"ทักษิณ" ชูแผนพัฒนาคน-ซอฟต์แวร์ -ปฏิรูประบบราชการ ยกระดับการใช้ไอซีที
ต้องมีการประสานงานการใช้ข้อมูลร่วมกัน
ระหว่างหน่วยงานรัฐ ลดการซ้ำซ้อน โดยจัดตั้งศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ (GDX: Government Data
Exchange) รวมถึงข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) หรือข้อมูลเชิงพื้นที่, จัดทำบัตรประชาชนโดยใช้สมาร์ทการ์ด
การทำเก็บข้อมูลประชากร โดยจะเริ่มข้าราชการก่อน แล้วขยายไปในประชาชนวงกว้าง
ซึ่งคาดว่าจะทำได้ทั่วประเทศใน 7-8 ปี
ทักษิณ" สั่งลุยระดมความคิดรัฐ-เอกชน เสนอแผนยุทธศาสตร์พัฒนาไอซีทีให้แล้วเสร็จ 25
ก.พ. นี้ พร้อมชู 3 กรอบการพัฒนา ครอบคลุมทั้งด้านบุคลากร-ซอฟต์แวร์ และการปฏิรูปราชการ
โดยใช้ไอซีที การปฏิรูปราชการที่ต้องแล้วเสร็จในเดือนตุลาคมนี้ จะมีกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร
ซึ่งยังขาดการกำหนดบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานใหม่ที่จะเกิดขึ้น
ล่าสุด พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จึงได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ "ยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร" ของไทยขึ้น เพื่อนำผลที่ได้มาใช้กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์ ของกระทรวงดังกล่าวด้วย
ซึ่งการประชุมได้ข้อสรุปยุทธศาสตร์หลัก 3 ประการ ประกอบด้วย
1. การพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ โดยมีแนวคิดที่จัดตั้งหน่วยงานที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์โดยเฉพาะ
เป็น SIPA: Software Industry Promotion Agency ซึ่งจะเน้นการให้บริการกับเอกชนในจุดเดียว
(วัน-สต็อป ช็อป) ด้านภาษีศุลกากร
การส่งเสริมการลงทุน การตรวจคนเข้าเมือง สำหรับหน่วยงานนี้จะอยู่ภายใต้กระทรวงใหม่
อย่างไรก็ตาม ระหว่างนี้อาจตั้งเป็นคณะกรรมการภายใต้นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน พร้อมกันนี้
ภาครัฐต้องเป็นผู้เปิดตลาดภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจที่จะมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้กับบริษัทที่จดทะเบียนในไทย
รวมถึงการดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติโดยปรับปรุง ถ้าระเบียบที่ไม่เอื้ออำนวย นอกจากนี้
ยังมีมาตรการด้านการเงิน ซึ่งจะใช้กลไกของหน่วยงานรัฐ เช่น บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม
(บอย.) ที่จะแปรสภาพเป็นเอสเอ็มอี แบงก์ในอนาคตดให้เข้ามาอนุมัติสินเชื่อ
สำหรับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ได้
2. การพัฒนาบุคลากร
ที่ต้องทำสองแนวทางขนานกัน ทั้งการพัฒนาครู อาจารย์และนักวิจัย
ควบคู่ไปกับการพัฒนาให้ความรู้วิชาชีพ โดยต้องมีการทำงานร่วมกันระหว่างเอกชนกับสถาบันการศึกษามากขึ้น
พร้อมกันนี้ได้กำหนดการฝึกบุคลากรและอุตสาหกรรรมให้รับกัน อีกทั้งให้พิจารณาจ้างชาวต่างชาติผู้มีวิชาการเข้ามาฝึกอบรม
ซึ่งการพัฒนากำลังคนนี้จะเป็นมาตรการเร่งด่วน ของอุตสาหกรรมที่เป็นภารกิจของ SIPA
ด้วย
3. การปฏิรูปราชการและไอซีที กับการบริหารงานของภาครัฐเพื่อก้าวสู่รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
(อี-กอฟเวิร์นเม้นท์) โดยมีแนวคิดที่จะทำระบบสารสนเทศ (อินฟอร์เมชั่น
ซิสเต็ม) ของราชการที่สองคล้องกับแนวนโยบายการปฏิรูปราชการที่กระจายให้ไปในภูมิภาค
โดยต้องฝึกข้าราชการให้เป็นโนว์เลจ เวิร์คเกอร์ นอกจากนี้
ต้องมีการประสานงานการใช้ข้อมูลร่วมกัน ระหว่างหน่วยงานรัฐ ลดการซ้ำซ้อน
โดยจัดตั้งศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ (GDX: Government Data Exchange) รวมถึงข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) หรือข้อมูลเชิงพื้นที่
รวมถึงการจัดทำบัตรประชาชนโดยใช้สมาร์ทการ์ด การทำเก็บข้อมูลประชากร โดยจะเริ่มข้าราชการก่อน
แล้วขยายไปในประชาชนวงกว้าง ซึ่งคาดว่าจะทำได้ทั่วประเทศใน 7-8 ปี
พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
(เนคเทค) จะมีบทบาทในการทำงานร่วมกับภาคเอกชน
รวบรวมข้อเสนอของกรอบยุทธศาสตร์ทั้ง 3 ประการ
และข้อเสนออื่นๆ เพิ่มเติมให้แล้วเสร็จ ภายในวันที่ 25
กุมภาพันธ์นี้
ใช้ต้นแบบจากอินเดีย
ด้านนายรอม หิรัญพฤกษ์
ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ หรือซอฟต์แวร์ปาร์ค กล่าวว่า แนวคิดเรื่อง SIPA ของไทย
ใกล้เคียงกับอินเดียมาก โดยใช้หลักการให้บริการแบบวัน-สต็อป
เซอร์วิส และการสื่อสารโทรคมนาคมและการเดินทางเอื้ออำนวยต่อการเข้ามาลงทุนของต่างชาติ
และส่งเสริมให้มีการจัดตั้งซอฟต์แวร์ปาร์คในภาคเอกชนที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยปัจจุบันอินเดียมีแฟรนไชส์ของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์
ที่ได้รับการส่งเสริมจากนโยบายรัฐกว่า 22 แห่งทั่วประเทศ และอยู่ระหว่างดำเนินงานอีก
12 แห่ง สำหรับประเทศไทยเอง ในระดับรากหญ้า ตามสถาบันการศึกษาในต่างจังหวัดที่มีความพร้อมบุคลากร
ก็ร่วมกับภาคเอกชนที่พื้นที่ และนักลงทุนต่างชาติ ในการจัดตั้งซอฟต์แวร์ปาร์คด้วย ล่าสุด
มีตัวอย่างโครงการความร่วมมือแล้ว ในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ได้ร่วมทำงานกับหอการค้าไทย-สวีเดน รวมทั้ง
ความร่วมมือในรูปแบบใกล้เคียงกัน ที่กระจายอยู่อีกหลายจังหวัด เช่น เชียงใหม่
พิษณุโลก นครศรีธรรมราช และสงขลา ซึ่งหาก SIPA ตั้งขึ้น ก็จะมีบทบาทให้เกิดแฟรนไชส์
ของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ในภาคเอกชนได้ง่ายขึ้น
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 6 กุมภาพันธ์
2545
|