โครงการอบรม Linux-SIS
ภาคตะวันออก

โดยความร่วมมือระหว่าง

มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสารสนเทศจันทบุรี และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

ชื่อโครงการ

โครงการอบรม Linux – SIS ภาคตะวันออก โดยความร่วมมือระหว่าง   มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสารสนเทศ จันทบุรี และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)

ผู้รับผิดชอบโครงการ

มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสารสนเทศ จันทบุรี
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์

หลักการและเหตุผล

            โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ผ่านเลขหมายเครือข่ายกาญจนาภิเษก   1509 (SchoolNet Thailand) ซึ่งดำเนินงานโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) เป็นเครือข่ายที่เปิดโอกาสให้ครูและนักเรียน
จากโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาทั่วประเทศได้ใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ตมาพัฒนาการศึกษาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม โดยสามารถเข้าสู่อินเตอร์เน็ตผ่านเลขหมาย 1509 ของโครงการ SchoolNet ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายเพียงค่าโทรศัพท์ครั้งละ 3 บาท เท่านั้น
            เนื่องจากหลายโรงเรียนทั่วประเทศมีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (LAN) ภายในโรงเรียนอยู่แล้ว จึงมีความต้องการที่จะเชื่อมต่อเครือข่าย
คอมพิวเตอร์ของโรงเรียนเข้าสู่อินเตอร์เน็ตผ่านหมายเลข 1509 แต่การดำเนินการดังกล่าวโรงเรียนต้องจัดหาอุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์เพิ่มเติม ซึ่งมีราคาสูง เนคเทคได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้พัฒนา Linux-SIS (Linux School Internet Server) ซึ่งเป็นชุดซอฟต์แวร์ Linux รวมกับซอฟต์แวร์อื่น ๆ ที่จำเป็น ในการใช้งานเป็น Internet Server อย่างสมบูรณ์  ทั้งนี้ Linux เป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถ
ทำงานได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วไป และสามารถใช้งานได้อย่างถูกกฎหมายโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายด้านลิขสิทธิ์
            อย่างไรก็ตามโรงเรียนทั่วประเทศ โดยเฉพาะโรงเรียนในส่วนภูมิภาคยังขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้พื้นฐานด้านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
และระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ จึงไม่สามารถติดตั้งดูแลเครือข่าย Internet Server ด้วยตนเองได้ ส่งผลให้โรงเรียนไม่สามารถใช้ประโยชน์
จากอินเตอร์เน็ตได้ตามความมุ่งหมายของโครงการ SchoolNet แนวทางหนึ่งที่สามารถขยายผลการนำ Linux-SIS ไปใช้ประโยชน์
ในโรงเรียนทั่วภาคตะวันออกได้อย่างรวดเร็ว คือการอบรม Linux-SIS ให้กับบุคลากรจากโรงเรียนต่าง ๆ ในพื้นที่ภาคตะวันออกให้มีความรู้ ความสามารถ ที่จะติดตั้งและดูแลเครื่อง Internet Server โดยใช้ Linux-SIS ด้วยตนเองได้ พร้อมทั้งเชื่อมต่อเครือข่ายภายในโรงเรียน
เข้าสู่อินเตอร์เน็ตผ่านหมายเลข 1509 ในราคาถูกอย่างมีประสิทธิภาพ
  
         มหาวิทยาลัยบูรพาร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) โดยการสนับสนุนจากโครงการ
ธุรกิจอเมริกันเพื่อประเทศไทยและสถาบันคีนันแห่งเอเชีย จึงร่วมกันจัดอบรมการติดตั้งและดูแล Linux-SIS ให้แก่สถานศึกษาของรัฐและเอกชน
ในภาคตะวันออกเพื่อนำไปติดตั้ง ดูแล ใช้งานในสถานศึกษาของตนเอง และช่วยเหลือแก่สถานศึกษาใกล้เคียงได้

