3 จี เชิงพาณิชย์ : การตลาด
ความผิดพลาดในการลงทุนของฟรานซ์เทเลคอม
ส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับ 3จี ที่ทำให้ประสบกับความยุ่งยากทางการเงิน มีหนี้สูงถึง 70,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และยังมีผลกระทบไปยังบริษัทในเครือ ณ ประเทศเยอรมนีคือ
โมบิลคอม ที่อาจล้มละลาย ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาลเยอรมัน
ทำให้หลายท่านมองว่าอนาคตของ 3จี คงจะมืดมน
อย่างไรก็ตาม
ถ้าพิจารณาถึงคุณลักษณะที่จะให้ประโยชน์กับผู้ใช้แล้ว 3จี น่าจะมีอนาคตที่ดี
และจากบทเรียนของบริษัทโทรคมนาคมในยุโรปกำลังประสบปัญหาในขณะนี้นั้น ส่วนสำคัญส่วนหนึ่งมาจากนโยบาย
ของภาครัฐ คือ การประมูลสัมปทาน ที่ภาครัฐจะให้สัมปทานกับผู้ประมูลที่ให้ผลประโยชน์
แก่รัฐสูงสุด โดยยึดถือหลักที่ว่า ผู้เข้าประมูลจะต้องรู้จักตนเอง รู้จักตลาดดีเพียงพอและสามารถทำให้ประสบความสำเร็จได้
แต่ถ้าหากภาครัฐจะกำหนดเพดานไว้ เช่น ฮ่องกง จะถูกกล่าวหาว่ามีส่วนได้เสียกับผู้ประกอบการ
นอกจากนั้นแล้ว การให้สัมปทานจากภาครัฐ จะต้องดูนโยบายด้านอื่น ที่สำคัญ และจะมีผลกระทบโดยตรงต่อการ
ดำเนินการทางการตลาด ได้แก่ การยินยอมให้ผู้ได้รับสัมปทาน
ให้บริการทุกด้านตามที่เทคโนโลยี 3จีจะให้ได้ ที่แน่นอนจะต้องไปคาบเกี่ยวกับธุรกิจโทรคมนาคมอย่างอื่นบ้าง
หรือจะให้บริการได้เพียงบางอย่าง และที่สำคัญคือ จะให้สัมปทานจำนวนกี่ราย ที่จะมีผลกระทบโดยตรงต่อการแข่งขัน
การวิเคราะห์ทางการตลาดการให้บริการ 3จี จะแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็นห้าส่วนที่ทุกส่วนมีความสัมพันธ์กัน
1.ในกรณีที่ผู้ให้บริการรายเดิมได้รับสัมปทาน
ก็เพื่อจะนำ 3 จีมายืด หรือต่ออายุธุรกิจการให้บริการ
กับฐานลูกค้ารายเดิม ที่เมื่อฐานลูกค้าขยายตัวเต็มที่
การสร้างความเจริญเติบโตของธุรกิจ จะต้องมาจากให้ลูกค้ารายเดิม
ใช้บริการมากขึ้นและนานขึ้น รายได้จากการขายเวลาจะสูงตามขึ้นไปด้วย
2.ในกรณีที่มีผู้ให้บริการรายใหม่เข้ามา ผู้ให้บริการรายใหม่จะต้องแย่งลูกค้าจากผู้ให้บริการรายเดิมอยู่ก่อน
เนื่องจาก 3จี ไม่ใช่เป็นเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรม เป็นเพียงเทคโนโลยีเสริมให้เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ดียิ่งขึ้น
ผู้ให้บริการรายเดิมจะต้องต่อสู้เพื่อรักษาฐานลูกค้าเอาไว้ให้ได้
ด้วยวิธีการแรกคือ ต้องได้สัมปทานมา แบบทุ่มสุดตัว (at any cost) เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นทั่วโลก
