NECTEC-ACE 2022 https://www.nectec.or.th/ace2022 งานประชุมวิชาการและนิทรรศการเนคเทค Sun, 04 Sep 2022 14:27:37 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.0.3 https://www.nectec.or.th/ace2022/wp-content/uploads/2022/06/cropped-favicon-nectec-32x32.png NECTEC-ACE 2022 https://www.nectec.or.th/ace2022 32 32 หลักสูตร Internet of Things (IoT) และ Industrial IoT https://www.nectec.or.th/ace2022/iot-iiot-course/ Sun, 04 Sep 2022 14:19:14 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2022/?p=3602 หลังสูตรสำหรับผู้สนใจด้านเทคโนโลยี IoT สามารถนำไปใช้ศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพ หรือนำไปต่อยอดเพื่อพัฒนาธุรกิจ

The post หลักสูตร Internet of Things (IoT) และ Industrial IoT appeared first on NECTEC-ACE 2022.

]]>

นิทรรศการ

หลักสูตร Internet of Things (IoT) และ Industrial IoT

Facebook
Twitter

หลักสูตร Internet of Things และ Industrial IoT ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจด้านเทคโนโลยี IoT สามารถนำไปใช้ศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพ หรือนำไปต่อยอดเพื่อพัฒนาธุรกิจ โดยในหลักสูตรจะประกอบไปด้วย ชุดอบรม, หนังสือ, เอกสารการเรียนการสอน ซึ่งเหมาะกับสถาบันการศึกษาที่ต้องการนำหลักสูตรไปใช้สอน หรือกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม, System Integrator ที่ต้องการนำความรู้ส่วนนี้ไปต่อยอด

ในหลักสูตรนี้ ผู้อบรมจะได้รับ

  • ชุดอบรมสำหรับเรียนรู้เนื้อหาด้าน Internet of Things และ Industrial IoT
  • หนังสือสำหรับเรียนรู้เนื้อหาด้าน Internet of Things

จุดเด่น

  • สามารถทำให้เรียนรู้เทคโนโลยี Internet of Things และ Industrial IoT ได้ง่าย เข้าใจ ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานมาก่อน
  • สามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดในการใช้งานจริง ซึ่งสามารถอ้างอิงจากชุดอบรม

**ชุดอบรม Industrial IoT มีการใช้งานที่เฉพาะมาก อาจารย์หรือผู้ที่สนใจในการนำไปสอน อาจจะต้องมีความรู้ความเข้าใจหรือประสบการณ์ในการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม งาน Automation หรือ Industrial IoT

กลุ่มผู้ใช้งานเทคโนโลยี

  • นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ในสถาบันการศึกษา
  • กลุ่มอุตสาหกรรมโรงงาน, กลุ่มนักพัฒนา (Developer), System Integrator (SI)

สถานภาพการพัฒนา

  • สามารถนำไปใช้งานในสถาบันการศึกษาต่างๆ ได้จริง
  • ชุดอบรม Industrial IoT ยังสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดไปได้อีก เนื่องจากงานอุตสาหกรรมมีการประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย  

หน่วยงานพันธมิตร

  • วิทยาลัยเทคนิคและอาชีวศึกษาในเขตพื้นที่ EEC
  • สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วิจัยพัฒนาโดย

ทีมระบบไซเบอร์-กายภาพ (CPS)
กลุ่มวิจัยไอโอทีและระบบอัตโนมัติสำหรับงานอุตสาหกรรม (IIARG)
โทร:   0 2564 6900 ext. 2469
Email:    piyawat.jom@nectec.or.th

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ฝ่ายกลยุทธ์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี (SPD)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
112 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง 
อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทร. 0 2564 6900 ต่อ 2346, 2351-54, 2357, 2359, 2361, 2383-84, 2404, 72732, 72744 
อีเมล business@nectec.or.th

The post หลักสูตร Internet of Things (IoT) และ Industrial IoT appeared first on NECTEC-ACE 2022.

]]>
KidBright AI Simulator https://www.nectec.or.th/ace2022/kidbright-ai/ Sun, 04 Sep 2022 13:57:54 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2022/?p=3588 KidBright AI Simulator: KidBright Virtual and Virtual Kanomchan (ขนมชั้น)

The post KidBright AI Simulator appeared first on NECTEC-ACE 2022.

