บรรยากาศความสนุกสนานท่ามกลางความประทับใจ | NAVANURAK Story Creator Challenge 2020 ​

Facebook
Twitter
navanurak-story-creator-2020

 

การแข่งขัน NAVANURAK Story Creator Challenge 2020 เริ่มต้นขึ้น ณ สถานีรถไฟหัวลำโพง กรุงเทพฯ ผู้เข้าแข่งขันฯ ได้รับฟังประวัติศาสตร์ของสถานีรถไฟหัวลำโพง โดยเจ้าหน้าที่จากการรถไฟแห่งประเทศไทย พร้อมสักการะจุดตอกหมุดไม้ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่การรถไฟเคารพนับถือ ซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงตรึงหมุดปฐมฤกษ์ของทางรถไฟจุดแรก เมื่อพ.ศ. 2439 ก่อนออกเดินทางโดยรถไฟ มุ่งหน้าสู่การเรียนรู้วิถีชีวิต วัฒนธรรม ภูมิปัญญาของชุมชนไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง จ.ลพบุรี เพื่อนำไปสร้างสรรค์ผลงาน พร้อมสอดแทรกการนำเสนอระบบนวนุรักษ์-แพลตฟอร์มคลังข้อมูลวัฒนธรรม ถ่ายทอดผ่านสื่อต่าง ๆ ในรูปแบบดิจิทัล อันเป็นวัตถุประสงค์ของการแข่งขันในครั้งนี้

navanurak-story-creator-2020

 

ตลอดระยะเวลาการเดินทางผู้เข้าแข่งขันฯ ต่างเก็บภาพบรรยากาศธรรมชาติ รายล้อมสองข้างทาง โดยเฉพาะช่วงระหว่างเส้นทางบริเวณเขื่อนป่าศักดิ์ชลสิทธิ์ ทิวทัศน์ภายนอกหน้าต่างโอบล้อมด้วยผืนน้ำ สมกับที่ถูกกล่าวขานว่าเป็น “รถไฟลอยน้ำ”

navanurak-story-creator-2020ภาพจาก springnews
navanurak-story-creator-2020

 

ณ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยเบิ้ง โคกสลุง จ.ลพบุรี ชาวชุมชนฯ ต่างให้การต้อนรับผู้เข้าแข่งขันฯ อย่างอบอุ่นก่อนเข้าสู่พิธีเปิดการแข่งขัน NAVANURAK Story Creator Challenge 2020 โดยมี นายประทีป อ่อนสลุงผู้แทนชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมไทยเบิ้งบ้านโคกสลุง กล่าวต้อนรับ โดยเล่าถึง การสร้างพิพิธภัณฑ์บ้านไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง ที่เริ่มต้นขึ้นเมื่อ 20 ก่อน โดยมีแนวคิดว่าพิพิธภัณฑ์จะต้องไม่ใช่สถานที่เก็บของเก่า แต่ต้องเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต สร้างพื้นที่เรียนรู้แก่ชุมชน แม้ในอดีตไม่มีใครได้เรียนเรื่องการพัฒนาชุมชน แต่สิ่งที่ชาวโคกสลุงมีเหมือนกันทุกคน คือ เราอยากเห็นบ้านเกิดเมืองนอนของเราอยู่กันอย่างมีความสุขบนวิถีวัฒนธรรมของเรา สร้างผู้คน สร้างโอกาส รวมไปถึงการสร้างโอกาสเศรษฐกิจของชุมชน

navanurak-story-creator-2020

 

“เราจะทำอย่างไรให้วิถีเก่าของชุมชน อยู่ร่วมสมัยอย่างมีคุณค่า นำไปสู่การสร้างมูลค่าได้อย่างสมดุล เพราะบางครั้งเงินอาจจะไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของความสุข ถ้าเราได้อยู่ร่วมกันกับครอบครัว มีอาหารการกินที่ปลอดภัย อยู่อย่างมีความสุขร่วมกันบนวิถีของพวกเรา ตรงนี้มีเงินเท่าไหร่ก็ซื้อไม่ได้ แต่พวกเราลงมือทำได้” นายประทีป กล่าว

● อัตลักษณ์ 3 อย่างของวัฒนธรรมไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง
ข้อมูลจาก https://www.thestorythailand.com/22/12/2020/9944/

นายประทีป อ่อนสลุง เล่าถึง อัตลักษณ์ 3 อย่างของวัฒนธรรมไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง ได้แก่

