ศูนย์เทเลเซ็นเตอร์สารสนเทศ หนุนลดช่องว่างการศึกษายุคดิจิทัล
คำว่า "Digital Devide" หรือช่องว่างในการ
ใช้เทคโนโลยี สารสนเทศวันนี้ ดูเป็นประเด็น ที่ถูกหยิบยกกัน ขึ้นมาพูดมากขึ้น
ยิ่งความเจริญก้าวหน้า ทางเทคโนโลยีมีเพิ่มมากขึ้นเท่าใด ช่องว่าง ซึ่งถือเป็นปัญหาสำคัญในการใช้ประโยชน์
จากเทคโนโลยีก็เป็น ประเด็นที่ต้องเกิดตามมา
กระนั้นหลายฝ่ายพยายาม
เข้ามามีส่วนร่วมช่วยลดช่องว่าง ของการใช้ไอที ในประเทศให้ลดลง
ซึ่งแม้จะไม่สามารถอุดช่องว่าง ที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด แต่ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี
และน่าจะมีการสานต่อ โครงการกระจายการใช้ไอทีไปในทุกกลุ่มของสังคม เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด นำสื่อมวลชนไทยจำนวนหนึ่ง ไปเยี่ยมชมศูนย์เทเลเซ็นเตอร์
ซึ่งเป็นองค์การบริการส่วนตำบลจังหวัดนครสวรรค์ โดยศูนย์นี้มีชื่อเต็มว่า
ศูนย์โทรคมนาคมและสารสนเทศไทย-แคนาดา (Thailand Canada Telecentre Project)
เกิดจากความรว่มมือของระหว่างภาคเอกชนไทย และแคนาดา ในลักษณะของโครงการนำร่องเป็นระยะเวลา
1 ปี เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม 2545
ที่มาของโครงการ
โครงการนี้ทำขึ้นเพื่อศึกษาการพัฒนา
และแก้ปัญหาช่องว่างตามที่กล่าวมาข้างต้น โดยได้รับการสนับสนุน
งบประมาณจากรัฐบาลแคนาดาผ่านองค์กรซีด้า (CIDA) หรือ Canadian
International Development Agency ซึ่งเป็นหน่วยงานที่คล้ายกับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
(บีโอไอ) ของไทย เป็นโครงการที่จะ
ให้ความช่วยเหลือในการจัดหาอุปกรณ์สื่อสาร และสารสนเทศ รวมทั้งการติดตั้งคู่สายโทรศัพท์เพิ่ม
และอุปกรณ์อื่นๆ ที่จำเป็น ส่วนชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าอยู่ในโครงการจะออกค่าใช้จ่ายสมทบในการดำเนินงาน
ตามความเหมาะสมของชุมชน เจ้าหน้าที่ต่างประเทศของซีด้า ซึ่งถือเป็นผู้ที่ต้องเข้ามาประสานงานกับหน่วยงานของไทยที่เห็นว่า
มีศักยภาพมากพอในการทำโครงการศูนย์โทรคมนาคม และสารสนเทศตามต่างจังหวัด กล่าวว่า ซีด้าจะได้รับเงินงบประมาณจำนวนหนึ่งจากรัฐบาลแคนาดา
เพื่อมองหาประเทศที่มีแนวโน้ม ในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอที แต่ไม่มีงบประมาณในการใช้โครงสร้างเหล่านั้น
ให้เป็นประโยชน์ภายในชุมชน โดยผ่านทางองค์กร
หรือบริษัทเอกชนที่พร้อมจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ
งบก้อนโตให้ไทย
สำหรับประเทศไทยนั้น ซีด้า บอกว่า มีหน่วยงานราว
20-30 ราย ที่เข้ามายื่นข้อเสนอโครงการ เพื่อขอรับทุนนำไปพัฒนาซึ่งที่ผ่านมาซีด้าได้มีการอนุมัติงบประมาณให้ประมาณ
20% ของผู้ที่ยื่นขอเข้ามาทั้งหมด
ซึ่งสำหรับเงินทุนสนับสนุนที่เขาขนเข้ามา เพื่อรองรับโครงการในลักษณะเดียวกันนี้ของไทยเป็นจำนวนเงินประมาณ
3.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับศูนย์เทเลเซ็นเตอร์ศูนย์นี้
เป็นโครงการของบริษัท ล็อกซเล่ย์ โดยมี ดร.ชิงชัย
หาญเจนลักษณ์ และนางวสุนธรา จาติกวณิช เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ
นางวสุนธรา กล่าวว่า