3. ผู้ให้บริการเสริมทั้งฮาร์ดแวร์
และซอฟต์แวร์ มีความสำคัญในการดำเนินการให้บริการ ส่วนที่ยังน่าเป็นห่วงในขณะนี้
สำหรับประเทศไทย คือการพัฒนาซอฟต์แวร์ต่างๆ
โดยเฉพาะในส่วนบริการที่ต้องใช้พื้นฐานภาษาไทย
4. ด้านผู้ใช้หรือผู้บริโภค
ในเชิงจิตวิทยา ความต้องการที่จะใช้อุปกรณ์โทรคมนาคมเคลื่อนที่มีอยู่มากอย่างแน่นอน
เพียงแต่จะต้องนำมาเปรียบเทียบกับความสามารถในเชิงเศรษฐศาสตร์ ว่า จะมีความสามารถในการซื้ออุปกรณ์
และใช้บริการได้หรือไม่ และความยุ่งยากของผู้ให้บริการในยุโรป ได้ยกข้อนี้ขึ้นมากล่าวอ้างถึงความล้มเหลวว่าค่าใช้จ่าย
ของผู้ใช้เป็นตัวกีดขวางการยอมรับบริการ 3จี
5. มีภาวะแวดล้อม
ทั้งระดับอุตสาหกรรมและระดับโลก ทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และความมั่นคง จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้ที่
จะให้บริการ 3จี จะต้องนำมาพิจารณาอย่างรอบคอบ
แนวทางการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด 3จี
ต้องพิจารณาถึงส่วนที่สำคัญดังนี้ ก่อนจะนำไปกำหนดเป็นกลยุทธ์ทางการตลาด
เฉพาะของผู้ให้บริการแต่ละรายต่อไป
ก. ค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ 3จี ที่ผู้ใช้ต้องจ่าย หรืออีกนัยหนึ่งคือ การกำหนดราคาของผู้ให้บริการ
ซึ่งถ้ามีต้นทุนตายตัวจากสัมปทานจากการลงทุนและอื่นๆ ฯลฯ สูง
ผู้ใช้บริการจะเป็นผู้แบกรับเท่ากับเป็นการเสียภาษี ทางอ้อมอีกแบบหนึ่ง ในระบบปัจจุบัน
ใช้นานจ่ายมาก แต่การใช้จำกัดอยู่เพียงการสนทนาเวลาที่ใช้จะไม่นานมากเท่ากับ การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
การค้นหาทางอินเทอร์เน็ต การส่งภาพพร้อมสนทนา ฯลฯ ในประเทศญี่ปุ่นผู้ให้
บริการไอโหมด ที่มีลักษณะการให้บริการคล้าย 3จี จะเรียกเก็บค่าบริการตามจำนวนครั้งที่ใช้
ไม่ได้คิดตามระยะเวลาที่ใช้
ข. ราคาของผลิตภัณฑ์ โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์เสริม สำหรับระบบ 3จีจะมีราคาสูงกว่า
2จี มากน้อยเท่าไร และกว่าจะนำ 3จี
มาใช้ ราคาโทรศัพท์ระบบ 2จี, 2.5จี
จะมีราคาถูกลงไปอีกมาก จะสร้างความยุ่งยากใจ ให้แก่ผู้ใช้ที่จะเปลี่ยนมาใช้บริการ 3จี
ค. ความสามารถในการกระจายการให้บริการ จะครอบคลุมได้เท่ากับระบบ 2 จี หรือไม่
และการเข้าไปใช้บริการ ในเครือข่ายอื่น (roaming) จะเป็นต้นทุนในการให้และรับบริการเช่นในปัจจุบันหรือไม่
ง. ความสามารถในการนำเสนอทางการตลาดของ
3จี ให้ตรงใจ กับความอยากความต้องการของผู้ใช้ปัจจุบันเพื่อให้หันมาใช้
3จี
ที่มา
: กรุงเทพธุรกิจ
(กรุงเทพไอที) ฉบับวันที่ 3 ตุลาคม 2545
|