ไมโครซอฟท์จับมือกระทรวงศึกษาฯ ทุ่ม 2,500 ล้าน ปิดทางโอเพ่นซอร์ซ
ยักษ์ไมโครซอฟท์ทุ่มทุน
2,500 ล้านบาท ฝังรากลึกผ่านกระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งไอที อคาเดมี่ เซ็นเตอร์
พัฒนาหลักสูตร-อบรมอาจารย์ และมอบสิทธิพิเศษการใช้ซอฟต์แวร์แก่โรงเรียน
38,000 แห่ง "หมอเลี้ยบ"
ชี้แผนส่งเสริม "โอเพ่นซอร์ซ"
ไม่คืบ เพราะไม่มีเจ้าภาพ ด้านนักวิจัยฯจวกกลับภาครัฐขาดการสนับ
สนุนอย่างจริงจัง
เมื่อวันที่
17
กันยายน 2546 บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย)
จำกัด ได้ประกาศลงนามข้อตกลงความร่วมมือในโครงการระยะยาวระหว่างกระทรวงศึกษาธิการและไมโครซอฟท์
เพื่อสนับสนุนการพัฒนาความรู้ด้านไอซีทีแก่เด็กนักเรียน ภายใต้ชื่อโครงการ
"Partners in Learning" นายแอนดรูว์ แม็คบีน
กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ข้อตกลงนี้ประกอบด้วย 3 ส่วน
ได้แก่
1. จัดตั้งศูนย์วิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาโดยไมโครซอฟท์ (Micro
soft IT Academy Center) เพื่อเป็นศูนย์กลางการฝึกอบรมและพัฒนาศักยภาพของอาจารย์
นักเรียน และบุคคลที่สนใจ พัฒนาหลักสูตรและจัดหาเครื่องมือสนับสนุน ให้การรับรองทักษะคุณภาพความเชี่ยวชาญของนักเรียนตลอดจนสนับสนุนด้านเทคโนโลยีและการค้นคว้าวิจัยผ่านโรงเรียน
2. Fresh Start for Donated Computers ติดตั้งระบบปฏิบัติการวินโดวส์
98 และ/หรือวินโดวส์ 2000 แก่โรงเรียนระดับประถม-มัธยมศึกษา 38,000 แห่งทั่วประเทศที่ได้รับบริจาคเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อติดตั้งโปรแกรมวินโดวส์โดยไม่คิดมูลค่าใดๆ
และ 3. School Agreement มอบการสนับสนุนพิเศษแก่โรงเรียนประถม-มัธยมศึกษาในการ อัพเกรดซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เอ็กซ์ พีโปรและซอฟต์แวร์ชุดออฟฟิศในราคาพิเศษ
โครง การนี้มีระยะเวลาการดำเนินการ 5 ปี ใช้งบประมาณทั้งหมด 2,500 ล้านบาท โดยจะเริ่มดำเนินโครงการนำร่องกับโรงเรียน 921 แห่ง ที่อยู่ภายใต้โครงการ "หนึ่งอำเภอ
หนึ่งโรงเรียนในฝัน" ของ กระทรวงศึกษาธิการ
ด้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรากำลังเข้าสู่สังคมแห่งความรู้
ประเทศไทยยังต้องพัฒนาระบบการศึกษาอีกมาก แต่กระนั้นก็ไม่สายที่จะทำและสามารถเร่งสปีดได้ด้วยเทคโนโลยีด้านไอที
และไมโครซอฟท์เป็นหุ้นส่วนในการผลักดันให้ระบบการศึกษาไทยมีการพัฒนา "ถ้าเด็กมีความรู้ คิดเป็น ก็จะเป็นพลังของประ เทศ ทุกอย่างอยู่ที่คน
ถ้าสร้างคนให้เก่งประเทศก็จะเก่ง ถ้าคนไม่เก่งประเทศก็จะไม่เก่งและจะมีปัญหาในการแข่งขันในอนาคต
ในนามของรัฐบาลต้องขอขอบคุณไมโครซอฟท์ที่ได้มอบสิทธิพิเศษและให้การสนับสนุนในโครงการนี้"
พ.ต.ท.ทักษิณกล่าว
นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
กล่าวว่า การส่งเสริมความรู้ด้านไอทีจะไม่จำกัดว่าต้องเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง
โครงการนี้เป็นการวางรากฐานส่วนหนึ่ง แต่รัฐบาลก็เปิดกว้างสำหรับซอฟต์แวร์ทุกระบบ รวมทั้งในส่วนของโอเพ่นซอร์ซ
แต่ปัญหาของการส่งเสริมโอเพ่นซอร์ซขณะนี้คือไม่มีเจ้าภาพในการผลักดันอย่างจริงจัง เพราะทุกฝ่ายล้วนมีงานประจำที่ต้องรับผิดชอบ
ทำให้มีแต่คนออกมาแสดงความคิดเห็น แต่เมื่อจะลงมือปฏิบัติกลับไม่มีใครเสนอตัว
ด้าน ดร.วิรัช ศรเลิศล้ำวาณิช กรรมการสมาพันธ์โอเพ่นซอร์สแห่งประเทศไทย
ให้ความเห็นว่า การที่ไมโครซอฟท์ให้การสนับสนุนในภาคการศึกษานั้น
ประเทศไทยจะได้ประโยชน์ในระยะแรก แต่ในระยะยาวจะทำให้ต้องไปซื้อลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์อื่นๆ
จากไมโครซอฟท์ต่อ นอกจากนี้ ยังอาจเป็นการปิดทางการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศอีกด้วย
ส่วนปัญหาของการเผยแพร่โอเพ่นซอร์ซ เพราะไม่มีการสนับสนุนจากภาครัฐเกือบทุกด้าน
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงบประมาณ ไม่มีหน่วยงานที่สนับสนุน การสนับสนุนการวิจัยพัฒนา
หรือแม้กระทั่งศูนย์ฝึกอบรม ทุกวันนี้คนที่พัฒนาเกี่ยวกับโอเพ่นซอร์ซล้วนแต่เป็นอาสาสมัครทั้งนั้น
คิดทำโครงการมากมายแต่ไม่มีเงินจากภาครัฐมาสนับสนุน
ที่มา
: ประชาชาติธุรกิจ
ฉบับวันที่ 22 กันยายน 2546
|