โครงการนี้ต้องการเปิดโลกทัศน์ ในการเข้าถึงเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร และสารสนเทศที่ให้บริการในพื้นที่บริการในพื้นที่ชนบทที่ห่างไกล
โดยให้มีสายโทรศัพท์ 4-5 สาย และคอมพิวเตอร์พร้อมโมเด็มเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ที่ง่ายต่อการเข้าถึงของคนในชุมชน
เพื่อให้บริการสื่อสาร และสารสนเทศให้กับชุมชนในพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลในรูปแบบของการจัดการที่ยั่งยืน
โดยทางศูนย์จะดำเนินการใน 3 ลักษณะ คือ
การดำเนินการโดยองค์กรปกครองท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน หรือจะดำเนินการใน 3 ลักษณะ คือ การดำเนินการโดยองค์กรปกครองท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน หรือดำเนินการในรูปของธุรกิจขนาดเล็ก
โดยชุมชนท้องถิ่น แต่ไม่ว่าจะดำเนินการในกลุ่มใด
ศูนย์จะต้องมีศักยภาพในการมีความมั่นคงในระยะยาว ในลักษณะของการพัฒนาแบบยั่งยืน
บริการภายในศูนย์
ศูนย์เทเลเซ็นเตอร์แห่งนี้ ตั้งอยู่ที่พื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลหัวถนน
จังหวัดนครสวรรค์ มีพื้นที่โดยรอบประมาณ 73 ตารางกิโลเมตร
โดยมีพื้นที่ของศูนย์ประมาณ 25 ตารางกิโลเมตร
ภายในศูนย์ซึ่งเป็นที่ทำการขององค์การบริการส่วนตำบลหัวถนน จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ของโครงการ
2 เครื่อง เครื่องโทรศัพท์ เครื่องแฟ็กซ์ และเครื่องถ่ายเอกสาร
โดยบริการหลักๆ จะบริการให้กับคนที่ชุมชนที่ต้องการเข้ามาตรวจสอบข่าวสารเรื่องของพืชผลทางการเกษตร
หรือค้นหาข้อมูลต่างๆ ที่จะนำไปเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานภายในชุมชน ตัวอย่างบริการเช่น
บริการใช้คอมพิวเตอร์ในการพิมพ์งาน การบริการคอมพิวเตอร์เพื่อค้นคว้าข้อมูล
บริการติดต่อสื่อสาร การรับ-ส่งโทรสาร ขณะเดียวกัน
มีบริการเสริม เช่น บริการสแกนภาพ ถ่ายรูป ทำเวบไซต์ อัพเดทข้อมูลต่างๆ ซึ่งบริการเหล่านี้จะรองรับคนในชุมชนที่ส่วนหนึ่งที่นี่มีการทำกิจกรรมของชุมชนอยู่อย่างสม่ำเสมอ
โดยเฉพาะในเรื่องของ 1 ผลิตภัณฑ์ 1
ตำบล นางวสุนธรา บอกว่า สำหรับศูนย์ที่มีศักยภาพสูง โครงการจะมีการพิจารณาสนับสนุนการลงทุนเพิ่ม
เพื่อให้ชุมชนสามารถให้บริการตามที่ชุมชนได้กำหนดวิสัยทัศน์ และความคาดหวังว่าอยากจะเห็นศูนย์ขยายกิจการไปในแนวทางใด
โดยจะมีการประเมินผลภายหลังจาก 1 ปีของการเปิดศูนย์
เพื่อดูความก้าวหน้า และผลดำเนินงาน "ก่อนที่โครงการจะเปิดศูนย์แห่งนี้
ได้มีการเข้ามาทำการสำรวจพื้นที่ เพื่อดูความเป็นไปได้ และความต้องการของชุมชน รวมถึงการหารือความเป็นไปได้กับองค์การโทรศัพท์
และบริษัทผู้ได้รับสัมปทานในการเพิ่มคู่สายโทรศัพท์ และส่งคณะผู้ศึกษาเข้าไปศึกษาสภาพปัญหา
และความต้องการของชุมชน" นางวสุนธรากล่าว โครงการนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าไปทำงานอย่างใกล้ชิดกับชุมชน
เพื่อทราบความต้องการ ซึ่งจุดหนึ่งนั้นชุมชนจะเป็นผู้คิด และสามารถตัดสินใจได้ว่าชุมชนมีความต้องการการบริการสื่อสาร
และสารสนเทศอย่างไร และทำอย่างไรถึงจะช่วยอุดช่องว่างการใช้ไอทีในโซนต่างจังหวัดได้
ที่มา
: กรุงเทพธุรกิจ
(กรุงเทพไอที) ฉบับวันที่ 7 มีนาคม 2545
|