สัญลักษณ์

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

มอก. 988 - 2533







ข้อแนะนำเกี่ยวกับรหัสสำหรับอักขระไทยผสม
และสัญลักษณ์สำหรับการตีตาราง
สำหรับเครื่องพิมพ์แบบจุด

RECOMMENDATION FOR THAI COMBINED CHARACTER CODES

AND SYMBOLS FOR LINE GRAPHICS FOR DOT-MATRIX PRINTERS




สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

กระทรวงอุตสาหกรรม UDC 681.3.02 : 003.081 : 003.62 ISBN 974-606-180-1



มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ข้อแนะนำเกี่ยวกับรหัสสำหรับอักขระไทยผสม
และสัญลักษณ์สำหรับการตีตาราง
สำหรับเครื่องพิมพ์แบบจุด



มอก. 988 - 2533



สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

กระทรวงอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ 2461175








ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 107 ตอนที่ 159
วันที่ 30 สิงหาคม พุทธศักราช 2533





คณะกรรมการวิชาการคณะที่ 536

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ
ประธานกรรมการ
นายวิชิต หล่อจีระชุณห์กุล ผู้แทนสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
กรรมการ
นายสมชาย วัฒนพงษ์ ผู้แทนสำนักงานสถิติแห่งชาติ
นายบุญชัย โสวรรณวณิชกุล ผู้แทนสถาบันบริการคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นายดำเนิน แก้วทวี ผู้แทนการสื่อสารแห่งประเทศไทย
นางบุษกร ธนสมบูรณ์กิจ
พ.อ. จำลอง จุณณะภาต ผู้แทนกรมการสื่อสารทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด
นายอัมพล กลิ่นฟุ้ง ผู้แทนองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
นายกฤษดา ณ ตะกั่วทุ่ง
นางสาวเพ็ญศรี กันตะโสพัตร์ ผู้แทนศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
นายยืน ภู่วรวรรณ
นายทวีศักดิ์ กออนันตกูล
นายจำนงค์ ทองประเสริฐ
นายสุริยัน ติษยาธิคม ผู้แทนสมาคมมาตรฐานไทย
นายสุธรรม วาณิชเสนี ผู้แทนสมาคมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
นายมานะ วราภักดิ์ ผู้แทนสมาคมธนาคารไทย
นายอภิศักดิ์ อภิวัฒโนกุล ผู้แทนบริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด
นายประกิต วิเชียรเจริญ ผู้แทนบริษัท โอลิมเปียไทย จำกัด
นายบัญชา ทรงทวีสิน ผู้แทนบริษัท ไฟฟ้าฟิลิปส์แห่งประเทศไทย จำกัด
ผู้แทนบริษัท บีเอ็ม คอมพิวเตอร์ จำกัด
นายพิสิฐ สุขผล ผู้แทนบริษัท ดาต้าแมท จำกัด
กรรมการและเลขานุการ
นายสุรยุทธ บุญมาทัต ผู้แทนสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม




(2)



ถ้าพิมพ์ภาษาไทยด้วยรหัสตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุสาหกรรม รหัสสำหรับอักขระไทยที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ มาตร
ฐานเลขที่ มอก.620 โดยตรง เครื่องพิมพ์แบบจุดที่ใช้อยู่ในปัจจุบันต้องวิ่งถึง 4 เที่ยวในการพิมพ์ภาษาไทยแต่
ละบรรทัด ดังนั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการพิมพ์ให้เร็วขึ้นจึงได้มีผู้คิดนำเอาสระบนกับวรรณยุกต์หรือทัณฑฆาตมา
รวมกันแล้วพิมพ์พร้อมกันในเที่ยวเดียว ทำให้ลดจำนวนเที่ยวลงเหลือเพียง 3 เที่ยวต่อบรรทัด วีธีการในการ
รวมสระบนกับวรรณยุกต์หรือทัณฑฆาตนั้นสามารถทำได้ต่างๆ กัน ในเครื่องพิมพ์ที่มีหน่วยประมวลผลในตัวเอง
(intelligent printer) นั้นสามารถรับสัญญาณอักขระเดี่ยวแล้วนำมารวมกันก่อนส่งพิมพ์ จะไม่มีปัญหาใดๆ
แต่ในเครื่องพิมพ์ที่ไม่มีหน่วยประมวลผลในตัวเอง (dumb printer) ได้มีผู้พยายามเข้าไปดัดแปลงฮาร์ดแวร์ใน
ภาคแสดงผลออกทางเครื่องพิมพ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ การทำเช่นนี้จำเป็นต้องกำหนดรหัสสำหรับอักขระผสม
ระหว่างสระบนกับวรรณยุกต์หรือทัณฑฆาต แต่การพัฒนาเทคนิดการแสดงผลดังกล่าว มีการใช้รหัสสำหรับอักขระ
ผสมแตกต่างกันออกไปในลักษณะที่ต่างคนต่างทำ ทำให้ไม่สามารถใช้เครื่องพิมพ์ต่างผู้ผลิตหรือต่างยี่ห้อกันได้
เกิดความยุ่งยากแก่ผู้ใช้เป็นอย่างมาก ดังนั้นเพื่อปรับรหัสสำหรับอักขระผสมต่างๆ ที่มีความหลากหลายเข้าหากัน
ให้อยู่ในรูปแบบเดียวกัน เพื่อให้สามารถใช้เครื่องพิมพ์ต่างผู้ผลิตหรือต่างยี่ห้อกันได้ จึงกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์
อุตสาหกรรม ข้อแนะนำเกี่ยวกับรหัสสำหรับอักขระไทยผสมและสัญลักษณ์สำหรับการตีตารางสำหรับเครื่องพิมพ์
แบบจุด ขึ้น
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้กำหนดขึ้นโดยใช้ข้อมูลส่วนหนึ่งจากผลการวิจัยของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
และคอมพิวเตอร์แห่งชาติเป็นแนวทาง





คณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้พิจารณามาตรฐานนี้แล้ว เห็นสมควรเสนอรัฐมนตรีประกาศตาม
มาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511





(3)




รูปครุฑ
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 1659 (พ.ศ. 2533)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ข้อแนะนำเกี่ยวกับรหัสสำหรับอักขระไทยผสม
และสัญลักษณ์สำหรับการตีตารางสำหรับเครื่องพิมพ์แบบจุด

      อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511
      รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ข้อแนะนำเกี่ยวรหัส
      สำหรับอักขระไทยผสมและสัญลักษณ์สำหรับการตีตารางสำหรับเครื่องพิมพ์แบบจุด มาตรฐานเลขที่ มอก.988-
      2533 ไว้ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้

ประกาศ ณ วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2533
พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม






(5)



                  มอก.988-2533
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ข้อแนะนำเกี่ยวกับรหัสสำหรับอักขระไทยผสม
และสัญลักษณ์สำหรับการตีตาราง
สำหรับเครื่องพิมพ์แบบจุด
  1. ขอบข่าย
  2. บทนิยาม
  3. อักขระผสม
  4. สัญลักษณ์สำหรับการตีตาราง
  5. การกำหนดตำแหน่งในตารางรหัส
  6. รหัสฐานสิบและรหัสฐานสิบหก
  7. ภาคผนวก ก. ข้อแนะนำเกี่ยวกับสัญลักษณ์เผื่อเลือกสำหรับสระที่มีความสูงพิเศษ

1. ขอบข่าย

1.1 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้กำหนด ข้อแนะนำเกี่ยวกับรหัสสำหรับอักขระไทยผสมและสัญลักษณ์สำหรับ
การตีตารางสำหรับเครื่องพิมพ์แบบจุด ที่มีลักษณะการพิมพ์ภาษาไทยแบบบรรทัดละ 3 เที่ยว
1.2 ห้ามใช้รหัสตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้ในการแลกเปลี่ยน ข้อมูลหรือบันทึกข้อมูลลงในสื่อข้อมูล
1.3 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้มิได้กำหนด รูปร่างหรือรูปแบบของอักขระที่ปรากฏว่าจะเป็นตัวตรง
ตัวเอน ตัวหนา ตัวบาง หรือความมนของรูปร่างอักขระ

2. บทนิยาม

ความหมายของคำที่ใช้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้ มีดังต่อไปนี้
2.1 อักขระไทยผสม ซึ่งต่อไปในมาตรฐานนี้จะเรียกว่า "อักขระผสม" หมายถึง อักขระที่เกิดจากการรวม
ระหว่างสระบางตัวกับวรรณยุกต์หรือทัณฑฆาต

3. อักขระผสม

3.1 อักขระผสมมี 25 ตัว คือ
ั่ ั้ ั๊ ั๋
ิ่ ิ้ ิ๊ ิ๋ ิ์
ี่ ี้ ี๊ ี๋
ึ่ ึ้ ึ๊ ี๋
ื่ ื้ ื๊ ื๋
.่ .้ .๊ .๋


-1-



มอก.988-2533

4. สัญลักษณ์สำหรับการตีตาราง

4.1 สัญลักษณ์สำหรับการตีตาราง มี 11 ตัว คือ

5. การกำหนดตำแหน่งในตารางรหัส

5.1 อักขระผสมและสัญลักษณ์สำหรับการตีตาราง กำหนดตำแหน่งตามตารางที่ 1

6. รหัสฐานสิบและรหัสฐานสิบหก

6.1 รหัสฐานสิบและรหัสฐานสิบหกของอักขระผสมและสัญลักษณ์สำหรับการตีตาราง ให้เป็นไปตามตารางที่ 2




-2-



                  มอก.988-2533
ตารางที่ 1 ตำแหน่งอักขระผสมและสัญลักษณ์สำหรับการตีตารางที่ขยายต่อจากตาราง ISO 646
(ข้อ 5.1)

ตารางที่ 1
หมายเหตุ

1. หมายถึง ใช้ตาม ISO 646
2. หมายถึง ใช้ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม รหัสสำหรับอักขระไทย
ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ มาตรฐานเลขที่ มอก.620


