อุตฯ คุมเข้มขยะอิเล็กทรอนิกส์ นำเข้าของเก่าต้องมีใบรับรอง

กรมโรงงานอุตสาหกรรมออกกฎเหล็ก ควบคุมการนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามือสอง กันขยะอิเล็กทรอนิกส์ล้นประเทศ คาดโทษหนักจำคุก 2 ปี ปรับ 200,000 บาท มีสิทธิขยายผลไปถึง ป...ใช้อำนาจกรมศุลกากรตามยึดทรัพย์อีกต่อหนึ่ง ด้านผู้นำเข้าเครื่องถ่ายเอกสารมือสองวอนรัฐ ขอผ่อนปรนเรื่องใบรับรองเครื่องเก่าจากโรงงานผู้ผลิต เผยในทางปฏิบัติไม่มีโรงงานไหนมานั่งออกใบรับรองความเก่าให้กับผลิตภัณฑ์ใช้แล้ว

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานการสัมมนาเรื่อง "การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนำเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แล้วที่เป็นวัตถุอันตรายเข้ามาในราชอาณาจักร" ว่า ทางกระทรวงอุตสาหกรรมได้ออกประกาศกระทรวงระบุให้เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้แล้วเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ตาม พ...วัตถุอันตรายปี 2535 ซึ่งผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ครอบครองจะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมโรงงานอุตสาหกรรมก่อนจึงจะประกอบการได้ ทั้งนี้ กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ออกประกาศอาศัยอำนาจตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมข้างต้น กำหนดเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาตนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แล้ว ประกอบด้วย

1)การนำเข้าเพื่อจำหน่ายหรือใช้ซ้ำ จะต้องเป็นเครื่องที่คงสภาพเดิม สามารถใช้งานได้จริง มีอายุใช้งานไม่เกิน 3 ปี ยกเว้นเครื่องถ่ายเอกสารให้มีอายุใช้งานได้ไม่เกิน 5 ปี ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานเทียบเท่ากับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสหากรรม (มอก.) ต้องมีหลักฐานรับรองจากคุณภาพบริษัทผู้ผลิต หรือ หน่วยงานที่กรมโรงงานฯเห็นชอบ (หลักฐานอายุไม่เกิน 6 เดือน)
2)การนำเข้าเพื่อซ่อมแซมหรือปรับปรุง แบ่งเป็น 2 กรณีคือ กรณีที่หนึ่ง การนำเครื่องส่งออกไปซ่อมแซมหรือปรับปรุงแล้วนำกลับเข้ามาในประเทศใหม่ จะต้องมีสำเนาใบสุทธิการนำเข้า หรือ ส่งออกจากกรมศุลกากรเพื่อพิจารณาออกใบอนุญาตให้นำเข้าได้ กับกรณีที่สอง การนำเข้าเครื่องมาซ่อมแซมหรือปรับปรุง จะต้องยื่นหนังสือรับรองต่อกรมโรงงานฯว่า เครื่องที่ซ่อมแซมแล้วรวมถึงชิ้นส่วนที่ชำรุดจะต้องส่งกลับไป
3)การนำเข้าเพื่อดัดแปลงหรือปรับปรุงให้งาน ได้ตามปกติ จะต้องเป็นการกระทำที่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจและต้องได้รับความยินยอมจากประเทศต้นทางในการรับของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิตกลับคืนไปด้วย และ 4)นำเข้าเพื่อการคัดแยกหรือแปรสภาพ ต้องมีการกระทำที่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ โดยผู้นำเข้าจะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานลำดับที่ 105 กับ 106 ซึ่งการนำเข้าจะต้องมาจากประเทศที่เป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายและการกำจัดของเสียอันตรายข้ามแดน (basel convention)และได้รับความยินยอมจากประเทศต้นทางในการรับของเสียที่เกิดจากระบวนการผลิตกลับคืนไป

"มาตรการที่กำหนดขึ้นมานี้จะเป็นการควบคุมไม่ให้มีนำเข้าเครื่องไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็ก ทรอนิกส์ที่หมดสภาพแล้วมาทิ้งในประเทศไทย ซึ่งเราไม่สามารถที่จะกีดกันหรือยกเลิกการนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามือสองทั้งหมดได้ เนื่องจากของบางอย่างประเทศเรายังไม่สามารถที่จะผลิตได้เอง" นายเรืองศักดิ์ งามสมภาค อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมกล่าว

ด้านนายสุนทร แก้วสว่าง นิติกร 5 ประจำกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวถึงบทลงโทษกรณีที่มีการละเมิดกฎหมายที่ระบุไว้ว่า หากผู้นำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แล้วเข้ามาภายในประเทศ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานฯ หากมีการตรวจพบเจอจะต้องระวางโทษมาตรา 23 ของ พ...วัตถุอันตราย พ.. 2535 คือ จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หรือในกรณีที่ได้นำเข้ามาถูกต้อง แต่เมื่อตรวจสอบพบว่าสภาพในการนำเข้าไม่เป็นตามคำขออนุญาตก็จะได้รับโทษตามมาตรา 82 คือ จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากบทลงโทษของกรมโรงงานฯแล้ว ผู้นำเข้าที่กระทำผิดอาจจะได้รับโทษหนักตามประกาศของกรมศุลกากรที่ 78/2546 เกี่ยวกับการขยายความผิดครอบคลุมถึงการหลีกเลี่ยงภาษี โดยสำแดงสินค้าต่ำกว่าต้นทุนตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป ระบุให้เป็นความผิดมูลฐาน ที่ต้องส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (...) ซึ่งถึงตอนนั้นผู้กระทำผิดก็อาจจะถูกยึดทรัพย์ได้

นายธีรพัฒน์ บำรุงญาติ ผู้จัดการ บริษัท เซน อินเตอร์เทรด แอนด์ เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำเข้าและจำหน่ายเครื่องถ่ายเอกสารใช้แล้วกล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า มาตรการที่ออกมานี้ในช่วงแรก (เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2546) จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินการมาก เพราะการ นำเข้าต้องผ่านกระบวนการมากขึ้นใช้เวลาถึง 3 เดือนกว่าจะนำเข้าสินค้ามาได้ โดยเฉพาะในเรื่องของการออกใบรับรองเกี่ยวกับสินค้าจากผู้ผลิต ซึ่งไม่สามารถทำได้เลย เนื่องจากผู้ผลิตมีความต้อง การจะขายสินค้าใหม่ให้มากกว่าจะขายสินค้า ที่ใช้แล้ว "การที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้กำหนดว่า การนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามือสองจะต้องใบรับรองจากผู้ผลิตนั้น ในทางปฏิบัติเป็นไปได้ยากมาก แต่ที่ทำได้ก็ขอให้มีการผ่อนปรน โดยใช้หลักฐานการรับรองจากคู่ค้าหรือผู้จำหน่ายให้กับเราได้ โดยไม่จำเป็นต้องออกจากผู้ผลิตหรือใช้หลักฐานจาก ใบโฆษณาสินค้าแต่ละรุ่น ซึ่งก็จะมีการบอก ถึงคุณสมบัติและอายุการใช้งานอยู่แล้ว" นายธีรพัฒน์กล่าว

 

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 1 มีนาคม 2547

 
Home | About us | INET | ITE| PTEC | MTS | NTJ | Software Park
National Electronics and Computer Technology Center (NECTEC)
Copyright ©2001 By Information System Service Section. All rights reserved.