ทิศทางไอที 2003

 

หากมองไอซีทีจากกระจกเงาแล้ว ก็จะมองเห็นหลายภาพ ในเวลาเดียวกัน บางภาพสะท้อนให้เห็นความชะลอตัว ความไม่แน่ใจ หนักเข้าถึงขั้นล้มละลายก็มี อย่างในกรณี ของหายนะของวงการดอทคอม บางภาพก็ยังเห็น ความแข็งแกร่ง ของวงการที่ยังเป็นโอกาส ในการประยุกต์ใช้ ในสาขาต่างๆ ดูอย่างงบประมาณ ที่จะลงไปกับ eGovernment ก็ได้ ไม่ว่าจะเห็นภาพใดในกระจกบานดังกล่าว คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะสรุปว่า ไอซีทีก็ยังเป็นพลัง สำคัญในการสร้างโลกาภิวัตน์ ในการสร้าง ประสิทธิภาพ และในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับสังคมและอุตสาหกรรม โดยมีผลข้างเคียงของไอซีทีตามมาติดๆ

 

ท่านผู้อ่านคงคุ้นเคยกับกลุ่มการ์ทเนอร์ที่เป็นบริษัทที่ปรึกษาระหว่างประเทศแห่งใหญ่ และมีความได้เปรียบบริษัทในระดับเดียวกัน สาเหตุใหญ่เนื่องมาจากการ ที่บริษัท มุ่งเน้นเฉพาะไอซีทีเท่านั้น เลยได้ใช้สติปัญญาและทรัพยากรลงในจุดๆ เดียว คุณบ๊อบ เฮย์เวิร์ด เป็นผู้บริหารระดับสูงของบริษัทดังกล่าว ได้มาให้ความรู้กับคนไทย เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เป็นการบรรยาย ที่เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ หรือที่เรารู้จัก มักคุ้นกันในนาม "ซอฟต์แวร์พาร์ค" ในหลายหัวข้อด้วยกัน และที่จะนำมาถ่ายทอด เป็นอาหารสมอง ในฉบับนี้เป็นสาระในเรื่องแนวโน้มของเทคโนโลยีไอซีที ซึ่งมีหลายประเด็นที่มีความน่าสนใจเป็นพิเศษ

 

ในภาพใหญ่ของทิศทางเทคโนโลยีพอจะจับความได้ว่า จะมีการเคลื่อนย้ายใน 3 ยุค 3 ลักษณะ คือจากปัจจุบัน ที่เราใช้ประโยชน์ จากไอซีทีโดยพลังของ "ซิลิคอน" หรือภาษาชาวบ้านคือ "ทราย" นั่นเอง ซิลิคอนนี้เป็นที่มาของการพัฒนาไดโอด ทรานซิสเตอร์ ตลอดจนไอซีหรือวงจรรวมที่เราใช้ในการประกอบสมองกล ของคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ ประมวลผลข้อมูลนั่นเอง พลังของซิลิคอน มาจากความสามารถของระบบ "ฐานสอง" ที่มีเพียงสองสถานะ คือ 0 กับ 1 หรือตัวอย่างง่ายๆ ก็คือเหมือนกับการเปิด-ปิดสวิทช์ไฟที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้นั่นเอง

 

แต่ในยุคต่อไปในความเห็นของการ์ทเนอร์นั้น ยุคซิลิคอนจะตกผลึก ตกเวทีไปเป็นยุคใหม่เรียกว่า ยุค "นาโน" และ ยุค "ควอนตัม" เพราะในอนาคตของเหล่านี้จะเล็กลง เล็กจนไม่น่าเชื่อ ขนาดเศษหนึ่งส่วนร้อย ของความหนาของเส้นผมของเรา แต่พลังเท่าคอมพิวเตอร์ หรือมากกว่า ลองจินตนาการว่าสมองกลขนาดเล็กเหล่านี้จะประยุกต์ใช้อะไรได้บ้าง คำตอบคือกว้างขวาง ใหญ่โต ตั้งแต่การส่งอุปกรณ์จิ๋วขนาดนาโนเข้าไป "ระเบิด" เจ้าวายร้ายคอเลสเตอรอล ที่เกาะกินผนังหลอดเลือดหัวใจของมนุษย์เรา ไปจนถึงการฝังนาโนเข้าไปใน เครื่องอุปโภคบริโภคจนทุกอย่างออโตเมติกไปหมด ไม่ต่างอะไรกับนิยายวิทยาศาสตร์ ที่เราหัวเราะชอบใจในจินตนาการ ที่ยิ่งไปกว่านั้นคือเทคโนโลยีที่เรียกว่า Quantum Computing ที่จะมีพลังมากกว่าระบบฐานสองทวีคูณ เพราะสามารถสร้างจำนวน "สถานะ" ได้มากกว่าเลขฐานสองอีกหลายเท่าตัว เช่น สถานะ "00" ไปจนถึงสถานะ "11" นั่นเอง

 

แต่ในสามทศวรรษที่จะถึงนี้ เป้าใหญ่ปลายทางจะไปรวมกันที่ "ยุคแห่งความรู้" หรือ Knowledge Age นั่นเอง เพราะศูนย์รวมของความเจริญ จะไม่ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยี เป็นหลัก แต่จะขึ้นอยู่กับการเอาเทคโนโลยีไปรับใช้ "ปัญญา" หรือ "ความรู้" มากกว่า

 

มองจากมุมของอุปกรณ์ไอซีที การที่สังคมจะเคลื่อนย้ายจากซิลิคอน ไปนาโน ไปควอนตัม และไปยุคความรู้ท้ายที่สุดนั้น จะเป็นการเคลื่อนย้ายจากคอมพิวเตอร์เมนเฟรม เมื่อสามสิบปีก่อน ไปยังพีซีเมื่อสิบยี่สิบปีก่อน ไปยังการเชื่อมต่อในระบบกายภาพ (Physical Connectivity) เลยไปยังการเชื่อมต่อในระบบไร้สาย (Logical Connectivity) และท้ายที่สุดไปยังการเชื่อมต่อในระบบฝังตัว (Embedded Connectivity)

 

กฎของมัวร์ (Moore's Law) ที่ว่าคอมพิวเตอร์จะเพิ่มพลังเป็นสองเท่าทุกๆ 18 เดือน กำลังจะกลายเป็นทฤษฎีที่ล้าสมัย เพราะคอมพิวเตอร์ในอนาคต ยังไม่มีทีท่าว่าจะมีข้อจำกัด นับตั้งแต่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ซึ่งมีพลังมากพอที่จะคำนวณแผ่นดินไหวได้ ดังที่ตั้งอยู่ที่บริษัทเอ็นอีซีที่ญี่ปุ่น ที่เรียกว่าเครื่อง Earth Simulator ที่นับได้ว่า เป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์ เครื่องที่มีพลังสูงที่สุดของโลก ยังมีระบบคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า Grid Computing ที่เป็นการ "ขอใช้" พลังคอมพิวเตอร์ เหลือใช้ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วโลก ก็เป็นอีกมิติหนึ่งที่ทำให้เกิด ระบบคอมพิวเตอร์ ขนาดยักษ์ ปัจจุบันมีระบบดังกล่าวเกิดขึ้นแล้ว แต่ละวันมีคน เข้าระบบเพื่อให้ยืมใช้พลัง เหลือใช้คอมพิวเตอร์ที่บ้านที่ทำงานของตัวเองวันละ 3 ล้านเครื่อง ! ที่ยังจะทุ่มทุนสร้างกันอีกมหาศาล คือระบบการรักษาความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์ อย่างที่รู้กันอยู่ถึงปัญหาระหว่างประเทศที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ ดังนั้นการลงทุนในการทำลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ก็ดี ระบบการตรวจสอบความเป็นจริง ของคนด้วยชีวมาตร (Biometrics) ก็ดี ตลอดจนสิ่งใหม่ๆ เช่นการเข้ารหัสในระบบควอนตัม (Quantum Encryption)

 

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ  (กรุงเทพไอที) ฉบับวันที่ 23 มกราคม 2546

 
Home | About us | INET | ITE| PTEC | MTS | NTJ | Software Park
National Electronics and Computer Technology Center (NECTEC)
Copyright ©2001 By Information System Service Section. All rights reserved.