-3-



มอก.988-2533

ตารางที่ 2 รหัสฐานสิบและรหัสฐานสิบหกของอักขระผสมและสัญลักษณ์สำหรับการตีตาราง
(ข้อ 6.1)


อักขระ
หรือสัญลักษณ์
รหัสฐานสิบ รหัสฐานสิบหก ชื่ออักขระหรือสัญลักษณ์
ั่ 8/0 80      ไม้ผัด-ไม้เอก
ั้ 8/1 81      ไม้ผัด-ไม้โท
ั๊ 8/2 82      ไม้ผัด-ไม้ตรี
ั๋ 8/3 83      ไม้ผัด-ไม้จัตวา
ิ่ 8/4 84      พินทุ์อิ-ไม้เอก
ิ้ 8/5 85      พินทุ์อิ-ไม้โท
ิ๊ 8/6 86      พินทุ์อิ-ไม้ตรี
ิ๋ 8/7 87      พินทุ์อิ-ไม้จัตวา
ิ์ 8/8 88      พินทุ์อิ-ทัณฑฆาต
ี่ 8/9 89      สระอี-ไม้เอก
ี้ 8/10 8A      สระอี-ไม้โท
ี๊ 8/11 8B      สระอี-ไม้ตรี
ี๋ 8/12 8C      สระอี-ไม้จัตวา
ึ่ 8/13 8D      สระอึ-ไม้เอก
ึ้ 8/14 8E      สระอึ-ไม้โท
ึ๊ 8/15 8F      สระอึ-ไม้ตรี
ึ๋ 9/0 90      สระอึ-ไม้จัตวา
ื่ 9/1 91      สระอือ-ไม้เอก
ื้ 9/2 92      สระอือ-ไม้โท
ื๊ 9/3 93      สระอือ-ไม้ตรี
ื๋ 9/4 94      สระอือ-ไม้จัตวา
.่ 9/5 95      นิคหิต-ไม้เอก
.้ 9/6 96      นิคหิต-ไม้โท
.๊ 9/7 97      นิคหิต-ไม้ตรี




-4-



                  มอก.988-2533

ตารางที่ 2 รหัสฐานสิบและรหัสฐานสิบหกของอักขระผสมและสัญลักษณ์สำหรับการตีตาราง (ต่อ)

อักขระ
หรือสัญลักษณ์
รหัสฐานสิบ รหัสฐานสิบหก ชื่ออักขระหรือสัญลักษณ์
.๋ 9/8 98      นิคหิต-ไม้จัตวา
9/9 99      มุมซ้ายบน
9/10 9A      มุมขวาบน
9/11 9B      มุมซ้ายล่าง
9/12 9C      มุมขวาล่าง
9/13 9D      เส้นดิ่ง
9/14 9E      เส้นดิ่งแยกขวา
9/15 9F      เส้นดิ่งแยกซ้าย
13/11 DB      เส้นนอน
13/12 DC      เส้นนอนแยกขึ้น
13/13 DD      เส้นนอนแยกลง
13/14 DE      เส้นตัด




-5-



มอก.988-2533

ภาคผนวก ก.

ข้อแนะนำเกี่ยวกับสัญลักษณ์เผื่อเลือกสำหรับสระที่มีความสูงพิเศษ

ก.1 สัญลักษณ์ต่อไปนี้อาจใช้หรือไม่ใช้ก็ได้ แต่ถ้าใช้ควรเป็นไปตามภาคผนวกนี้
ก.2 สัญลักษณ์เผื่อเลือก มี 4 ตัว คือ
ก.3 การกำหนดตำแหน่งในตารางรหัส
กำหนดตำแหน่งตามตารางที่ ก.1
ตารางที่ ก.1 ตำแหน่งสัญลักษณ์เผื่อเลือกในตารางที่ขยายต่อจากตาราง ISO 646
(ข้อ ก.3)


ตารางที่ ก.1


ก.4 รหัสฐานสิบและรหัสฐานสิบหก
ให้เป็นไปตามตารางที่ ก.2




-6-



                  มอก.988-2533
ตารางที่ ก.2 รหัสฐานสิบและรหัสฐานสิบหกของสัญลักษณ์เผื่อเลือก
(ข้อ ก.4)


สัญลักษณ์ รหัสฐานสิบ รหัสฐานสิบหก ชื่อสัญลักษณ์
10/0 A0      ท่อนล่างของสระที่มีความสูงพิเศษ
15/12 FC      ท่อนบนของไม้โอ
15/13 FD      ท่อนบนของไม้ม้วน
15/14 FE      ท่อนบนของไม้มลาย







-7-



สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
ไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ข้อมูลในเว็บเพจนี้
ดังนั้นก่อนการใช้งานจริง โปรดตรวจสอบความถูกต้องกับเอกสารฉบับจริง (Hard Copy) จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอีกครั้ง


ผู้พัฒนา Homepage : ธีรศักดิ์ วิชกุล
บรรณาธิการ(Internet Version) : จุฬารัตน์ ตันประเสริฐ