นักวิจัยพัฒนา "ไมโครชิพ" เพื่อวงการแพทย์
ระบุใช้ฝังในร่างกาย
ด้วยเป้าหมายเพื่อส่งข้อมูลช่วยแพทย์รักษาโรค
นักวิจัยสหรัฐเดินหน้าทดสอบไมโครชิพชนิดฝังในร่างกาย
พร้อมคุณสมบัติใหม่ ส่งข้อมูลกลับไปยังอุปกรณ์รับสัญญาณแบบพกพา
รวมทั้งแจ้งเตือนอาการป่วยให้กับแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องใช้สาย
หรือแบตเตอรี่ชี้เป็นครั้งแรก และเป็นการก้าวกระโดดครั้งสำคัญของวงการแพทย์ ดอกเตอร์
เจย์ ยาดาฟ ผู้อำนวยการแผนกศัลยกรรมเส้นเลือดของมูลนิธิคลินิกคลีฟแลนด์ กล่าวว่า นับเป็นครั้งแรกที่ทางการแพทย์นำวิธีการรับข้อมูล
ที่ส่งออกมาจากร่างกายโดยไม่ต้องใช้สาย จึงเรียกได้ว่าเป็นการก้าวกระโดดครั้งสำคัญในแวดวงวิทยาศาสตร์การแพทย์
กระนั้น
ไมโครชิพดังกล่าว ซึ่งมีชื่อเรียกว่า เมมส์ (MEMS-Micro-electro mechanical system) จะช่วยให้แพทย์สามารถตรวจสอบสภาพหัวใจของผู้ป่วย
ด้วยการถืออุปกรณ์รับสัญญาณไว้ใกล้ตัวผู้ป่วย ซึ่งดีกว่าการสแกนด้วยเครื่องซีเอที
(CAT) หรือการผ่าตัด นอกจากนี้
ผู้ป่วยยังสามารถติดตามอาการป่วยได้ด้วยตัวเอง แม้ขณะอยู่ที่บ้าน นายยาดาฟพัฒนาอุปกรณ์ดังกล่าวร่วมกับนายมาร์ด
อัลเลน ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมไฟฟ้า ของสถาบันเทคโนโลยีแห่งจอร์เจีย
และนายเดวิด สเติร์น จากบริษัทคาร์ดิโอเมมส์ ในเมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย โดยเป้าหมายในการผลิตเบื้องต้น
เพื่อนำไปใช้ในเครื่องบินเจ็ต
ก่อนหน้านี้
มีการนำเมมส์ไปปรับใช้เป็นอุปกรณ์ตรวจสอบระดับความดันเลือดในอวัยวะหรือก้อนเลือดของผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจผิดปกติ
หรือภาวะเส้นเลือดแดงโป่งพอง ซึ่งถ้าหากประสบความสำเร็จ เครื่องมือดังกล่าวจะช่วยให้แพทย์สามารถจัดการปัญหายุ่งยากได้อย่างง่ายดาย
พร้อมกันนี้
นักวิจัยยังเตรียมการจะฝังตัวรับสัญญาณเมมส์เข้าไปในเลือดของผู้ที่ป่วยเป็นโรคเส้นเลือดโป่งพอง
เพื่อติดตามความดันและส่งข้อมูลกลับมายังแพทย์หรือผู้ป่วยได้บ่อยเท่าที่ต้องการ
อย่างไรก็ตาม
ในอดีต นักวิจัยเคยประสบความสำเร็จในการใช้ "เมมส์" ตรวจวัดความดันเลือดของสุนัขที่มีสุขภาพแข็งแรง
และสำหรับขั้นตอนต่อไปจะเป็นการทดสอบตัวรับสัญญาณดังกล่าว
ในสุนัขที่เป็นเส้นเลือดโป่งพอง เพื่อดูประสิทธิภาพในการตอบรับ
รวมทั้งยังวางแผนจะนำไปทดสอบมนุษย์อีกด้วย นายยาดาฟเปิดเผยว่า
หากอุปกรณ์รับสัญญาณดังกล่าว ทำงานได้ผล อาจจะนำไปประยุกต์ใช้โรคอื่นๆ อาทิเช่น
ออร์โธพิดิกส์ (Orthopedics) เพื่อตรวจสอบความดันที่อาจเป็นสาเหตุของการบาดเจ็บที่รุนแรง
เนื่องจาก อุปกรณ์ดังกล่าว
มีประสิทธิภาพในการตรวจจับบางสิ่งบางอย่างนอกเหนือจากความดัน อย่างเช่น
สัญญาณไฟฟ้า หรือระดับกลูโคส เป็นต้น นอกจากนี้ นายยาดาฟยังเสริมว่า แพทย์สามารถนำอุปกรณ์ไมโครชิพไปใช้งานร่วมกับการผ่าตัดย่อยได้โดยที่ไม่ต้องผ่านการฝึกอบรมมาก่อน
อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น ดังนั้น นักวิจัยจะต้องเฝ้าดูปัจจัยเสี่ยง
ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการขับชิพออกจากร่างกาย
หรือการที่ร่างกายต่อต้านสิ่งแปลกปลอม อย่างเช่น
พลาสติกที่ใช้ในการผลิตตัวรับสัญญาณ เป็นต้น "เมื่ออุปกรณ์ดังกล่าวหยุดทำงาน
จะต้องไม่ทิ้งอันตรายไว้ในร่างกายผู้ป่วย" นายยาดาฟยืนยัน
ที่มา
: กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 25 มกราคม 2545
|