NECTEC-ACE 2023 https://www.nectec.or.th/ace2023 งานประชุมวิชาการเนคเทค ประจำปี 2566 Tue, 19 Sep 2023 12:15:49 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.6.1 https://www.nectec.or.th/ace2023/wp-content/uploads/2023/06/cropped-logo-ace2023-512-32x32.png NECTEC-ACE 2023 https://www.nectec.or.th/ace2023 32 32 ประเมินความพึงพอใจ https://www.nectec.or.th/ace2023/evaluation/ Tue, 19 Sep 2023 10:22:30 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2023/?p=3121
]]>
พิธีเปิดและบรรยายพิเศษ NECTEC-ACE 2023 https://www.nectec.or.th/ace2023/hilight-opening/ Tue, 05 Sep 2023 09:38:29 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2023/?p=2778
Facebook
Twitter
LinkedIn

พิธีเปิดงานการประชุมวิชาการและนิทรรศการ
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ประจำปี 2565
(NECTEC Annual Conference & Exhibitions 2023: NECTEC-ACE 2023)
ณ โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท ชั้น 6
วันอังคารที่ 12 กันยายน 2566  เวลา 09.00 – 10.45 น.

08.30 น. แขกผู้มีเกียรติและสื่อมวลชนลงทะเบียนร่วมงาน

09.00 น.

  • นายวันชัย พนมชัย
    รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
    ประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
    ประธานในพิธีฯ เดินทางถึงสถานที่จัดงาน
  • ชมวีดิทัศน์เปิดงาน
  • ดร.ชัย  วุฒิวิวัฒน์ชัย
    ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
    กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน
  • ประธานพิธีกล่าวแสดงความยินดี ทำพิธีเปิดงาน และร่วมถ่ายภาพหมู่บนเวที 

การบรรยายพิเศษ

บรรยายพิเศษ เรื่อง “พลังข้อมูล เพื่อประเทศไทย เพื่อคนไทย: Data for Thai, Data for all”
โดย ดร.ชัย  วุฒิวิวัฒน์ชัย
ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

(ดาวน์โหลดเอกสาร)

บรรยายพิเศษ เรื่อง “AWS for Data and AI”
โดย ดร.ชมชนา ตรีวัย
Artificial Intelligence Machine Learning ASEAN 
บริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด

(ดาวน์โหลดเอกสาร)

]]>
AI for Thai : AI สัญชาติไทย ก้าวสำคัญสู่อุตสาหกรรม และการบริการต่างๆ ในประเทศไทย https://www.nectec.or.th/ace2023/ss13-aiforthai/ Fri, 11 Aug 2023 03:55:15 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2023/?p=2292

หัวข้อสัมมนา

Facebook
Twitter
LinkedIn

กำหนดการ

10.30 -12.00 น. เวทีนิทรรศการ บรรยายพิเศษ Thai AI Service

  • Super AI engineer โดย AIAT
  • Cira Core  โดย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL)
  • AI-OCR ระบบอัจฉริยะด้านการจัดการเอกสารการเงินและข้อมูล โดย บริษัท ZTRUS
  • AI as a Service, Data Consultancy, Text to Speech โดย BOTNOI CONSULTING
  • ถอดเสียง พูดเป็นข้อความ, สร้างเสียง พูดอัตโนมัติ, วิเคราะห์ภาษา และข้อความ (NLP and Text Analytics)  โดย บริษัท เอไอไนน์ จำกัด
  • Open Thai GPT โดย ดร.ปรัชญา บุญขวัญ NECTEC

13.00 -13.30 น. กล่าวเปิด ” Thai AI Service Platform”
โดย ดร.ชัย  วุฒิวิวัฒน์ชัย
ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

13.30 -14.30 น. เสวนา “ร่วมสร้าง National AI service platform”

  1. ดร.ชัย  วุฒิวิวัฒน์ชัย
    ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
  2. นายธีรวุฒิ ธงภักดิ์  
    สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  3. รศ.ดร.ศิริเดช บุญแสง 
    Cira-Core Thai AI Platform 
  4. ดร.พณชิต กิตติปัญญางาม
    บริษัท แอ็คโคเมท จำกัด (ZTRUS) 
  5. ดร.ชมชนา ตรีวัย 
    Amazon Web Services (AWS)  