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้โรงเรียนในพื้นที่ภาคตะวันออกสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายภายในโรงเรียนเข้าสู่อินเตอร์เน็ต (LAN Dialup) ในราคาถูกและมีประสิทธิภาพ
2. เพื่อพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนพื้นที่ภาคตะวันออกให้มีความรู้ความสามารถที่จะติดตั้งและดูแลเครื่อง Internet Server โดยใช้ Linux-SIS ด้วยตนเองได้

ระยะเวลาดำเนินการ

วันที่ 10 มกราคม 2543 – วันที่ 14 มกราคม 2543 รวม 5 วัน

สถานที่ดำเนินโครงการ

มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสารสนเทศ จันทบุรี

จำนวนผู้รับการอบรม

อาจารย์ผู้สอนหรือผู้ดูแลคอมพิวเตอร์ของสถานศึกษาในภาคตะวันออก จำนวน 40 คน

ค่าใช้จ่ายในการอบรม

ค่าธรรมเนียมการอบรมคนละ 1,500 บาท
( รวมค่าเอกสาร อาหารกลางวัน และอาหารว่าง ตลอดการอบรม )

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. โรงเรียนในพื้นที่ภาคตะวันออกเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนเข้าสู่อินเตอร์เน็ตในราคาถูกให้   อย่างมีประสิทธิภาพ
2. บุคลากรในโรงเรียนหรือที่ภาคตะวันออก มีความรู้ ความสามารถ เรื่องติดตั้งและดูแลเครื่อง Intetnet Server โดยใช้ Linux-SIS ด้วยตนเองได้

