดื่ม ยารักษาโรค พร้อม

วัสดุอุปกรณ์อื่น ๆ  เช่น เรือท้องแบนพร้อมเครื่องยนต์ของ ทร.  จากสนามบินดอนเมือง ไปส่งยัง

สนามบินจังหวัดระนอง และจังหวัดสุราษฎร์ธานี  หลังจากนั้น ทบ. และ ทร. จัดรถยนต์บรรทุก

ขนย้ายวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าว จากสนามบินไปส่งให้กับประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่

                     ในการนี้  ทอ. ได้ใช้ บ..(C – 130)  ขนส่งเครื่องอุปโภคบริโภคจากโครงการอาสา

                                                                                                                              “เพื่อนพึ่ง…

- -

 

“เพื่อนพึ่ง (ภา ฯ) ยามยาก”  เรือท้องแบนจาก ทร.  รวมทั้งยารักษาโรค  มีน้ำหนักบรรทุกโดยรวม

๙๙๕,๙๐๐ ปอนด์  จากสนามบินดอนเมือง ไปยังสนามบินสุราษฎร์ธานี และสนามบินระนอง  ใช้

เที่ยวบินทั้งสิ้น  ๓๘ เที่ยวบิน  ๑๐๑.๙ ชั่วโมงบิน   สำหรับการขนย้ายวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวไปให้

ประชาชนที่ติดอยู่ในพื้นที่ประสบภัย  ทอ. ได้ใช้ ฮ.๔ ก ในการขนย้ายทั้งสิ้น  ๓๗ เที่ยวบิน

๕๑.๕ ชั่วโมงบิน  พร้อมทั้งได้จัดกำลังพลจาก กองบิน ๗ (สุราษฎร์ธานี) และ กองบิน ๕๓ (ประจวบ

คีรีขันธ์)  ร่วมปฏิบัติงานกับทางจังหวัดในพื้นที่ด้วย