ดำเนินการบรรยายโดย
ดร.กริช  นาสิงห์ขันธุ์
NECTEC

14.30- 15.00 น. เวทีนิทรรศการ บรรยายพิเศษ Thai AI Service

  • AIAET
  • AI-Image ช่วยวินิจฉัยโรค  โดย บริษัท เพอเซ็ปทรา จำกัด
  • บริษัท อินดิสทิงท์ จำกัด

15.00 -16.30 น. เสวนา “ก่อการสร้างคน AI”

  1. ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล
    รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 
  2. ดร.เทพชัย ทรัพย์นิธิ
    NECTEC และอุปนายกสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย
  3. ดร.อักฤทธิ์ สังข์เพ็ชร
    สถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AIEI)
  4. ดร.ทัดพงศ์ พงศ์ถาวรกมล
    Managing Director & Distinguished Visionary Architect, KBTG

ดำเนินการบรรยายโดย
คุณกัมพล เหล่าพงศ์สวัสดิ์
NECTEC

16.30 น. ปิดการเสวนา

]]>
มุมมองรอบด้าน 360 องศากับ PDPA : ประสบการณ์และกรณีศึกษา (A 360-degree look at PDPA: Experiences and Case Studies) https://www.nectec.or.th/ace2023/ss11-pdpa/ Fri, 11 Aug 2023 03:24:03 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2023/?p=2286

หัวข้อสัมมนา

Facebook
Twitter
LinkedIn

PDPA มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 ปัจจุบันผ่านไป 1 ปีกว่า แต่ละวงการต่างมีประสบการณ์และมุมมองที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับ PDPA มากมาย PDPA เป็นกฎหมายใหม่ที่ยังมีพื้นที่ในการเปลี่ยนแปลงและเติบโตไปกับสถานการณ์ของประเทศไทยพร้อมกัน ในการเสวนาครั้งนี้เราได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากหลายวงการมาพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ กรณีศึกษา และความคิดเห็นต่อ PDPA จากต่างมุมมอง เพื่อให้ท่านผู้ฟังได้เห็น PDPA แบบรอบด้านและเข้าใจ PDPA มากขึ้น

ประเด็นเสวนา

  • การใช้และการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลในแต่ละวงการก่อนมีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย
  • ประสบการณ์การเตรียมตัว และการดำเนินการให้สอดคล้องกับกฎหมาย
  • กรณีศึกษาที่น่าสนใจ
  • แนวโน้มการใช้และปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล และคำแนะนำปรับปรุงทุก ๆ ด้านที่เกี่ยวกับการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล
  • เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมีผลกระทบต่อข้อมูลส่วนบุคคลทั้งในปัจจุบันและอนาคต
  • หลักสูตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
SS-11

วิทยากร

  1. อาจารย์ปริญญา หอมเอนก
    ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอซิส โปรเฟสชั่นนัล เซ็นเตอร์ จำกัด
    ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไซเบอร์ตรอน จำกัด
    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ในคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกำกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  2. ผศ.นพ.ภาณุวัฒน์ ชุติวงศ์
    รองผู้อำนวยการฯ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
    โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
    (ดาวน์โหลดเอกสาร)
  3. คุณวชิราวัชร์ มหาทัพกฤษ
    กรรมการศูนย์ประสานงานด้านความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศ
    ภาคการธนาคาร (TB-CERT)
  4. ดร.สุนทรีย์ ส่งเสริม
    ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  5. ดร.ชาลี วรกุลพิพัฒน์
    นักวิจัยอาวุโส ทีมวิจัยความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (SEC)
    เนคเทค สวทช.
    (ผู้ดำเนินรายการ)
]]>
ประเทศไทยได้อะไรจากเทคโนโลยีข้อมูล (TPMAP & SME-GP) (What Has Thailand Gained from Data Technology?) https://www.nectec.or.th/ace2023/ss10-tpmap-smegp/ Fri, 11 Aug 2023 03:18:41 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2023/?p=2280

