"ซิปป้า" อัดฉีดทุนนักพัฒนา 400 ล. โฟกัส "เอสเอ็มอี-แอนิเมชั่น-มือถือ"
"
"ซิปป้า" เดินหน้าแผนยุทธศาสตร์พัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย
มั่นใจ 5 ปีดันตลาดโต 7-10 เท่า อัดฉีดทุนสนับสนุนนักพัฒนาซอฟต์แวร์ใน
3 กลุ่มเป้าหมายหลักคือ ซอฟต์แวร์เอสเอ็มอี-แอนิเมชั่น และซอฟต์แวร์มือถือ ชูนโยบายปั้นโครงการสร้างอำนาจต่อรองลดราคาซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์
นายมนู
อรดีดลเชษฐ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติหรือ ซิปป้า เปิดเผยว่ากรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ระยะยาว
จะเน้นทางด้านการพัฒนาบุคลากรด้านซอฟต์แวร์ รวมทั้งการสนับสนุนด้านอุปกรณ์และรูปแบบในการพัฒนา
รวมถึงจะช่วยเป็นตัวกลางเจรจาต่อรองราคากับเจ้าของลิขสิทธิ์ เพื่อเพิ่มอำนาจการซื้อของผู้ประกอบการในประเทศ
รวมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้ซอฟต์แวร์ไทยมากขึ้น โดยวางเป้าหมายว่าจะพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์
แวร์ไทยให้เติบโตประมาณ 7-10
เท่าภายในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า "ในเรื่องของการเจรจาต่อด้านราคานั้น ซิปป้าและกระทรวงไอซีทีจะเข้ามาช่วยในการจัดโครงการภาครัฐเพื่อกระตุ้นให้มีการใช้งานในเชิงวอลุ่มภายใต้เงื่อนไขที่ดีต่อผู้ประกอบการไทย
โดยที่เจ้าของลิขสิทธิ์ได้มีโอกาสขยายฐานลูกค้า ถือว่าเป็นกล ยุทธ์ที่วิน-วินทั้ง 2 ฝ่าย
และเกิดประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมซอฟต์แวร์โดยรวม อีกด้านหนึ่งก็เป็นการแก้ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์
และสนับสนุนให้มีการใช้ซอฟต์แวร์ที่ถูกกฎหมาย"
นายมนูกล่าวว่า เพื่อเป็นการสนับสนุนนักพัฒนา ให้มีศักยภาพความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศมากขึ้น
ซิปป้ามีโครงการลงทุนพัฒนา ซอฟต์แวร์พื้นฐานบนโอเพ่นซอร์ซ เพื่อเป็นฟรีซอฟต์ แวร์ให้ผู้พัฒนาเข้ามาใช้เพื่อการพัฒนาแอปพลิเคชั่นต่างๆ
เพื่อช่วยลดขั้นตอนในการพัฒนาทำให้สามารถต่อยอดการพัฒนาได้รวดเร็วขึ้น
"ซิปป้าได้รับการจัดสรรงบฯส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ 400 ล้านบาท โดยคัดเลือกโครงการที่มองว่าน่าจะมีโอกาสในทางธุรกิจ เพื่อเป็นทุนอุดหนุนในเบื้องต้นในสัดส่วนที่ไม่มาก
เพราะการที่มีหน่วยงานอย่างซิปป้าเข้าไปร่วมลงทุนเป็นการสร้างเครดิต และสร้างความน่าเชื่อถือกับโครงการ
ซึ่งก็จะเป็นตัวที่ดึงให้สถาบันการเงินพร้อมเข้ามาให้การสนับสนุนเงินกู้มากขึ้น รวมถึงกองทุนร่วมทุนต่างๆ"
ทั้งนี้ ในเบื้องต้นซิปป้าจะมุ่งการสนับสนุนเงินทุนกับนักพัฒนา 3 กลุ่มหลักคือ 1.โครงการซอฟต์แวร์สำหรับองค์กรธุรกิจเอสเอ็มอี
2.ซอฟต์แวร์แอนิเมชั่นและมัลติมีเดีย 3.แอปพลิเคชั่นซอฟต์แวร์บนมือถือ
นายมนูกล่าวว่า จากที่ได้ดำเนินงานในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมานั้นพบว่าปัญหาหลักของผู้ประกอบการจะคล้ายๆ
กันคือ ต้องการงบประมาณในการสนับสนุนหรือแหล่งเงินทุน แต่ซิปป้ามีงบประมาณจำกัด เนื่องจากได้จัดตั้งองค์กรภายหลังการจัดสรรงบประมาณประจำปี
2547 ดังนั้นต้องรองบประมาณในปี 2548
อีกครั้ง
ที่มา
: ประชาชาติธุรกิจ
ฉบับวันที่ 19 เมษายน 2547
|