ผ่าโรดแมป "กทช." คุมธุรกิจสื่อสาร ปี 49 ปลดล็อกค่าเชื่อมโครงข่าย
เปิดโรดแมป
4 ปี "กทช." สังคายนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยตั้งเป้าดันไทยติดท็อปเทนภูมิภาคเอเชียในปี
2551 พร้อมสร้างเกณฑ์บริการทั่วถึง-แข่งขันเสรีเป็นธรรม
"ชูชาติ" ท้าพิสูจน์ฝีมือ 7
อรหันต์ กทช. ทั้งมั่นใจภายในปี 2549 ปลดล็อก "ค่าเชื่อมต่อโครงข่าย" และทำคลอดไลเซนส์ได้แน่
ผู้สื่อข่าวรายงานข่าว
เมื่อวันที่ 11 ตุลาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ (กทช.) เริ่มทำงานเป็นวันแรก และมีการประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาแนวทางในการกำกับดูแลกิจการโทรคม
นาคมไทย (โรดแมป) และร่างแผนแม่บทโทรคมนาคม
พ.ศ. 2548-2551 ตามที่กรมไปรษณีย์ โทรเลขจัดทำขึ้น
ซึ่งโรดแมปและแผนแม่บทดังกล่าวจะถือเป็นสิ่งที่ กทช.จะนำไปใช้เป็นแนว
ทางในการทำงานต่อไปในอนาคต
แหล่งข่าวจากกรมไปรษณีย์โทรเลข เปิดเผยว่า โรดแมปแนวทางการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมไทยของกรมไปรษณีย์ฯได้กำหนดขอบเขตการทำงานของ
กทช.ไว้ทั้งสิ้น 9 เรื่อง (ดูกราฟิกประกอบ) โดยระบุให้มีการกำหนดวิสัยทัศน์
แผนงาน หรือโครงการ ซึ่งเป็นรายละเอียดในการจัดทำแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคมไทยไปพร้อมกับการจัดทำหลักเกณฑ์การอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมกล่าวคือ
จะเริ่มดำเนินการในเดือนพฤศจิกายนปีนี้ แต่แผนแม่บทต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จในเดือนเมษายนปี
2548 ขณะที่การอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมใช้เวลาทั้งสิ้น 1 ปีครึ่ง (ตุลาคม 2547-มีนาคม 2549)
โดยบริษัท กสท โทรคมนาคม (มหาชน) และบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จะเป็น 2 องค์กรที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ
(ไลเซนส์) ก่อนผู้ประกอบการรายอื่นในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2549 เนื่องจากกฎหมายระบุไว้ชัดเจนว่าทั้งคู่มีสิทธิได้รับใบอนุญาต
จากนั้นจึงเปิดรับการยื่นขอใบอนุญาตจากผู้ประกอบการรายอื่นในเมษายน-มิถุนายนปีเดียวกัน "กสทฯ-ทศทฯมีสิทธิตามกฎหมาย แต่ต้องขอใบอนุญาตใหม่ 180 วัน
และ กทช.ต้องอนุญาต แต่หากขอใบอนุญาตใหม่ กทช.มีสิทธิให้ใบอนุญาตที่มีรายละเอียดต่างไปจากธุรกิจที่ประกอบการอยู่ เช่น ค่าบริการ,
การใช้คลื่นความถี่, การจัดสรรเลขหมาย
หรือหากใน 180 วันไม่มายื่นก็มีสิทธิพิจารณาว่าจะอนุญาตหรือไม่ก็ได้"
สำหรับการกำหนดอัตราค่าเชื่อมโยงโครงข่าย (อินเตอร์คอนเน็กชั่นชาร์จ)
ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในฝั่งที่ได้รับสัมปทานจาก
กสทฯอย่างดี แทค และออเร้นจ์ออกโรงผลักดันมากเป็นพิเศษ หากยึดตามโรดแมปฉบับกรมไปรษณีย์ฯพบว่าทั้งดีแทค
และออเร้นจ์คงต้องร้องเพลงรอไปอีกนานทีเดียว เพราะระยะเวลาในการทำงานตามที่ระบุไว้ในโรดแมปนานถึง
19 เดือน ตั้งแต่จัดทำข้อตกลงอ้างอิงในเดือนธันวาคมปีนี้ถึงพฤษภาคม
2549 ควบคู่ไปกับการกำหนดอัตราค่าเชื่อมต่อโครงข่ายในเดือนมกราคม-ธันวาคมปีหน้า และเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องถึง 4 ครั้ง
"ในโรดแมปจะกำหนดให้เริ่มทำเรื่องอินเตอร์คอนเน็กชั่นชาร์จ การกำหนดอัตราค่าบริการ
และการบริหารทรัพยากรโทรคมนาคมทำพร้อมกันกันไป เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกัน
แต่ไม่จำเป็นต้องจบพร้อมกัน เช่น การบริหารทรัพยากรก็สิ่งที่ต้องทำต่อไปเรื่อยๆ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแปรสัญญาจะอยู่ในหัวข้อที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการประกอบกิจการโทรคมนาคม
ซึ่งมีทั้งมาตรการกระตุ้นการแปรสัญญา, สนับสนุนให้มีผู้ประกอบการรายใหม่
และการป้องกันการผูกขาด จะเริ่มในเดือน เมษายนปีหน้า และสิ้นสุดสิ้นปีถัดไป
ด้านพลเอกชูชาติ พรหมพระสิทธิ์ ประธานคณะกรรมการ กทช.กล่าวว่า โรดแมปที่กรมไปรษณีย์โทรเลขเสนอมาถือเป็นต้นแบบที่ดีที่ กทช.จะใช้เป็นพื้นฐานในการกำหนดระยะเวลาการดำเนินการ ต่างๆ ได้อย่างชัดเจน แต่กำหนดการที่วางไว้สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม
ซึ่งคณะกรรมการ กทช.คงต้องมีการหารือร่วมกันอย่างละเอียดเพื่อหาข้อสรุปต่อไป
ทั้งนี้สิ่งสำคัญเร่งด่วนที่ต้องรีบดำเนินการให้เสร็จก่อนภายในสิ้นเดือนตุลาคมนี้ คือ
การจัดโครงสร้างสำนักงาน กทช.