หัวข้อสัมมนา

Facebook
Twitter
LinkedIn

เนคเทค สวทช. ร่วมกับพันธมิตรในการเชื่อมโยงและพัฒนากลไกเครื่องมือในการนำข้อมูลไปสู่การใช้ประโยชน์จริง เพื่อนำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชนผ่านหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่โดยตรงเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จริง และเพื่อสนับสนุนความมั่นคงยั่งยืนของการบริหารประเทศจากการใช้ประโยชน์ข้อมูล โดยตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ 1) ระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า Thai People Map and Analytics Platform (TPMAP) ที่ใช้งานจริงในการแก้ปัญหาความยากจนผ่านกลไกการแก้ปัญหาความยากจนของ ศจพ. ทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยส่วนราชการในพื้นที่สามารถแบ่งปันข้อมูลกันแบบลงลึกถึงระดับครัวเรือนและรายคน ผู้บริหารสามารถติดตามความก้าวหน้าได้ ทำให้เกิดการบูรณาการกับหน่วยงานภาคีต่างๆ ในการให้ความช่วยเหลือครัวเรือนเป้าหมายโดยมีตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม 2) ระบบขึ้นทะเบียน SME เพื่อการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (SME-GP) ได้รับการผลักดันโดย สสว. ให้ผู้ประกอบการลงทะเบียนเพื่อสนับสนุนให้ SME เข้าถึงตลาดจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐมากขึ้น และหน่วยงานรัฐอื่นๆ แบ่งปันข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการที่เป็นปัจจุบันและมีมิติหลากหลายมากขึ้น เช่น ข้อมูลทะเบียนพาณิชย์และงบการเงินจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ข้อมูลช่วงรายได้จากกรมสรรพากร และข้อมูล Made in Thailand จากสภาอุตสาหกรรม รวมทั้งข้อมูล SME ที่ผ่านการกลั่นกรองอย่างละเอียด ทำให้เกิดความร่วมมือกับสถาบันการเงิน 8 แห่ง ในการสนับสนุนเงินทุนให้ SME เพื่อการเป็นคู่ค้ากับภาครัฐอีกด้วย 

การสัมมนานี้ นำเสนอมุมมองของภาครัฐที่มีโจทย์ท้าทายคือ การทำให้ระบบมีการใช้งานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยมีระบบนิเวศที่มีผู้ใช้งานจริง เกิดการไหลของข้อมูลใหม่ ๆ เข้าสู่ระบบอย่างสม่ำเสมอ และนำเสนอประสบการณ์การพัฒนาระบบ โดยทีมวิจัยเนคเทค สวทช. เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีการนำไปใช้แก้ปัญหาของประเทศได้จริง มีผู้ได้รับประโยชน์ในวงกว้าง ครอบคลุม ทั่วถึง และแม่นยำตรงกลุ่มเป้าหมาย

วิทยากร

  1. ดร.วันฉัตร สุวรรณกิตติ
    รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
    (ดาวน์โหลดเอกสาร)
  2. คุณวรพจน์ ประสานพานิช
    ผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนองค์ความรู้และระบบให้บริการ SMEs
    สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
  3. ดร.อานนท์ แปลงประสพโชค
    นักวิจัยอาวุโส หัวหน้าทีมพัฒนาระบบ TPMAP
    เนคเทค สวทช.
    (ดาวน์โหลดเอกสาร)
  4. คุณปรเมษฐ์ ธันวานนท์
    ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส หัวหน้าโครงการ SME-GP
    เนคเทค สวทช.
    (ดาวน์โหลดเอกสาร)

ดำเนินรายการโดย

ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร
กรรมการและรักษาการผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะและการพัฒนา
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

]]>
ยกระดับมาตรฐานข้อมูลสุขภาพคนไทยสู่สากลด้วยเอกสารรับรองการได้รับวัคซีนเพื่อการเดินทางระหว่างประเทศ (Advancing Thailand’s Digital Healthcare Transformation in the age of COVID-19) https://www.nectec.or.th/ace2023/ss9-intervac/ Fri, 11 Aug 2023 03:03:43 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2023/?p=2271

หัวข้อสัมมนา

Facebook
Twitter
LinkedIn

ในช่วงปี 2563 การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้การเดินทางระหว่างประเทศต้องหยุดชะงักเพื่อลดการแพร่กระจายของโรคไปยังประเทศต่างๆ แต่การปิดประเทศเป็นระยะเวลานานทำให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจ การศึกษา และด้านอื่นๆ อีกมากมาย ดังนั้นหลายประเทศจึงมีเริ่มเปิดประเทศให้นักเดินทางไปมาหาสู่กันได้ เอกสารรับรองการได้รับวัคซีนป้องกันโควิดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้นักเดินทางสามารถเดินทางได้อย่างปลอดภัยยิ่งขึ้น 

