หัวข้อที่
๓ เรื่อง ภาษาและวรรณคดีไทย
ภาษาเป็นศักดิ์ศรีของชาติ ภาษาและวรรณคดีไทย เป็นสิ่งแสดงความรุ่งเรืองของชนชาติไทยและวัฒนธรรมไทยอย่างยิ่งยง และยาวนาน ภาษามีชีวิต มีความเปลี่ยนแปลง วิวัฒนาการภาษาไทยได้บ่งบอกถึงลักษณะของชีวิต และสังคมไทยทุกถิ่นฐาน การจัดแสดงได้นำเสนอเนื้อหาสาระที่น่าสนใจ ควรแก่การศึกษาค้นคว้า และอนุรักษ์ให้คงอยู่ต่อไป | |
โดยแบ่งการจัดแสดงเป็น ๗ ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ ๑
"วิธีวิวัฒน์อักษร" "ภาพสะท้อนอักษรา" และ "คำนวณนับเลขไทย" เป็นเรื่องราวของวิวัฒนาการของภาษาไทย
และวรรณคดีสี่สมัย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จัดแสดง ส่วนที่ ๒
: " พรรณผกาสัตว์น่ารัก " เป็นเรื่องราวของดอกไม้ ต้นไม้ และสัตว์ในวรรณคดี
จัดแสดง ส่วนที่ ๓:
" ภาพตรึงตราจากวรรณคดี" และ " เชิดชักเชิดชูขวัญ" เป็นเรื่องราวของการจำลองเหตุการณ์ในวรรณคดีไทยสำคัญ
๓ เรื่อง คือ ขุนช้างขุนแผน พระอภัยมณี และอิเหนา ที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต
ฯลฯ จัดแสดง ส่วนที่ ๔
: เสนาะกรรณกล่อมนิทรา " เป็นเรื่องราว ของเพลงกล่อมเด็ก และคุณค่าของเพลงกล่อมเด็ก
จัดแสดง ส่วนที่ ๕
"กล่อมกานท์ผ่านทำนอง" เป็นห้องขับร้องทำนองเสนาะ (คาราโอเกะ) เพื่อฝึกทักษะในการอ่านทำนองเสนาะให้ถูกต้องและสนุกสนาน
จัดแสดง ส่วนที่ ๖
"ศักดิ์ศรีภูมิปัญญาชาวบ้าน" และ "ภาษาถิ่นของไทย" คือเรื่องราววรรณกรรมพื้นบ้าน
ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ และภาษาถิ่นต่างๆ
จัดแสด ส่วนที่ ๗
"คุณค่าในวรรณคดี" "ไพจิตรราชาศัพท์" และ "ปริศนาคำทาย" แสดงเรื่องคุณค่าของวรรณคดีไทย
และคำราชาศัพท์ รวมทั้งเกมด้านภาษา จัดแสดง |
|
|