เกาหลีใต้พร้อมรุกลงทุนไทย
นายยัง จุง กัง
ผู้อำนวยการศูนย์การค้าเกาหลี (Korea Trade Center- KOTRA) สำนักงานส่งเสริมการค้าต่างประเทศเกาหลีใต้ประจำกรุงเทพฯ
เปิดเผยว่า หลังจากเกาหลีใต้ประสบกับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปี 1998 และต้องขอเงินกู้ช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เป็นเงินถึง 43,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
ตลอดจนปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและธุรกิจครั้งใหญ่ แต่ด้วยพื้นฐานในด้านต่างๆ
ที่แข็งแกร่งรวมถึง นโยบายการบริหารประเทศที่ประ สบความสำเร็จการดึงเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ
และการขยายตัวของการส่งออก ด้วยระยะเวลาเพียง 3
ปีเกาหลีใต้จึงสามารถปลดภาระหนี้สินกับ IMF และกลับมาเป็นหนึ่งในจำนวนประเทศที่มีอัตราการขยายตัวสูงที่สุดในเอเชียได้อีกครั้ง
รัฐบาลเกาหลีใต้โดยหน่วยงาน KOTRA จึงมีนโยบายที่จะสนับสนุนและส่งเสริมความร่วมมือด้านการลงทุนระหว่างภาคเอกชนเกาหลีใต้กับพันธมิตรในต่างประเทศมากขึ้น
ผู้อำนวยการ KOTRA กล่าวว่า การยอมรับเงินลงทุนจากต่างประเทศหลังเกิดวิกฤตถือเป็นนโยบายที่ทำให้เกาหลีใต้เดินไปในหนทางที่ถูกต้อง
อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างระบบเครือข่ายการดำเนินธุรกิจขนาดใหญ่หรือที่เรียกว่า
'แชโบล' ยังช่วยให้บริษัทยักษ์ใหญ่ในกลุ่มรวมถึง
ฮุนได แดวู แอลจี และซัมซุง มีความแข็งแกร่งในธุรกิจหลักของตนเองมากขึ้น ก่อให้เกิดการแข่งขันระหว่างกันซึ่งส่งจะผลดีต่อตลาดและภาคธุรกิจ
และช่วยให้เศรษฐกิจของเกาหลีใต้ฟื้นตัวดีขึ้น
ในส่วนของนโยบายทางการค้าและการลงทุนต่างประเทศ รัฐบาลเกาหลีใต้ก็มีนโยบายส่งเสริมให้เอกชนเกาหลีใต้ออกไปลงทุนในต่างประเทศ
เพิ่มขึ้น โดยการพิจารณาเข้าไปลงทุนในประเทศใดๆ นั้น บริษัทของเกาหลีใต้จะเป็นผู้ตัดสินใจจากชนิดของผลิตภัณฑ์สินค้าที่จะผลิต
จุดแข็งของแต่ละประเทศ และผลประโยชน์ที่เกาหลีใต้และประเทศนั้นๆ จะได้รับ อาทิ การลงทุนในอินโดนีเซียและจีนมีข้อได้เปรียบจากค่าแรงต่ำ
และการลงทุนในอุตสาห กรรมที่เกี่ยวเนื่องกับรถยนต์ในประเทศเขต อาเซียน
(ASEAN-สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ) ซึ่งจะได้รับประ โยชน์จากข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free
Trade Area- AFTA)
สำหรับการลงทุนในประเทศไทย ผู้อำนวยการ KOTRA กล่าวว่า
ปัจจุบันมีบริษัทจากเกาหลีใต้เข้ามาเพียง 136 บริษัทซึ่งเป็นจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับบริษัทจากญี่ปุ่นหรือสหรัฐอเมริกา
ทาง KOTRA กรุงเทพฯ จึงจะเร่งส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนระหว่างบริษัทเอกชนเกาหลีใต้และไทย
เฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจขนาดกลางและเล็กเพิ่มมากขึ้น โดยจะมุ่งเน้นอุตสาหกรรมและธุรกิจที่เกาหลีใต้มีจุดแข็งทั้งในชื่อเสียงและคุณภาพเช่น
เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับรถยนต์
ที่มา
: ประชาชาติธุรกิจ
ฉบับวันที่ 21 ตุลาคม 2545
|