เอกสารประกอบโครงการ

การอบรมครั้งนี้มหาวิทยาลัยบูรพา และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และมีความมุ่งหวังดังนี้
1. ต้องการได้สถานศึกษาที่มีความพร้อมทางด้านอุปกรณ์ มีงบประมาณสนับสนุนและมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ
เพื่อเป็นแหล่งประสานงานและให้ความช่วยเหลือแก่สถานศึกษาอื่นซึ่งอยู่ใกล้เคียง กระจายอยู่ใน 7 จังหวัดภาคตะวันออก
อย่างน้อยจังหวัดละ 1 แห่ง
2. สถานศึกษาที่ส่งบุคลากรเข้ารับการอบรมครั้งนี้ ต้องสามารถติดตั้ง ดูแล บริหารระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตผ่าน Schoolnet 1509 หรือ ISP รายอื่น ๆ ได้
        ฉะนั้นจึงขอกำหนดคุณสมบัติของสถานศึกษาและผู้เข้ารับการอบรมดังนี้
3. สถานศึกษาต้องมีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (LAN ) อยู่แล้ว (อาจใช้งานได้หรือไม่ได้ ก็ได้ กรณีใช้งานไม่ได้ ทางมหาวิทยาลัยจะส่งอาจารย์
เจ้าหน้าที่และนักศึกษาไปช่วยดำเนินการให้ใช้งานได้) หรือมี หรือกำลังจะมีโครงการจะจัดทำระบบ LAN ในสถานศึกษา
4. สถานศึกษาต้องมีความตั้งใจ และมีงบประมาณสนับสนุน เพื่อดำเนินการจัดสร้างระบบ LAN เพื่อเชื่อมต่อเข้าอินเตอร์เน็ต
5. บุคลากรที่สถานศึกษาจัดส่งมา ควรส่งมาอย่างน้อย 2 คน เพื่อช่วยกันเรียนรู้และจดจำและควรเป็นอาจารย์สอนทางคอมพิวเตอร์ หรือมีหน้าที่ทางด้านคอมพิวเตอร์ และมีประสบการณ์ทางคอมพิวเตอร์พอสมควร
6. มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสารสนเทศ จันทบุรี จะจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่และนักศึกษาไว้ให้คำปรึกษา ช่วยเหลือในการติดตั้ง ดูแล อบรม ให้แก่สถานศึกษาที่เข้าร่วมการอบรมโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายจนกว่าสถานศึกษาจะดูแลช่วยเหลือตัวเองได้
7. บุคลากรของสถานศึกษาที่ส่งเข้ารับการอบรมต้องมีความต้องใจที่จะเรียนรู้ มีความกระตือรือร้น และยินดีให้บริการคำปรึกษาช่วยเหลือ
แก่ผู้อื่นหรือสถานศึกษาอื่น ๆ ด้วยความเต็มใจ โดยไม่ปิดบัง
8. บุคลากรของสถานศึกษาที่ส่งเข้าอบรมควรมีความรู้ ทักษะ ในเรื่องต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย
     8.1 สามารถ Install Windows95 หรือ Windows98 ได้
     8.2 สามารถเขียน หรือ รู้วิธีการสร้าง6.3 Webpage ด้วยภาษา HTML หรือ โปรแกรมอื่น ๆ
     8.3 สามารถใช้งาน Netscape หรือ Internet Explorer ดูและสืบค้นข้อมูลในอินเตอร์เน็ตได้ดีพอสมควร
9. ผู้เข้าอบรมต้องนำอุปกรณ์ต่อไปนี้จากสถานศึกษาของตนเองมาใช้ประกอบการอบรม
     9.1 เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ทำเป็นแม่ข่าย 1 เครื่อง คุณสมบัติขั้นต่ำดังนี้
            - CPU ไม่ต่ำกว่า Pentium
            - Mainboard ห้ามใช้ chipset รุ่น I820
         - Ram ไม่ต่ำกว่า 32 M
            - Harddsik ไม่ต่ำกว่า 2 MB (ให้ใช้ IDE port ห้ามใช้ ATA66 port)
     9.2 เครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย 1 เครื่อง คุณสมบัติดังนี้
             - CPU ไม่ต่ำกว่า Pentium
             - Ram ไม่ต่ำกว่า 16 MB
            - สารมารถติดตั้ง Windows95/98 ได้
           อย่างไรก็ตาม ทั้งสองเครื่อง ควรมีคุณภาพสูงเท่าที่จะจัดหาได้
      9.3 Modem ภายนอก 1 ตัว พร้อม Driver (กรุณาอย่าใช้โมเด็มภายใน เพราะจะมี
            ปัญหาการติดตั้ง และควรเป็นโมเด็มที่เป็นมาตรฐาน เป็นยี่ห้อที่มีชื่อเสียง)
      9.4 Lancard 2 แผ่น พร้อม driver สำหรับ Lancard ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายควรเป็นยี่ห้อที่ใช้งานร่วมกับ Linux-SIS ได้ ( มีหลายยี่ห้อใช้ไม่ได้)
ยี่ห้อที่ใช้งานร่วมกับ Linux-SIS ได้ดีแน่นอน คือ
                1. ***** Intel Express pro 10/100 ( ราคาประมาณ 2500 บาท) หรือ Intel ISA 10 ( อาจหาชื้อไม่ได้ )
                2. 3com รุ่น 3c501 3c503 3c505 3c507 3c509 3c505 3c59x
                3. Lan Card ที่ใช้ Chipset ของ 8390 ทุกยี่ห้อ อย่างไรก็ตาม ขอให้สถานศึกษาทดสอบใช้งานร่วมกับ Linux Slackware 3.6 ก่อน หากทำได้
หากไม่แน่ใจแนะนำว่า ให้ใช้ยี่ห้อ Intel จะแน่นอนที่สุด มหาวิทยาลัยบูรพา จะจัดเตรียม Lancard Intel สำรองไว้บริการ (จำนวนจำกัด ) จึงขอให้สถานศึกษาที่จะขอยืมใช้ กรุณา Mail แจ้งความจำนงที่อาจารย์ฉลองชัย( chal2000@hotmail.com ) ด้วยส่วน Lancard ที่ใช้กับเครื่องลูกข่ายนั้น เป็นยี่ห้ออะไรก็ได้ที่ใน Spec บอกใช้งานร่วมกับ Windows95/98 ได้ที่สำคัญอย่างยิ่งคือ จะต้องนำ Driver ของ Lancard มาด้วย

           อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก Linux ยังไม่สนับสนุน Hardware มาก จึงขอความกรุณาสถานศึกษาที่เข้าอบรมกรอกรายละเอียด
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะใช้ทำเป็นเครื่องแม่ข่ายตามแบบฟอร์มที่ให้ FAX มาให้มหาวิทยาลัยหมายเลข 039-324765 และโทรศัพท์ติดต่อ
เพื่อตรวจสอบกับเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสารสนเทศจันทบุรี หมายเลข 039-324002 ก่อนนำมาใช้อบรม เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา สำหรับเครื่องลูกข่ายนั้น ไม่เน้นรายละเอียดใดเป็นพิเศษ ขอเพียงสามารถ Install โปรแกรม Windows95/98 ได้เท่านั้น เป็นพอ

การสมัครเข้ารับการอบรม

1. ผู้สมัครซึ่งเป็นตัวแทนของสถานศึกษา กรอกข้อมูลในใบตอบรับการอบรม
2. ผู้สมัครซึ่งเป็นตัวแทนของสถานศึกษา กรอกข้อมูลในใบสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา และข้อมูลเครื่องคอมพิวเตอร์
ที่จะใช้ทำเป็นแม่ข่าย ลงในแบบฟอร์ม
3. สถานศึกษาทำหนังสือแจ้งความประสงค์เข้าร่วมโครงการ หรือหน่วยงานต้นสังกัด(สำนักงานสามัญศึกษาจังหวัด สำนักงานประถมศึกษาจังหวัด หรือสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด) พิจารณาคัดเลือกสถานศึกษาในสังกัดที่เหมาะสม แล้วแจ้งความประสงค์เข้าร่วมโครงการ พร้อมรายชื่อผู้เข้าอบรมภายในวันที่ 3 มกราคม โดยส่งถึง

คณะกรรมการโครงการอบรม Linux – SIS ภาคตะวันออก

มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสารสนเทศ จันทบุรี

หอประชุมทองใหญ่อนุสสร ถนนท่าหลวง อ.เมือง จ. จันทบุรี 22000

        การชำระเงินค่าอบรม คนละ 1,500 บาท ( รวมเอกสาร อาหารกลางวัน อาหารว่าง ตลอดการอบรม) ให้นำมาชำระในวันลงทะเบียน สำหรับผู้เข้ารับการอบรมที่ประสงค์จะพักค้างในโรงแรมในจังหวัดจันทบุรี ทางมหาวิทยาลัยได้ติดต่อโรงแรมริมกรีน สถาบันราชภัฏรำไพพรรณี อ.เมือง จันทบุรี ห่างจากตัวเมืองจันทบุรีประมาณ 7 กิโลเมตร (มหาวิทยาลัยจะมีรถรับส่งตลอดระยะเวลาการอบรม) ในราคาห้องเดี่ยว
วันละ 500 บาท ห้องคู่วันละ 500 บาท
        ผู้อบรมที่จะประสงค์จะให้มหาวิทยาลัยจองที่พัก ที่โรงแรมริมกรีน สถาบันราชภัฏรำไพพรรณีให้กรุณาแจ้งความจำนงในใบตอบรับเข้ารับการอบรมด้วย ถ้าต้องการทราบรายละเอียดที่พัก กรุณาติดต่อ