สำหรับประเทศไทยกรมควบคุมโรคร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติได้พัฒนาระบบออกเอกสารรับรองฯ ที่ใช้มาตรฐานสากลในการออกเอกสารรับรองการได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ และไทยยังเป็นผู้นำในระดับโลกที่ริเริ่มการใช้เอกสารรับรองฯ ป้องกันโรคเพื่อการเดินทางอื่นๆ ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์อีกด้วย 

ในการเสวนาครั้งนี้เราได้เชิญคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์เพื่อการเดินทาง คุณหมอผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลสุขภาพ ผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล และผู้เชี่ยวชาญด้านการประมวลผลและเข้าใจภาพ มาพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์กรณีศึกษาและบทเรียนที่ได้รับจากการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อยกระดับมาตรฐานข้อมูลสุขภาพคนไทย

วิทยากร

  1. คุณศรินทร์ วัชรบุศราคำ
    นักวิจัยกลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์
    เนคเทค สวทช.
    → (ดาวน์โหลดเอกสาร)
  2. พญ.ปริณดา วัฒนศรี
    รองผู้อำนวยการ สถาบันเวชศาสตร์ป้องกันศึกษา
    กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
    → (ดาวน์โหลดเอกสาร)
  3. ดร.นพ.ศุภฤกษ์ ถวิลลาภ
    หัวหน้ากลุ่มสารสนเทศทางระบาดวิทยา (EIU)
    นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ กองระบาดวิทยา
    กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  4. ดร.อาศิส อัญญะโพธิ์
    ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล​
    → (ดาวน์โหลดเอกสาร)
  5. ดร.สุนทร ศิระไพศาล
    หัวหน้าทีมวิจัยความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (SEC)
    เนคเทค สวทช.
    (ผู้ดำเนินรายการ)
]]>
การป้องกัน รับมือ และ แก้ไข ภัยคุกคามไซเบอร์สำหรับธุรกิจและประชาชนทั่วไปในชีวิตประจำวัน (Unmasking the Top 3 Global Menaces: Confronting Today’s Most Pervasive Threats) https://www.nectec.or.th/ace2023/ss8-privacy-data-security/ Fri, 11 Aug 2023 02:40:48 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2023/?p=2262

หัวข้อสัมมนา

Facebook
Twitter
LinkedIn

ในโลกปัจจุบัน ไม่ว่าจะอยู่ในแวดวงธุรกิจ มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง หรือมีวิถีชีวิตปกติทั่วๆไป การติดต่อสื่อสารในโลกดิจิทัลเข้ามาเป็นส่วนสำคัญที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกรรมออนไลน์ การเรียกใช้บริการรถสาธารณะ รวมไปถึงการใช้งาน TikTok เพื่อความบันเทิง หรือแม้กระทั่งการติดต่อทางธุรกิจระหว่างเพื่อนร่วมงาน ประชุมออนไลน์ การเชื่อมต่อมีแต่จะเพิ่มขึ้นทุกวันทำอย่างไรเราจะหลีกเลี่ยงและรับมือกับภัยคุกคามจากโลกดิจิทัลได้อย่างทันท่วงที 

การสัมมนาใน Session นี้ วิทยากรจะพาท่านเจาะลึก 3 กลลวงการโจรกรรมข้อมูล, การขโมย Password, Data Corruption เพื่อเรียนรู้และเป็นแนวทางป้องกันตนเองและองค์กรให้ปลอดภัยจากภัยคุกคามทางไซเบอร์

วิทยากร

Dr.h.c Charles Singh
Regional Director
EC-Council

**ไม่ประสงค์เผยแพร่เอกสาร**

]]>
การใช้ข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ สำหรับการเงินในชีวิตประจำวัน (Data and AI in Everyday Finance) https://www.nectec.or.th/ace2023/ss7-data-ai-finance/ Fri, 11 Aug 2023 02:38:57 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2023/?p=2345

หัวข้อสัมมนา

Facebook
Twitter
LinkedIn

ในโลกปัจจุบัน ข้อมูลเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตประจำวัน เราใช้ข้อมูลในการวางแผนตัดสินใจซื้อสินค้า เลือกสถานที่ท่องเที่ยว หรือเลือกใช้บริการในด้านต่าง ๆ นอกจากข้อมูลแล้ว เรายังมีเครื่องมือ เช่น AI หรือปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ทรงพลัง ที่ให้ข้อมูลเพื่อช่วยในการตัดสินใจ ในเรื่องต่าง ๆ ให้การวางแผนการใช้ชีวิตได้ดีขึ้น หากเลือกใช้เครื่องมือเหล่านี้อย่างเหมาะสม 

