back to Home back forward stop add this page to your Favorites
๓. การปฏิบัต
๓.๑ แนวความคิดในการปฏิบัติ
๓.๑.๑ เพื่อให้การช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบสาธารณภัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกันนโยบาย กห., บก.ทหารสูงสุด และการปฏิบัติของเหล่าทัพอื่นทอ. จะจัดตั้ง ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ มีคำย่อว่า “ศบภ.ทอ.” ขึ้นที่ กกร.ยก.ทอ.เพื่อเตรียมปฏิบัติภารกิจตลอด ๒๔ ชั่วโมง ตั้งแต่ยามปกติ โดยมี ผช.เสธ.ทอ.ฝขว. รับผิดชอบ ส่วนหน่วย ทอ. ณ ที่ตั้งต่างจังหวัด ได้แก่ รร.การบิน กองบิน และฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนาม ให้จัดตั้งศูนย์บรรเทาสาธารณภัยหน่วยขึ้น มีคำย่อว่า “ศบภ. ………” เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยในพื้นที่ตั้งของหน่วย โดยมี ผบ.หน่วย เป็นผู้รับผิดชอบ ๓.๑.๒ ศบภ.ทอ. มี ผช.เสธ.ทอ.ฝขว. เป็นผู้อำนวยการศูนย์ ฯ (ผอ.ศบภ.ทอ.) จก.ยก.ทอ.เป็นรองผู้อำนวยการศูนย์ ฯ (รอง ผอ.ศบภ.ทอ.) รอง จก.ยก.ทอ.(๑) เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ ฯ(ผช.ผอ.ศบภ.ทอ.) ผอ.กกร.ยก.ทอ. เป็นเลขานุการศูนย์ ฯ (เลขา ฯ ศบภ.ทอ.) และ รอง ผอ.กกร.ยก.ทอ. เป็นผู้ช่วยเลขานุการศูนย์ ฯ (ผช.เลขา ฯ ศบภ.ทอ.) โดยจัดให้มีกำลังพล อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ และยานพาหนะสำหรับปฏิบัติงานอย่างเพียงพอ สำหรับ ศบภ.รร.การบิน กองบิน และฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนาม ให้ ผบ.หน่วย เป็นผู้อำนวยการศูนย์ ฯ ๓.๑.๓ ศบภ.ทอ. มีหน้าที่วางแผน อำนวยการ ประสานงาน สั่งการและควบคุม กำกับดูแลการปฏิบัติของหน่วย ทอ. ต่าง ๆ ทั้งในที่ตั้งส่วนกลางและต่างจังหวัด ในการให้การช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบสาธารณภัยทั้งปวง รวมทั้งเป็นศูนย์กลางรับการบริจาคของทอ. เพื่อการช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย และรวบรวมผลการปฏิบัตินำเรียนผู้บังคับบัญชาอย่างต่อเนื่อง
๓.๒ ขั้นตอนการปฏิบัติ
การให้การช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบสาธารณภัย ต้องกระทำอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาตั้งแต่ยามปกติ โดยแบ่งขั้นตอนการปฏิบัติออกเป็น ๓ ขั้นตอน ดังนี้
๓.๒.๑ ขั้นเตรียมการและป้องกัน คือ การจัดเตรียมและหาวิธีป้องกันมิให้ประสบภัยขึ้นหรือแก้ไขอุปสรรคไว้ล่วงหน้าก่อนที่ภัยจะเกิดขึ้น เพื่อลดผลกระทบที่เป็นอันตรายและการสูญเสียต่อ ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ภาครัฐและเอกชน โดยปฏิบัติตั้งแต่ยามปกติ ดังนี้ ๓.๒.๑.๑ การเตรียมคนและวัสดุอุปกรณ์ - จัดเตรียม จนท. รับผิดชอบงาน ซักซ้อม ฝึกซ้อม อบรมและกำหนดวิธีการปฏิบัติหน้าที่ตามขั้นตอนต่าง ๆ ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ - ประสานการเตรียมการกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการจัดเตรียมคน วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งจัดหางบประมาณสนับสนุนตามความจำเป็นและเหมาะสม - จัดเตรียมกำลังพล สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้เพื่อสนับสนุนการป้องกันภัยต่าง ๆ ๓.๒.๑.