"กทช.มีงานต้องทำอีกเยอะทั้งในบทบาทของการบริหารความถี่
และงานกำกับดูแล ซึ่งแต่ละเรื่องเป็นเรื่องยาก และต้องใช้เวลาแก้ไขไม่น้อย เช่น การกำหนดอัตราค่าเชื่อมโยงโครงข่าย
หรือการออกใบอนุญาตใหม่ แต่ทั้งหมดทั้งปวงนี้โดยเฉพาะเรื่องหลักๆ
ตั้งใจไว้ว่าจะจัดการให้เสร็จสิ้นภายในปี 2549 คือทุกอย่างต้องดำเนินการเสร็จตามแผนที่วางไว้"
ขณะที่ศาสตราจารย์เศรษฐพร คูศรีพิทักษ์ คณะกรรมการ กทช.กล่าวถึงเรื่องการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมว่า ใบอนุญาต
ที่เกี่ยวกับคลื่นความถี่คงไม่สามารถให้ได้ โดยเฉพาะความถี่ที่มีความเกี่ยวพันกับกิจการวิทยุกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ฯ
เพราะต้องมีกฎหมายระบุให้การจัดสรรหรือบริหารความถี่ต้องดำเนินการร่วมกันระหว่าง กทช.
และ กสช. จึงต้องรอให้คณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ
(กสช.) เกิดขึ้นเสียก่อน
"บริการอินเทอร์เน็ตทำไปทำมาอาจต้องรอ กสช. เพราะอินเทอร์เน็ตปัจจุบันสามารถถ่ายทอดรายการโทรทัศน์ได้แล้ว อย่างไรก็ตามถ้าไม่ออกใบอนุญาตใหม่เลยมัวแต่รอ
กสช.ก็อาจทำให้สังคมเสียผลประโยชน์จึงต้องพิจารณาให้ดี
ซึ่งทางออกมีหลายทาง เช่น ให้เป็นใบอนุญาตชั่วคราวจนกว่าจะมี กสช. หรือกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาตว่า ให้บริการอินเทอร์เน็ตได้แต่ห้ามถ่ายทอดรายการทีวี
เป็นต้น"
สำหรับแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.
2548-2551 นั้นได้กำหนดวิสัยทัศน์ให้ กทช.ไว้ด้วยว่าจะผลักดันให้ประเทศไทยเป็น
1 ใน 10 ประเทศชั้นนำของเอเชียในการให้บริการโทรคมนาคมอย่างรวดเร็วและทั่วถึงด้วยเทคโนโลยีทันสมัย
บนพื้นฐานการแข่งขันที่เป็นธรรมภายในปี พ.ศ.2551 โดยมีเป้าหมายให้การขยายตัวของการให้บริการโทรคมนาคมเพิ่มขึ้น 13.6%
มีจำนวนเลขหมายโทรศัพท์ประจำที่ต่อประชากร 100
คน เพิ่มขึ้นเท่ากับ 20% และจำนวนเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อจำนวนประชากร
100 คน เท่ากับ 58%
ในแผนแม่บทดังกล่าวยังกำหนดยุทธศาสตร์ไว้ 6
ข้อด้วยกัน ได้แก่
1.พัฒนาศักยภาพประชาชนให้สามารถป้องกันสิทธิประโยชน์ของตนเองได้ เช่น การออกกฎเกณฑ์คุ้มครองผู้บริโภค
สนับสนุนมาตรการที่บังคับให้ผู้ประกอบการรับผิดชอบต่อการโฆษณาเกินจริง หรือผิดศีลธรรม
2.เสริมสร้างศักยภาพธุรกิจ เช่น ออกมาตรการสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันที่เท่าเทียมและเป็นธรรม
เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาในตลาดและสนับ สนุนให้มีการแข่งขันการให้บริการวงจรดาวเทียมสื่อสารในประเทศระหว่างผู้ให้บริการดาวเทียมไทยและต่างชาติ
3.เร่งรัดกลไกการกำกับดูแล เช่น สนับสนุนการปฏิบัติงานของ กทช. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ข้อกำหนดในการกำกับดูแลให่เกิดความโปร่งใส
4.ปฏิรูปกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องให้สอด
คล้องกับสถานการณ์โลกและการขยายตัวของตลาด สนับสนุนกฎหมายที่ทำให้ผู้ประกอบการไทยได้สิทธิประโยชน์ด้านต่างๆ
5.ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีโทรคมนาคม เช่น กำหนดให้มีหน่วยงานรับผิดชอบการวิจัย
จัดตั้งกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคม สนับสนุนยี่ห้อของผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ
และ
6.พัฒนาศักยภาพโครงข่ายและการเข้าถึงโครงข่าย อาทิ ส่งเสริมการขยายและพัฒนาโครงข่ายอย่างมีระบบ
ทั่วถึงและเท่าเทียม ทั้งคุณภาพและราคา สนับสนุนการใช้แบ็กโบน ร่วมกัน
ที่มา
: ประชาชาติธุรกิจ
ฉบับวันที่ 14 ตุลาคม 2547
|