อาจารย์จิระศักดิ์ สุวรรณโณ

โรงเรียนเบญจมราชูทิศ อ.เมือง จ.จันทบุรี 22000

โทรศัพท์ 039-327110 มือถือ 01-2529107

Email chirasak@user.school.net.th    ioicss@nontri.ku.ac.th

6. คณะกรรมการจัดการอบรม จะคัดเลือกสถานศึกษาเข้าร่วมโครงการอบรม และจะประกาศรายชื่อผู้รับการคัดเลือกพร้อมชื่อสถานศึกษาทาง www.buu.ac.th และ www.janburi.buu.ac.th และ www.school.net.th ในวันที่ 1 มกราคม 2543 เป็นต้นไป และทางมหาวิทยาลัยจะทำหนังสือแจ้งต้นสังกัดภายใน
วันที่ 5 มกราคม 2543
        หรือสอบถามผลการคัดเลือกทางโทรศัพท์ หมายเลข 039-324002 และ 039-324765  ทุกวัน ในเวลาราชการ ไม่เว้นวันเสาร์ และวันอาทิตย์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

อาจารย์ฉลองชัย แก้วภูผา                                           &nb sp; 
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสารสนเทศจันทบุรี                           
หอประชุมทองใหญ่อนุสสร                                           &nb sp;                    
โทรศัพท์ 01-6540632 ,039-324002 , 039-324765                     
โทรสาร 039-324765                                           &nb sp;                            
Email
chal2000@hotmail.com ICQ 55596436                          

อาจารย์จีระศักดิ์ สุวรรณโน
โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จันทบุรี
อ.เมือง จ.จันทบุรี 22000 อ.เมือง จ.จันทบุรี 22000
โทรศัพท์ 039-327110,01-2529107
โทรสาร 039-327110
Email ioicss@nontri.ku.ac. chirasak@user.school.net.th

ใบตอบรับเข้ารับการอบรม

 นาย นาง นางสาว
ชื่อ-สกุล(ไทย) ……………………………………………………….. .............................................. อายุ …………. ปี
ชื่อ-สกุล(อังกฤษ ตัวพิมพ์ใหญ่) ………………………………………………………………....……………………………
ที่อยู่ปัจจุบัน เลขที่ …………..ซอย ……………..…………ถนน ………………………แขวง/ตำบล……………..……….
เขต/อำเภอ …………………………………จังหวัด …………………......……รหัสไปรษณีย์ ………………………….......
โทรศัพท์ …………………………………โทรสาร ………………………......... Email ……………..……………………..
การศึกษาระดับ ………………………………สาขา……………………………….สถาบัน….....…………………………..
อาชีพ …………………………สถานศึกษาที่สังกัด ……………………………………………….เลขที่…………......…….
ซอย……………………ถนน…………………….แขวง/ตำบล…………………….....…..อำเภอ/เขต………………………
จังหวัด....………………รหัสไปรษณีย์.......…………โทศัพท์………....………………โทรสาร …………………………….

            ขอสมัครเข้ารับการอบรม Linux-SIS ภาคตะวันออก ณ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสารสนเทศ จันทบุรี ระหว่าง วันที่ 10 – 14 มกราคม 2543 และจะปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้

1. จะเตรียมตัว และตั้งใจเข้ารับการอบรมตลอด 5 วัน
2.จะนำความรู้ทักษะที่ได้รับมาสร้างระบบ LAN ในสถานศึกษาที่สังกัดจนสามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้
3.จะขยายผลด้วยการบริการ ช่วยเหลือด้านการติดตั้งให้แก่สถานศึกษาที่ใกล้เคียงอย่างน้อย 2 แห่ง
[   ] ประสงค์จะให้มหาวิทยาลัย จองที่พักที่โรงแรมริมกรีน สถาบันราชภัฏรำไพพรรณี โดย
            [   ]พักเดี่ยว ( วันละ 500 บาท)
            [   ]พักคู่ ( วันละ 500 บาท ให้จัดหาผู้พักร่วมให้)
            [   ]พักคู่กับ (วันละ 500 บาท โปรดระบุชื่อ และสถานศึกษา)……………………………......................……………………
 ลงชื่อ ……………………………….. ผู้สมัคร
ตำแหน่ง ……………………………………..
  ………./…………/…………