1. ภาษาพูด
สำเนียงเหน่อ มีคำลงท้ายด้วย “เบิ้ง” ถ้าเป็นประโยคปฏิเสธ จะลงท้ายด้วย “ด๊อก” ถ้าประโยคสงสัยจะลงท้ายด้วย “เหว่ย” ส่วนประโยคบอกลาก็จะมีลงท้ายด้วย “เด้อ” ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนภาษาวัฒนธรรมกับกระทรวงวัฒนธรรมไปแล้ว
2. การแต่งกาย
ผู้หญิงจะนุ่งโจงกระเบน ส่วนผ้าขาวม้า ที่นี่เรียกว่าผ้าขาว ผู้ชายจะนุ่งผ้าโจม มีผ้าขาวคาดเอว และชุมชนไทยเบิ้งจะสะพายย่าม ถึงแม้ว่าปัจจุบันการแต่งกายก็เป็นไปในยุคสมัยใหม่ แต่ถ้าได้ไปใส่บาตรที่วัดตอนเช้าก็จะเห็นผู้สูงอายุใส่ชุดแบบไทยเบิ้งในสมัยก่อน
3. นามสกุล
จะขึ้นต้นหรือลงท้ายด้วยคำว่า “สลุง”

ในโอกาสนี้ ว่าที่ร้อยตรี ทรงพล แป้นแก้ว ท่านนายอำเภอ ให้เกียรติกล่าวเปิดการแข่งขันฯ โดยกล่าวถึง ความรู้สึกตื้นตันใจที่วัฒนธรรม วิถีชีวิต และคุณค่าของชุมชนไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง จะไม่ถูกลืมเลือนและถ่ายทอดไปให้โลกได้รับรู้ โดยเนคเทค-สวทช.เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างโอกาสให้กับชุมชนฯ ได้ถ่ายทอดเรื่องราวอัตลักษณ์ของชุมชน . . .

แม้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเมืองรอง แต่เชื่อว่าเป็นเมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร ด้วยคุณค่าของชุมชน
navanurak-story-creator-2020

 

นอกจากนี้ คุณ จิรารัตน์ มีงาม ผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานลพบุรี ได้ร่วมกล่าวต้อนรับและมอบของที่ระลึกให้แก่ผู้เข้าแข่งขันอีกด้วย

“ชุมชนบ้านไทยเบิ้ง คือ ความภาคภูมิใจของจังหวัดลพบุรี โดยเป็นชุมชนที่เข้มแข็งพึ่งตัวเองได้ รวมถึงสร้างรายได้และชื่อเสียงให้กับจังหวัด ขอบคุณเนคเทค-สวทช.ที่เลือกชุมชนบ้านไทยเบิ้ง และโครงการ NAVANURAK Story Creator Challenge 2020 ที่ทำให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยมีอะไรไปขายอย่างน้อย 8 เรื่อง โดยในอนาคตน้อง ๆ ได้มาที่นี่จะเป็นส่วนสำคัญในอนาคตที่ช่วยสร้างภาพลักษณ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวและชุมชน” คุณ จิรารัตน์ กล่าว

navanurak-story-creator-2020

 

นวนุรักษ์เป็นแพลตฟอร์มเก็บข้อมูล แต่ไม่ได้เก็บความรู้สึก

ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการเนคเทค-สวทช. เล่าถึงมุมมองต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆไปมาก การประกอบอาชีพในอนาคตจึงใช้ทักษะหลากหลาย ผสมผสานศาสตร์และศิลป์ สร้างความแตกต่างด้วยเครื่องมือทางเทคโนโลยี โดยชุมชนไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง เป็นตัวอย่างที่ดีของการทำ Digital Tourism ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างคุณค่าของชุมชนอย่างยั่งยืน

navanurak-story-creator-2020

 

สำหรับการพัฒนานวนุรักษ์แพลตฟอร์ม ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เราพบว่ามีแต่ให้ข้อมูลสถานเท่านั้น โดยุการแข่งขันในครั้งนี้จะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเนื้อหา (Story Creator) ที่น่าสนใจเข้าถึงคนรุ่นใหม่ สร้างคุณค่าในเชิงเศรษฐกิจและชุมชน

“โดยผลลัพธ์ปลายทางของการแข่งขัน ฯ นอกเหนือจากการผลิตสื่อเชิงสร้างสรรค์ คือ การสร้างนวัตกรที่มีโอกาสด้านอาชีพ มีโอกาสที่จะขยายผลความรู้ไปยังชุมชนอื่น ๆ ที่ทำเรื่องของ digital tourism ต่อไป” ดร.ชัย กล่าว
navanurak-story-creator-2020

 

ด้าน คุณวัชชิรา บูรณสิงห์ หัวหน้าโครงการนวนุรักษ์แพลตฟอร์ม กล่าวว่า “นวนุรักษ์เป็นแพลตฟอร์มเก็บข้อมูล แต่ไม่ได้เก็บความรู้สึก อยากให้น้อง ๆ ที่ได้เข้ามาทำกิจกรรม ณ ชุมชนไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุงแห่งนี้ ได้ถ่ายทอดและแบ่งปันความรู้สึกดี ๆ ให้คนที่ยังไม่เคยมาสัมผัสได้รู้สึกเหมือนที่เรารู้สึก”

navanurak-story-creator-2020

 