ในบริบทการตัดสินใจทางด้านการเงิน เราสามารถหาข้อมูลมาใช้ตัดสินใจเอง หรือ ใช้ AI ช่วยตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ได้ แต่ดูเหมือนวิธีการที่เราเลือกใช้ได้นั้นจะมีเต็มไปหมด คำถามที่น่าสนใจคือ “จะมีวิธีการใดไหม ที่ทำให้เราใช้ ข้อมูล และ AI อย่างชาญฉลาดและเหมาะสม เพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเงินของเรา” เช่น มีเงินพอเกษียณ หรือบริหารค่าใช้จ่ายอย่างประหยัด แม้แต่การเลือกแผนการลงทุน 

ในการสัมมนาครั้งนี้ เราจะมาพูดคุยกัน แลกเปลี่ยนแนวคิด ถกปัญหา และนำเสนอวิธีการต่าง ๆ ของการใช้ข้อมูล และเครื่องมือแบบ AI เพื่อให้บรรลุผลทางการเงินที่เราอยากได้ในชีวิตประจำวัน โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้ข้อมูล และ AI ด้านการเงินจาก KBTG เพื่อให้ได้แนวทางการใช้ข้อมูล และ AI อย่างมีชั้นเชิงสำหรับบุคคลทั่วไป ในการวางแผนและตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ด้านการเงิน

วิทยากร

  1. ดร.มนต์ชัย เลิศสุทธิวงค์
    ผู้อำนวยการด้านการวิจัยและพัฒนาปัญญาประดิษฐ์
    Principal Research Engineer, AI and Research, KBTG Labs
    (ดาวน์โหลดเอกสาร)
  2. ดร. กีรติ เทอดนิธิ
    Senior Data Scientist, KBTG Labs
    (ดาวน์โหลดเอกสาร)
  3. ดร.ชัยณรงค์ อมรบัญชรเวช
    นักวิจัย กลุ่มวิจัยวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์
    เนคเทค สวทช (ผู้ดำเนินรายการ)
]]>
เพิ่มทักษะด้านข้อมูล เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน “Data-Driven Reskilling: Data to Enhance Work Productivity” https://www.nectec.or.th/ace2023/ss6-data-driven-reskilling/ Fri, 11 Aug 2023 02:35:20 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2023/?p=2254

หัวข้อสัมมนา

Facebook
Twitter
LinkedIn

เป็นที่ยอมรับกันว่าข้อมูล (data) สามารถช่วยปรับปรุงคุณภาพการให้บริการกับผู้ใช้ และช่วยขับเคลื่อนการตัดสินใจที่ดีขึ้นขององค์กร แนวทางการรวบรวม การจัดการ และการใช้ประโยชน์จากข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการสร้างทักษะด้านข้อมูลให้กับผู้ปฏิบัติงาน จึงเป็นสิ่งที่องค์กรควรตระหนักและให้ความสำคัญ ทั้งในด้านวิธีการและเครื่องมือ แนวปฏิบัติ ความท้าทาย และข้อควรตระหนักต่างๆ เพื่อให้ข้อมูลสามารถช่วยให้องค์กรเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของงานได้อย่างแท้จริง

การสัมมนานี้นำเสนอประสบการณ์การจัดการข้อมูล และการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ประสบความสำเร็จจากหลากหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน จากทั้งผู้พัฒนา ผู้ใช้และผู้ได้รับประโยชน์จากข้อมูล เพื่อเรียนรู้การใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ประสบความสำเร็จ สร้างผลกระทบให้กับองค์กรและสังคมในวงกว้าง และเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยน แบ่งปัน และร่วมกันขยายการใช้ประโยชน์ต่อไป