 

ใบสำรวจข้อมูลพื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ ของสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ
( ใช้พิมพ์ใหม่ได้ )

1. ชื่อสถานศึกษา...............................……………………………………………………………………........................…………….
สังกัด…………………................….ตั้งอยู่ที่เลขที่.........................ซอย…………………….ถนน …………………………………...
แขวง/ตำบล ……………………อำเภอ/เขต………………… จังหวัด …………………..รหัสไปรษณีย์ …………โทรสาร ……………
2. ผู้บริหาร ชื่อ …………………………………………....……………ตำแหน่ง …….........................……………….……………......
3. เปิดสอนในระดับ [   ]อนุบาล [    ]ประถมศึกษา [   ]มัธยมศึกษา
                                  [    ]สูงกว่ามัธยมศึกษา (โปรดระบุ ) ………………………………………………
                                  จำนวนนักเรียน นักศึกษา ทั้งสิ้น ………………………….คน
4. เปิดสอนวิชาทางคอมพิวเตอร์ ระดับ………………………………………….................………….
    รวมผู้เรียนทั้งสิ้น ……………..คน
5. ปัจจุบันมีระบบ LAN แล้วหรือยัง [     ]มี     [    ]ยังไม่มี
    5.1 ถ้ามีแล้ว มีแม่ข่าย ………..เครื่อง มีลูกข่าย .............เครื่อง
    5.2 เป็น LAN แบบใด ( ถ้าสามารถระบุได้ หรือวาดรูปในกระดาษแยกต่างหากก็ได้ )            …………………………………………………………………………….................
6. ปัจจุบันมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแล้ว หรือยัง [    ]ยังไม่มี      [    ]มีแล้ว
     6.1 ในกรณีที่มีแล้ว มีทั้งหมด ………....เครื่อง
     6.2 เป็นการเชื่อมต่อแบบใด
             [   ]Dial up เข้า Schoolnet 1509
             [   ]Dial up เข้า ISP ชื่อ ..............................................
             [   ]lease line ความเร็ว .............. เชื่อมผ่าน ………………………….....
7. ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่มีอยู่ปัจจุบัน หรือเคยมี [    ]WindowsNT [    ]linux
            [    ]Unix      [    ]NetWare     [     ]อื่น ๆ ระบุ ..........................................
8. มีโทรศัพท์สายตรงใช้งานอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะหรือไม่ [    ]ไม่มี     [    ]มี
            ในกรณีที่มี มีจำนวน ......... คู่สาย
9. รายชื่อสถานศึกษาที่ท่านคาดว่าจะไปช่วยเหลือในขั้นตอนการขยายผล มีดังนี้
    1. ……………………………………………………………………………….
    2.……………………………………………………………………………….
10 ข้อมูลอื่น ๆ ( ให้เขียนข้อมูลอื่น ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา แนบส่งมาพร้อมกัน) เช่น
        1. คุณลักษณะเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ (Spec)
        2.โครงการทางคอมพิวเตอร์ที่เคยจัดทำ หรือกำลังจะจัดทำ หรือ ที่อยากจัดทำ
        3.แนวทางการพัฒนาการเรียน การสอน ด้านคอมพิวเตอร์ในโรงเรียน
        4.อื่น ๆ

ลงชื่อ …………………………………………………
( …………………………………………….)
ตำแหน่ง ……………………………………

 

รายละเอียดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็นแม่ข่าย
( ให้กรอกรายละเอียดมากสุดเท่าที่ทำได้ )

