"เกาหลี" เล็งขยายลงทุนไอทีในไทย ลุยบริการจับคู่ธุรกิจข้ามประเทศ
"เกาหลี" รุกตลาดไอทีไทยบริการจับคู่ธุรกิจข้ามประเทศ
ดึงผู้ประกอบการเข้าร่วมลงทุนไทย-โสม
เพื่อขยายโอกาสการลงทุนของทั้ง 2 ฝ่าย พร้อมเสนอการถ่ายทอดเทคโนโลยี-ความรู้ ตั้งเป้า 2 ปีสานโครงการอีกัฟ เวิร์นเมนต์ระหว่างประเทศสำเร็จ
นายบ็อบ ฉั่ว กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอปาร์ก สิงคโปร์ จำกัด กล่าวว่า
ไอปาร์กเป็นองค์กรภายใต้รัฐบาลเกาหลีใต้ เพื่อเป็นศูนย์กลางการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจในอุตสาหกรรมไอทีของเกาหลีในประเทศต่างๆ
ทั่วโลก การเดินทางมาพบปะกับหน่วยงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ของรัฐบาลไทย
เพื่อปูทางสู่การจัดตั้งความร่วมมือของ 2 ประเทศ เพราะไอปาร์กเห็นถึงศักยภาพของตลาดที่จะเติบโตได้สูงสุดในภูมิภาค
ทั้งจากการเติบโตของการใช้จ่ายภายในประเทศ และนโยบายของผู้นำประเทศ ตลอดจนรูปแบบธุรกิจด้านไอซีที
โดยไอปาร์กได้เข้ามาแนะนำรูปแบบการดำเนินงาน รวมทั้งประสานความร่วมมือระหว่างกลุ่มธุรกิจไอทีระหว่าง
2 ประเทศ ซึ่งประโยชน์ที่ทั้ง 2
ฝ่ายจะได้รับร่วมกันคือ การจับคู่พันธมิตรธุรกิจที่เหมาะสมให้สามารถตกลงร่วมทำธุรกิจด้วยกันได้ทั้งในด้านเทคโนโลยีและการจัดหาช่องทางการทำตลาด
รวมทั้งช่วยหาแหล่งเงินทุนจากที่ต่างๆ แก่ผู้ประกอบการ เช่น ธนาคารเพื่อการนำเข้า-ส่งออกของเกาหลี, กองทุนร่วมพัฒนาเศรษฐกิจ (EDCF)
ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่เน้นการสนับสนุนโครงการด้านไอที, ธนาคารโลก และธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) เป็นต้น
เมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา "ไอปาร์ก" ได้ขยายความร่วมมือระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล
(G2G : Government to Government) ไปยังประเทศมาเลเซีย
และได้เซ็นบันทึกความเข้า (เอ็มโอยู) ร่วมกันในโครงการด้านไอทีไปแล้ว
ส่วนประเทศเวียดนามคาดว่าจะสามารถเซ็นเอ็มโอยูได้ในเดือนกันยายนนี้
ทั้งนี้ บริษัทจะจัดประชุมทวิภาคีระหว่างบริษัทไอทีจากเกาหลี
และไทยในเดือนสิงหาคม 2546 และจะดำเนินการเซ็นเอ็มโอยูกับรัฐบาลไทยเพื่อให้รับทราบแนวทางและข้อตกลงร่วมกัน
หลังจากนั้นจะนำไปสู่โครงการความร่วมมือระหว่าง 2 รัฐบาลในการพัฒนาโครงสร้างระบบสารสนเทศของ
รัฐบาล (อีกัฟเวิร์นเมนต์) เพื่อให้กระทรวงแต่
ละแห่งสามารถเชื่อมโยงระหว่างกันได้ (e-Ministry) และนำไปสู่โครงการอีซิติเซ็น
ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในอีก 2-3 ปีข้างหน้า" นายฉั่ว กล่าวต่อว่า
"ไอปาร์กจะเป็นตัวแทนในการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศของเกาหลีที่มีการพัฒนาขึ้น
อาทิ การพัฒนาระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์, เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาย
หรือบรอดแบนด์, ระบบเครือข่ายโทรคมนาคม, การพัฒนาระบบดิจิทัลและชุมชนอินเทอร์เน็ต ซึ่งขณะนี้เกาหลีเป็นผู้นำในตลาดเกมออนไลน์
พร้อมทั้งการให้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่เกาหลีได้พัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยในการดำเนินงาน
บริษัทคาดหวังว่าหลังจากเซ็นเอ็มโอยูแล้วจะมีผู้ประกอบในประเทศไทยที่สนใจเข้าร่วมมือกับผู้ประกอบการเกาหลีประมาณ
2-3 โครงการในปีหน้า สำหรับความร่วมมือระหว่างรัฐบาลครั้งนี้ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์อย่างยิ่ง
ทั้งในการถ่ายทอดประสบการณ์ด้านเทคโนโลยี (techno logy transfer) และศูนย์ความรู้ (knowledge transfer) อาทิ
การพัฒนาทางด้านดิจิทัลคอนเทนต์ หรือการเรียนการสอนผ่านระบบอิเล็ก ทรอนิกส์ (อีเลิร์นนิ่ง) จากประเทศเกาหลีโดยตรง
ที่มา
: ประชาชาติธุรกิจ
ฉบับวันที่ 30 มิถุนายน 2546
|