สอดคล้องกับมุมมองต่อผู้เข้าแข่งขันฯ ของคุณสิรินทร อินทร์สวาท ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโครงสร้างพื้นฐาน เนคเทค – สวทช. ที่กล่าวว่า “น้อง ๆ เป็น เหมือนทูตวัฒนธรรมของเราที่จะส่งต่อข้อมูลทั้งหมด ผ่านแพลตฟอร์มนวนุรักษ์ ผ่านเรื่องราวที่น้อง ๆ เล่า ให้โลกได้รู้ว่า ที่ชุมชนไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุงแห่งนี้มีอะไรดี โดยมีเทคโนโลยีเป็นตัวช่วยบอกเล่าเรื่องราว”

● แนะนำนวนุรักษ์แพลตฟอร์ม
ข้อมูลจาก https://www.thestorythailand.com/22/12/2020/9944/

ดร.เทพชัย ทรัพย์นิธิ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ เนคเทค-สวทช. กล่าวว่า นวนุรักษ์เป็นแพลตฟอร์มสำหรับบริหารจัดการข้อมูลทางวัฒนธรรม เมื่อพิพิธภัณฑ์ชุมชนมีความนิยมสูงขึ้น แต่การบริหารจัดการอาจจะทำได้ไม่เท่ากับพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ที่มีงบประมาณเข้ามารองรับอยู่

navanurak-story-creator-2020

 

เนคเทค-สวทช. มองว่า จะนำแพลตฟอร์มเข้ามาช่วยเพื่อให้ชุมชนมีความสามารถที่จะดูแลตัวเองได้ โจทย์ใหญ่ คือ การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเรื่องการอนุรักษ์ จึงพยายามออกแบบแพลตฟอร์มเพื่อให้เก็บรวบรวมข้อมูล โดยเบื้องต้นจะเป็นข้อมูลทางด้านวัฒนธรรมเพื่อให้ชุมชนสามารถรวบรวมข้อมูลได้ด้วยตนเอง โดยมีแนวคิดว่าชุมชนจะต้องเรียนรู้และสามารถดูแลตัวเองได้

บรรยากาศความสนุกสนานของการแข่งขัน NAVANURAK Story Creator Challenge 2020

ตลอดระยะเวลา 3 วัน 2 คืน ณ ชุมชนไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง ผู้เข้าแข่งขันจะได้การเรียนรู้วิถีชีวิต วัฒนธรรม ภูมิปัญญาของชุมชน ผ่านฐานกิจกรรมทั้ง 8 ฐาน ได้แก่ ฐานวัดโคกสำราญ ฐานทอเสื่อ ฐานพริกตะเกลือ ฐานทอผ้า ฐานขนมเบื้องไทยเบิ้ง ฐานทำพวงมะโหตร ฐานของเล่นจากใบตาล และฐานสถานีรถไฟ . . .

ตลอดระยะเวลา 3 วัน 2 คืน ณ ชุมชนไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง ผู้เข้าแข่งขันจะได้การเรียนรู้วิถีชีวิต วัฒนธรรม ภูมิปัญญาของชุมชน ผ่านฐานกิจกรรมทั้ง 8 ฐาน ได้แก่ ฐานวัดโคกสำราญ ฐานทอเสื่อ ฐานพริกตะเกลือ ฐานทอผ้า ฐานขนมเบื้องไทยเบิ้ง ฐานทำพวงมะโหตร ฐานของเล่นจากใบตาล และฐานสถานีรถไฟ . . .

ตามไปดูบรรยากาศความสนุกสนานและความประทับใจตลอดการแข่งขัน NAVANURAK Story Creator Challenge 2020 ได้ที่คลิปนี้
สำหรับผลงานของทีมใดจะเป็นสุดยอดเรื่องเล่าของเวทีนี้ ลุ้นพร้อมกันเร็ว ๆ นี้ …

 

อ้างอิง

[1] Songklod Sae-Ngow. (2020). พันธกิจ สร้างสรรค์เรื่องเล่า “นวนุรักษ์” ณ ชุมชนไทยเบิ้ง ที่โคกสลุง.
สืบค้นจาก https://www.thestorythailand.com/22/12/2020/9944/
[2] Matichon Online. (2020). มนต์เสน่ห์…แห่งหัวลำโพง.
สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/columnists/news_2318946
[3] Springnews. (2019). เริ่มพรุ่งนี้!! ขายตั๋วขบวนพิเศษรถไฟลอยน้ำ กทม.-เขื่อนป่าสักฯ
สืบค้นจาก https://www.springnews.co.th/society/555673