หัวข้อที่ ๑ ความเป็นมาของชนชาติไทย
ลายเส้นคั่น

          เพื่อแสดงให้เห็นประวัติศาสตร์อันยาวนานของชาติไทย สร้างความภูมิใจให้กับคนไทยทุกคน ก่อให้เกิดความรัก และหวงแหนชาติ นำไปสู่ความสามัคคีของคนในชาติในที่สุด
          นำเสนอนิทรรศการ เกี่ยวกับพัฒนาการชนชาติไทยตั้งแต่การตั้งถิ่นฐานในยุคก่อน ประวัติศาสตร์ จนกระทั่งเป็นอาณาจักรไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ด้วยเทคโนโลยีและสื่อปฏิสัมพันธ์ที่ทันสมัย เช่น VIDEO WALL ระบบ ๙ จอ คอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย, หุ่นจำลองเคลื่อนไหวได้, แผงวงจรไฟฟ้าไฟเบอร์ออฟติค, ภาพเรืองแสง ฯลฯ

      
          การจัดแสดง ได้แบ่งตามเนื้อหาไว้ ๔ ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ ๑ : ความเป็นมาของวัฒนธรรมต่าง ๆ ในประเทศไทย จัดแสดง

          วีดิทัศน์ เรื่อง ประเทศไทย (๕ นาที)
          แผนที่และคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง ชาติพันธุ์ ภาษา กายภาพของกลุ่มชนต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย
          ผู้เข้าชมสามารถศึกษาและเรียนรู้ได้ด้วยตนเองจากคอมพิวเตอร์ ระบบ Track ball
          แผนที่แสดงแหล่งอารยธรรมสำคัญของโลก และแหล่งโบราณคดีที่สำคัญของประเทศไทย
          ผู้เข้าชมสามารถศึกษาและเรียนรู้ได้ด้วยตนเองจากแท่นปุ่มกด

ส่วนที่ ๒ : การตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย จัดแสดง
สมัยสังคมล่าสัตว์-หาพืชป่า
หุ่นจำลอง (เคลื่อนไหว) มนุษย์ในถ้ำกำลังใช้เครื่องมือหิน
ภาพจำลองเขียนสีถ้ำเขาปลาร้า อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี แสดงชีวิตสังคมเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์
ตู้แสดงเครื่องมือหินจำลอง มี ๒ ประเภท ได้แก่ เครื่องมือหินกระเทาะ เครื่องมือหินขัด
ตู้แสดงเครื่องมือโลหะจำลอง (สำริดและเหล็ก)
ตู้แสดงภาชนะดินเผาสมัยก่อนประวัติศาสตร์จำลอง ได้แก่ ภาชนะดินเผาสีดำลายขูดขีดแบบบ้านเชียง ภาชนะดินเผาลายเขียนสีแบบบ้านเชีย ภาชนะดินเผาสีขาวนวลแบบบ้านเชียง
หลุมขุดค้นทางโบราณคดี โครงกระดูกมนุษย์ ชิ้นส่วนเครื่องมือใช้สอยที่แตกหักชำรุด สร้อยคอ ลูกปัดหินสี เป็นต้น แสดงให้เห็นพิธีกรรมและความเชื่อเกี่ยวกับการฝังศพในสมัยก่อนประวัติศาสตร์
สมัยสังคมหมู่บ้านเกษตรกรรม
จัดแสดง หุ่นจำลอง (เคลื่อนไหว) มนุษย์ ชุมชนแบบเกษตรกรรม กำลังปั้นหม้อ
การตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนเมือง
 

วีดิทัศน์ เรื่อง "ร่องรอยอดีต" (๕ นาที)
หุ่นจำลองซากเมืองโบราณคูบัว จ.ราชบุรี
หุ่นจำลองซากโบราณสถานที่พบในเมืองคูบัว จ.ราชบุรี
ภาพถ่ายทางอากาศ แสดงร่องรอยเมืองโบราณจากเมืองต่าง ๆ ทั้ง ๔ ภาค ได้แก่ ภาคเหนือทีเมืองลำพูน ภาคกลางที่เมืองนครปฐม ภาคอีสานทีเมืองสรวง (อยู่ในจังหวัดร้อยเอ็ด) และภาคใต้ที่เมืองยะรัง (อยู่ในจังหวัดปัตตานี)

 

ส่วนที่ ๓ : การติดต่อและรับอารยธรรมจากภายนอก จัดแสดง

          แผนที่แสดงเส้นทางติดต่อ ระหว่างโลกตะวันออก และโลกตะวันออก ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๗-๑๕ ผู้เข้าชมสามารถและเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง โดยการกดปุ่ม
          ตู้แสดงโบราณวัตถุจำลอง ซึ่งแสดงการติดต่อและรับอิทธิพลจากอินเดีย จีน ฯลฯ
          วีดิทัศน์ เรื่อง การติดต่อรับอารยธรรมจากภายนอก (๓ นาที)

 

ส่วนที่ ๔ : พัฒนาการจากรัฐสู่อาณาจักรไทย จัดแสดง
          พัฒนาการของเมือง ๔ ภาค ในช่วงสมัยพุทธศตวรษที่ ๑๑-๑๘ จัดแสดงภาพเรืองแสง ตำแหน่งเมืองโบราณในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคใต้ และภาพโบราณวัตถุสถาน ประติมากรรม และสถาปัตยกรรมสำคัญ ๆ
          ตู้แสดงโบราณวัตถุจำลองที่แสดงถึงพัฒนาการของเมือง ๔ ภาค
          วีดิทัศน์ เรื่อง จากรัฐ….สู่อาณาจักรไทย (๙.๕ นาที)
          ภาพเรืองแสง จำนวน ๓๖ ภาพ แสดงถึง การเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และศิลปกรรม ของอาณาจักรไทยทั้ง ๔ คือ สุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์
           ตู้แสดงโบราณวัตถุจำลองที่แสดงสภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และศิลปวัฒนธรรมของอาณาจักรไทยทั้ง ๔ อาณาจักร
           คอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง อาณาจักรไทย ๔ สมัย


[จอหลัก | ความเป็นมา | ข้อมูล ๗๖ จังหวัด | ถามไถ่ไทย | ฟังเพลง | ชมวิดีโอ | หอวัฒนธรรมนิทัศน์ | คณะผู้จัดทำ | กาญจนาภิเษก]
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๔๒ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๓๗
ห้ามนำข้อมูลของเครือข่ายนี้ ไปเผยแพร่ต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร