ไอซีทีตั้งกก.ยุทธศาสตร์บีพีโอ หนุนเอาท์ซอร์ส

ไอซีที หนุนอุตสาหกรรม บีพีโอ รุกตั้งกรรมการวางยุทธศาสตร์แห่งชาติ หวังมีชื่อติดกลุ่มรับงานเอาท์ซอร์สระดับโลก ทั้งเตรียมเสนอ ครม. จัดตั้งองค์การมหาชน สนับสนุนงานด้านไอซีทีเต็มที่ ไม่สนเนคเทค ภายใน 1 เดือน

..สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า ขณะนี้กระทรวง ได้จัดตั้งคณะกรรมการ ยุทธศาสตร์บีพีโอแห่งชาติ (Business Process Outsourcings) ขึ้น มี รมว.ไอซีที เป็นประธาน ร่วมด้วยตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆ เช่น บีโอไอ ภาคเอกชนด้านไอที และโทรคมนาคม เช่น บมจ.เทเลคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่น เพื่อวางแผนยุทธศาสตร์ของอุตสาหกรรมด้านนี้ของไทยให้เติบโต และเป็นที่รู้จักต่อบริษัท ที่ต้องการเอาท์ซอร์สงานต่างๆ จากทั่วโลกมาให้

โดยคณะกรรมการจะร่วมกำหนดยุทธศาสตร์
4 ด้าน ได้แก่

1.ด้านเครือข่าย มีนายไกรสร พรสุธี รองปลัดกระทรวงไอซีที เป็นผู้เจรจากับ บมจ.กสท โทรคมนาคม และ บมจ. ทศท คอร์ปอเรชั่น ดำเนินการให้โครงข่ายมีคุณภาพดี และราคาแข่งขันกันได้กับประเทศคู่แข่ง เช่น อินเดียที่ครองตลาดกว่า 50%, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, ฮ่องกง และสิงคโปร์

2.การพัฒนาคน มีนายมนู อรดีดลเชษฐ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (ซิป้า) เจรจากับเอกชน พัฒนาบุคลากรให้มีทักษะรองรับงานคอลล์เซ็นเตอร์

3.สิทธิประโยชน์ทางภาษี ทั้งนิติบุคคล บุคคลธรรมดา การให้วีซ่าผู้เชี่ยวชาญ เป็นความรับผิดชอบของบีโอไอ ร่วมกับกระทรวงแรงงาน เสนอแนวทางให้สิทธิประโยชน์ที่ดีอย่างน้อยเท่ากับประเทศคู่แข่ง

4.การทำประชาสัมพันธ์และการตลาด ให้เป็นที่รู้จักของบริษัทต่างๆ ทั่วโลก ทั้งนี้ คณะกรรมการจะต้องส่งรายละเอียดแนวทางต่างๆ กลับมาภายในสิ้นเดือน ก..นี้

 

นอกจากนี้ ไอซีทีเตรียมนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) จัดตั้งองค์การมหาชนอีก 1 แห่ง ภายใน 1 เดือน เพื่อส่งเสริมงานไอซีทีทั้งระบบ ทั้งเชิงนโยบาย และกฎหมาย แต่ยังไม่ตั้งชื่ออย่างเป็นทางการ โดยขณะนี้งานไอซีทีที่ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) เคยรับผิดชอบ ได้โอนมายังไอซีทีแล้ว ต่อไปเนคเทคจะได้รับงบประมาณเฉพาะงานด้านวิจัยเท่านั้น และรับผิดชอบบุคลากรทั้งหมดที่ไม่โอนย้ายด้วย

 

ขณะเดียวกัน กระทรวงไอซีทีได้จัดตั้งศูนย์กลางความรู้แห่งชาติ เพื่อให้ผู้สนใจโดยเฉพาะเยาวชนเข้าค้นหาความรู้ โดยลงทะเบียนที่ www.tkc.go.th ซึ่งเนื้อหาความรู้ได้รับบริจาคจากผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ 13 ด้าน แบ่งเป็นหมวดหมู่ เช่น การศึกษา การเงิน และเชื่อมโยงไปยังเวบที่มีประโยชน์ด้านต่างๆ ทั่วโลกกว่า 12,000 เวบ ปีแรกตั้งเป้าผู้สนใจเข้าหาข้อมูล 1,000,000 คน และมีผู้เชี่ยวชาญร่วมสนับสนุนเนื้อหากว่า 100 คน

 

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2547

 
Home | About us | INET | ITE| PTEC | MTS | NTJ | Software Park
National Electronics and Computer Technology Center (NECTEC)
Copyright ©2001 By Information System Service Section. All rights reserved.