back to Home back forward stop add this page to your Favorites
๑. สถานการณ์ทั่วไป
๑.๑ ปัจจุบันภัยจากการคุกคามด้านกำลังทหารภายนอกประเทศมีแนวโน้มลดลง
ในขณะที่สาธารณภัยมีแนวโน้มที่จะทวีจำนวนความถี่และความรุนแรงเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสาธารณภัยที่เกิดขึ้นจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติซึ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ หรือที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ขณะเดียวกัน การพัฒนาและความเจริญก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรม ได้ยังผลให้ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นมีความหลากหลายและสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ภัยพิบัติมักก่อให้เกิดความเสียหายและผลกระทบในด้านต่าง ๆ อย่างมาก ซึ่งถือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันและลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น การจัดทำหรือการปรับปรุงแผนป้องกันภัยจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งทั้งนี้เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยให้สามารถปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีระบบ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
๑.๒ ในภาวะปกติ รัฐต้องเตรียมป้องกันภัยต่าง ๆ
ด้วยการจัดเตรียมการให้พร้อม ที่จะเผชิญกับภัยทุกรูปแบบเมื่อเกิดภัยขึ้นหรือใกล้จะเกิด ไม่ว่าภัยแบบใดแบบหนึ่งหรือเกิดหลายแบบพร้อม ๆกัน หน่วยงานของรัฐจะต้องเข้าอำนวยการปฏิบัติในการป้องกัน บรรเทา และฟื้นฟูบูรณะอย่างมีเอกภาพ เพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด
๑.๓ กระทรวงกลาโหม
เป็นองค์กรหนึ่งของรัฐที่มีหน้าที่ให้การสนับสนุนช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยตาม พ.ร.บ.ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ.๒๕๒๒ และแผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนพ.ศ.๒๕๔๑ ของกระทรวงมหาดไทย จึงได้จัดตั้ง ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กระทรวงกลาโหม(ศบภ.กห.) ขึ้น ตามคำสั่ง กห. (เฉพาะ) ที่ ๗๐/๔๐ ลง ๒๕ มี.ค.๔๐ โดยมีหน้าที่อำนวยการประสานงาน สั่งการและกำกับดูแลการปฏิบัติของส่วนราชการใน กห. ในการช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยทั้งปวง ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ในส่วนของกองทัพอากาศ ได้จัดตั้ง ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ (ศบภ.ทอ.) ขึ้นรองรับภารกิจให้การช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย ตามนโยบายของกห. เมื่อได้รับการร้องขอจากหน่วยงานของรัฐ และ/หรือ เอกชน และ/หรือ ศบภ.กห. โดยมีผช.เสธ.ทอ.ฝขว. เป็น ผอ.ศูนย์ ฯ จก.ยก.ทอ. เป็นรอง ผอ.ศูนย์ ฯ และ ผอ.กกร.ยก.ทอ. เป็นเลขา ฯศูนย์ ฯ