๒ การจัดระบบการปฏิบัติการ - จัดให้มีการทำแผนการปฏิบัติของ จนท. และมีการซักซ้อมตั้งแต่ยามปกติ เพื่อให้พร้อมปฏิบัติการได้ทันทีเมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้น ๓.๒.๑.๓ การสำรวจพื้นที่เสี่ยงภัย - สำรวจวิเคราะห์พื้นที่ที่มักเกิดภัยขึ้นเป็นประจำ หรือเป็นพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยทุกรูปแบบ และจัดทำบัญชีเป้าหมายการป้องกันภัยต่าง ๆ โดยแยกประเภทของภัย จัดลำดับความเร่งด่วนในการปฏิบัติในการเผชิญภัยคุกคามที่เกิดขึ้น ๓.๒.๒ ขั้นการปฏิบัติเมื่อเกิดภัย คือ การขจัดหรือลดความรุนแรงของภัย รวมทั้งการรักษาขวัญและความเป็นระเบียบให้คงไว้ เพื่อให้สถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๓.๒.๒.๑ สงวนรักษาชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และทรัพย์สินของทางราชการ ๓.๒.๒.๒ รักษาขวัญ กำลังใจ และความเป็นระเบียบในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่และประชาชนให้คงไว้ระหว่างที่ภัยยังปรากฎอยู่ ๓.๒.๒.๓ ระงับภัยที่เกิดขึ้นให้ยุติโดยเร็ว ๓.๒.๓ ขั้นการฟื้นฟูบูรณะ คือ การดำเนินการทั้งปวงเพื่อช่วยเหลือบรรเทาอันตรายซ่อมแซมสิ่งชำรุดเสียหายให้กลับคืนสู่สภาพเดิม เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจของประชาชนให้กลับคืนสู่สภาพปกติ โดยยึดถือหลัก ๓ ประการ ดังนี้ ๓.๒.๓.๑ ให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ขั้นต้นแก่ประชาชนผู้ประสบภับ ๓.๒.๓.๒ ให้การบรรเทาอันตรายอันเกิดต่อเนื่องมาจากภัยนั้น ๓.๒.๓.๓ ให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือ การฟื้นฟูสภาพของประชาชนผู้ประสบภัยให้สามารถดำรงชีวิตกลับสู่สภาพปกติโดยเร็ว
๓.๓ พื้นที่รับผิดชอบ
๓.๓.๑ ในเขตพื้นที่กรุงเทพ ฯ และปริมณฑล ศบภ.ทอ. รับผิดชอบการปฏิบัติ ๓.๓.๒ ในเขตพื้นที่ต่างจังหวัด ให้ ศบภ.รร.การบิน, กองบิน และฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนาม รับผิดชอบการปฏิบัติ โดยพิจารณาจังหวัดใกล้เคียงและจังหวัดรอบที่ตั้งหน่วยเป็นหลัก
๓.๔ ขอบเขตการปฏิบัติและอำนาจสั่งการ
๓.๔.๑ ดำเนินการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบสาธารณภัย อันเกิดจากภัยธรรมชาติและอุบัติภัยเท่านั้น ๓.๔.๒ ใช้วัสดุ อุปกรณ์ ยุทโธปกรณ์ และกำลังพลที่มีอยู่ใน ทอ. โดยประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานฝ่ายพลเรือน และประชาชนในพื้นที่ที่เกิดภัยพิบัติ ๓.๔.๓ หลีกเลี่ยงการปฏิบัติการใด ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของฝ่ายพลเรือนหรือของรัฐ โดยให้ประสานการปฏิบัติซึ่งกันและกัน ๓.๔.๔ ผอ.ศบภ.ทอ. มีอำนาจสั่งใช้วัสดุ อุปกรณ์ ยุทโธปกรณ์ และกำลังพล รวมทั้งอากาศยานของ ทอ. ในการช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย ๓.๔.๕ ผอ.ศบภ.รร.การบิน, กองบิน และฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนาม สามารถสั่งการใช้วัสดุ อุปกรณ์ ยุทโธปกรณ์ และกำลังพล รวมทั้งอากาศยาน ที่อยู่ในบังคับบัญชา ให้การช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยได้ทันทีเมื่อได้รับการร้องขอ แล้วรายงานให้ ศบภ.ทอ. ทราบทุกระยะ ๓.๔.๖ การให้ความช่วยเหลือ ตามข้อ ๓.๔.๕ หากเกินขีดความสามารถของหน่วยให้ขอรับการสนับสนุนจากหน่วย ทอ. ข้างเคียง และ/หรือ ศบภ.ทอ.