1. เครื่องหมายการค้า ( ยี่ห้อ ) …………………………………….. (ถ้าเป็นเครื่องประกอบไม่ต้อง ระบุ )
2. CPU ยี่ห้อ ……………….รุ่น………………….ความเร็ว……………………………………………
3. MAINBOARD ยี่ห้อ……………………..รุ่น……………………ความเร็ว BUS……………………
        Chipset เป็นของ ……………………………………………………………………………………
4. Harddisk แบบ SCSI ไม่แนะนำให้ใช้ เพราะอาจมีปัญหา
                    [     ]IDE………………ยี่ห้อ……………… ( กรณีเป็น IDE อย่าใช้ ATA/66)
                    ความจุ…………………………………………………………………………….
5. CD-ROM ยี่ห้อ………………….. ความเร็ว ………………………………………………………
6. การ์จอ ยี่ห้อ………………… รุ่น ……………มีความจำ( VRAM)………………………………..
7.จอภาพ ยี่ห้อ ……………….รุ่น………………..ขนาด ………………นิ้ว
8.ชื่อสถานศึกษา ………………………………………………………………………………………..
ชื่อผู้เข้าอบรม …………………………………………………………………………………………
หมาเลขโทรศัพท์ติดต่อผู้อบรมที่สะดวกที่สุด ………………………Email ………………………….
9.อื่น ๆ …………………………………………………………………………………………………..
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
คำแนะนำ Harddisk ควรเป็น Primary master ส่วน CD-ROM ควรเป็น
Primary slave จึงจะทำการติดตั้ง Linux-SIS ได้อย่างสะดวก

 

 

หลักสูตรอบรม

โครงการอบรม Linux – SIS ภาคตะวันออก วันที่ 10-14 มกราคม 2543

ณ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสารสนเทศ จันทบุรี

 

เวลา

หัวข้อการอบรม

จุดประสงค์

10 ม.ค. 43

1. ลงทะเบียน พิธีเปิด แจ้งวัตถุประสงค์ และ เป้าหมายการอบรม 1. ผู้รับการอบรมเข้าใจวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และภาระหน้าที่หลังการอบรม
  2. บรรยาย Technology Networking 2.1 รู้เทคโนโลยี Ethernet

2.2 รู้จัก Protocol NetBUEI และ TCP/IP

2.3 เข้าใจการทำงาน peer to peer และ

Client/Server

  3. ปฏิบัติการ Install และ Config LanCard

จนทำงานในเครือข่าย Windows 95/98 ,WindowsNT โดยใช้ NetBUEI Protocol และทำงานในเครือข่าย Linux , WindowsNT โดยใช้ TCP/IP Protocol ได้

3 สามารถ Install และ Config เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งานในเครือข่าย Windows และ Linux ได้
  4. ฝึกการ Share การเข้าใช้ไฟล์และทรัพยากร ระหว่างเครื่อง Win95/98 WinNT และ Linux 4. สามารถ Share สามารถเข้าใช้ไฟล์และทรัพยากร ระหว่างเครื่อง Win95/98 WinNT และ Linux ได้
11 ม.ค. 43 1. บรรยายลักษณะของระบบปฏิบัติการ Linux-SIS 1. เข้าใจสถาปัตยกรรมของระบบปฏิบัติการ Linux-SIS
  2. ปฏิบัติการ Install Linux-SIS พร้อม Config System และ Config Lancardเข้าสู่เครือข่ายระดับพื้นฐาน 2. สามารถ Install Linux-SIS และสามารถ Config Lancard เข้าสู่เครือข่ายได้
  3. เรียนรู้ระบบไฟล์และฝึกการใช้คำสั่งพื้นฐาน Linus-SIS ( Start & Shutdown , login , ping,Telnet , ls , cd , cp , mkdir , rmdir , etc …. )

4. 4. ฝึกใช้ VI หรือ PICO Editorฝึกและเรียนรู้การสร้างไฟล์ และการ Mount อุปกรณ์ต่าง ๆ

3.เข้าใจระบบไฟล์และสามารถใช้คำสั่งพื้นฐานของ Linux-SIS ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. สามารถใช้ VI และ PICO Editor ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5 .สามารถรู้วิธีสร้างไฟล์และ Mount ในระบบ Linux-SIS ได้