วิทยากร

  1. ดร.นัยนา สหเวชชภัณฑ์
    หัวหน้าทีมวิจัยการจำลองและระบบขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (DSS) เนคเทค สวทช.
    (ดาวน์โหลดเอกสาร)
  2. ผศ.ดร.ถิรภาพ ฟักทอง
    ที่ปรึกษา บริษัท บีทามส์ โซลูชั่น จำกัด
    ผู้อำนวยการคณะทำงานพัฒนาข้อมูลขนาดใหญ่
    อาจารย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    (ดาวน์โหลดเอกสาร)
  3. ดร.กรกช ธิวงศ์คำ
    ผู้อำนวยการพัฒนาระบบอัตโนมัติ และ IoT
    บริษัท เบทาโกร จํากัด (มหาชน)
    (ดาวน์โหลดเอกสาร)
  4. ผศ.ดร.วินัย วงษ์ไทย
    อาจารย์ ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
    คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
    นักวิจัย มูลนิธิศูนย์วิจัยและติดตามความเป็นธรรมทางสุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร
    (ดาวน์โหลดเอกสาร)
  5. ดร.ณัฐพล คุ้มใหญ่โต
    อาจารย์ ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
    นักวิจัย มูลนิธิศูนย์วิจัยและติดตามความเป็นธรรมทางสุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร
    (ดาวน์โหลดเอกสาร)
  6. ดร.มารุต บูรณรัช
    ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์ (DSARG)
    เนคเทค สวทช.
    (ผู้ดำเนินรายการ)
SS-06
]]>
เทคโนโลยี AMED Care Pharma กับสิทธิบัตรทองสู่ร้านยาชุมชนอบอุ่น ดูแลเจ็บป่วยเล็กน้อย (AMED Care Pharma Technology for Common Illness’ a primary care service for Thais) https://www.nectec.or.th/ace2023/ss5-common-illness/ Fri, 11 Aug 2023 02:27:53 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2023/?p=2249

หัวข้อสัมมนา

Facebook
Twitter
LinkedIn

ร้านยาเป็นอีกกลไกสำคัญที่เติมเต็มระบบบริการปฐมภูมิให้สมบูรณ์มากขึ้น เพราะร้านยาถือเป็นหน่วยบริการที่ใกล้ชิดประชาชน มีความสะดวกไปรับบริการมากกว่าไปโรงพยาบาล อีกทั้ง เมื่อร้านยาทำงานเป็นเครือข่ายร่วมกับหน่วยอื่นๆ ในพื้นที่ ทั้งศูนย์บริการสาธารณสุข คลินิกชุมชนอบอุ่น รวมถึงหน่วยบริการรับส่งต่อเฉพาะ ก็จะทำให้มีช่องทางที่ประชาชนสามารถเลือกใช้บริการได้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“ร้านยาชุมชนอบอุ่น” เป็นร้านยาคุณภาพที่ใกล้ชิดกับประชาชน ที่เข้าร่วมในเครือข่ายสปสช. ซึ่งจะมีบริการมากกว่าร้านยาทั่วไป โดยมีทั้งการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ให้คำปรึกษาด้านการใช้ยาและเวชภัณฑ์ พร้อมทั้งติดตามดูแลอาการโรคเบื้องต้น (Common illness) สำหรับผู้ป่วยสิทธิบัตรทองทีมีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 อาการ สามารถรับยาที่ร้านยาชุมชนอบอุ่นโดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดยมีเภสัชกรจ่ายยา ให้คำแนะนำกับประชาชนที่มีอาการ หรือส่งต่อไปยังแพทย์เชี่ยวชาญในเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ ตามสิทธิ์ของผู้ป่วยบัตรทองได้ด้วย รวมทั้งมีบริการแจกยาคุมกำเนิด และถุงยางอนามัย พร้อมทั้งให้คำแนะนำเพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อีกด้วย

SS-05

วิทยากร

  1. ภก.คณิตศักดิ์ จันทราพิพัฒน์
    ผู้อำนวยการ
    ฝ่ายสนับสนุนการเข้าถึงบริการปฐมภูมิ และการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค
    สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
    (ดาวน์โหลดเอกสาร)
  2. รศ.ภญ.สุณี เลิศสินอุดม
    กรรมการ สภาเภสัชกรรม
    (ดาวน์โหลดเอกสาร)
  3. ดร.กิตติ วงศ์ถาวราวัฒน์
    ผู้อำนวยการศูนย์เฉพาะทาง
    ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) สวทช.
    (ดาวน์โหลดเอกสาร)
  4. ภก.พิชยะ วิเศษจินดา
    ร้านยาศูนย์รวมยาสวนหลวง
    (ดาวน์โหลดเอกสาร)
  5. คุณศรีทิพย์ อุชชิน
    ที่ปรึกษาอาวุโส ฝ่ายยุทธศาสตร์และติดตามประเมินผล
    สวทช. (ผู้ดำเนินรายการ)
]]>