12 ม.ค. 43

1. บรรยายและฝึกใช้งาน FTP 1. สามารถใช้คำสั่ง FTP ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. บรรยาย ฝึกปฏิบัติ Config และใช้งานระบบการ Share แบบ Samba 2. สามารถ Config และใช้งานระบบการ Share แบบ Samba ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. บรรยาย ฝึกปฏิบัติ Config และใช้งาน DNS/DHCP 3. สามารถ Config และใช้งาน DNS/DHCP ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. บรรยาย ติดตั้งและฝึกปฏิบัติ การหมุนโทรศัพท์ติดต่อ Schoolnet 1509 และ ISP
ต่าง ๆ โดยวิธี Quick Dial และ Dial
4. สามารถติดตั้ง Modem และใช้ Quick dial และ Dial หมุนโทรศัพท์ติดต่อ Schoolnet 1509 และ ISP ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

13 ม.ค. 43

1. บรรยาย ฝึกปฏิบัติ การConfig การ FTP Webpage เพื่อ Update และใช้งาน WebServer 1. สามารถใช้งาน และ Config Webserver และ Update Webpage ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. บรรยาย ฝึกปฏิบัติ การConfig และใช้งาน Squid Proxy เพื่อให้ลูกข่ายหลาย ๆ เครื่อง สามารถใช้อินเทอร์เน็ตผ่าน Squid ที่เครื่องแม่ข่ายได้ 2. สามารถ Config และใช้งาน Squid Proxy จนเครื่องลูกข่ายหลาย ๆ เครื่อง ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านเครื่องแม่ข่ายได้
  3. บรรยายและฝึกการวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา

ที่เกี่ยวข้อง

4. ศึกษาดูงานโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จันทบุรี

5. บรรยาย สาธิต การ Install และ Config ภาษาไทยบน Linux –TLE ของเนคเทค

3.สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้

4. ได้เห็นการติดตั้ง บริหาร ใช้งานจริง

5. ผู้อบรมรับทราบการพัฒนาและการใช้งาน Linux ภาษาไทย ของเนคเทค เพื่อทดแทนโปรแกรมลิขสิทธิ์จากต่างประเทศ

14 ม.ค.43

1. แนะนำลักษณะทั่ว ๆ ไปของ Burapa Linux 1. รับทราบและรู้ระบบ Burapa Linux
  2. บรรยายและสาธิตการ Install และการใช้งาน ฺBurapa Linux 2 ผู้อบรมรับทราบการพัฒนาและการใช้งาน Linux ภาษาไทย ของมหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อทดแทนโปรแกรมลิขสิทธิ์จากต่างประเทศ
  3. ทบทวน ตอบข้อซักถาม และรับทราบแนวปฏิบัติที่ผู้เข้ารับการอบรมต้องนำไปขยายผลให้แก่สถานศึกษาใกล้เคียง 3. ทบทวนและรับทราบแนวปฏิบัติในการขยายผล

 

หมายเหตุ วิทยากรประกอบด้วย

1. คุณกฤตยา ภวัครานนท์ และทีมวิจัยพัฒนา Linux-SIS หน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

2. นักวิจัยและพัฒนาโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย (Schoolnet Thailand) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์

และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

3. คณาจารย์และนักวิจัย Burapha Linux จากมหาวิทยาลัยบูรพา

4. คณาจารย์และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสารสนเทศ จันทบุรี

5. อาสาสมัครของโครงการ Schoolnet Thailand

 

ใบตอบรับเข้ารับการอบรม

ใบสำรวจข้อมูลพื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ของสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ

รายละเอียดของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็นแม่ข่าย

 

 

chan1
chan1.JPG

chan2
chan2.JPG

chan3
chan3.JPG

chan4
chan4.JPG

chan5
chan5.JPG