]]>

นิทรรศการ

KidBright AI Simulator

Facebook
Twitter

KidBright Virtual

สำหรับบอร์ด KidBright เป็นบอร์ดสมองกลฝังตัวที่สามารถทำงานตามชุดคำสั่ง โดยผู้เรียนสามารถสร้างชุดคำสั่งผ่านโปรแกรม KidBright IDE บนคอมพิวเตอร์ โดย KidBright มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนากระบวนการคิดเชิงตรรกะ ร่วมกับความคิดสร้างสรรค์ สามารถต่อยอดสู่การพัฒนาแอปพลิเคชันและเทคโนโลยีด้วยตนเองในอนาคต เนื่องจากการเข้าถึงการใช้งานตัวบอร์ดจริง อาจจะมีข้อจำกัด เช่น ผู้ใช้ยังไม่พร้อมที่จัดหาอุปกรณ์จริงมาใช้ หรือการจัดหาอุปกรณ์จริงอาจจะมีความยุ่งยากในบางประการ ดังนั้น เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงประโยชน์ของบอร์ด KidBright ได้มากที่สุด จึงได้มีการวิจัยและพัฒนาบอร์ด KidBright แบบเสมือนจริง (KidBright Virtual: KV) ที่สามารถใช้งานผ่านอินเตอร์เน็ต และสามารถติดตั้งลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ดังนั้น ผู้ที่สนใจก็สามารถใช้งานบอร์ด KidBright ได้ โดยยังไม่จำเป็นต้องจัดหาอุปกรณ์จริง

จุดเด่น

  • สามารถใช้ฝึกเขียนโปรแกรมการใช้งานบอร์ด KidBright ได้เหมือนการใช้งานบอร์ดจริง สามารถทดลองโปรแกรมผ่านอุปกรณ์เสมือนจริงที่มีอยู่
  • โปรแกรมสามารถเข้าถึงการใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลาที่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
  • ลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการทดลองใช้งานบอร์ดจริง และค่าใช้จ่ายของการสูญเสีย เนื่องจากการขาดความรู้พื้นฐานด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

Virtual Kanomchan

หุ่นยนต์ “ขนมชั้น” คือหุ่นยนต์สอนปัญญาประดิษฐ์ KidBright AI ที่ต่อยอดมาจากบอร์ด KidBright โดยมีการติดตั้งกล้อง ล้อ ลำโพง ไมโครโฟน รวมถึงเซ็นเซอร์ต่างๆได้ และซ้อนบอร์ดวงจรขึ้นเป็นชั้น และเพื่อให้การเรียนรู้ด้าน AI ด้วย KidBright AI ได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น แม้จะไม่มีหุ่นยนต์ขนมชั้นตัวจริง จึงได้มีการวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์ขนมชั้นเสมือนจริง (Virtual Kanomchan: VK) ซึ่งเป็นโปรแกรมออนไลน์ที่ใช้ฝึกเขียนโปรแกรมด้าน AI เช่น การโปรแกรมให้ระบบหุ่นยนต์จดจำภาพวัตถุที่ต้องการ เพื่อนำการจดจำวัตถุดังกล่าว ไปใช้งานต่างๆ เช่น การเดินตามวัตถุที่จดจำได้ เป็นต้น โดยการใช้งานโปรแกรมนี้ ผู้ใช้สามารถเข้าใจถึงกระบวนการของการนำเทคโนโยลีด้าน AI มาประกอบเขียนโปรแกรมเพื่อสั่งให้หุ่นยนต์ทำงานตามที่ต้องการ ตั้งแต่การเก็บข้อมูล จัดแต่งข้อมูล การ Train ข้อมูลเพื่อสร้าง Model และการนำ Model ไปใช้งาน

หุ่นยนต์ขนมชั้น และ Virtual Kanomchan

Virtual Kanomchan

จุดเด่น

  • สามารถใช้ฝึกเขียนโปรแกรมการใช้งานหุ่นยนต์ขนมชั้น KidBright AI ได้เหมือนการใช้งานหุ่นยนต์จริง
  • สามารถทดลองโปรแกรมการ Train Model ในรูปแบบต่างๆที่มีอยู่โปรแกรม สามารถเข้าถึงการใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลาที่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
  • ลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการจัดหาอุปกรณ์เพื่อเรียนรู้เทคโนโลยีด้าน AI และค่าใช้จ่ายของการสูญเสีย เนื่องจากการขาดความรู้พื้นฐานการเขียนโปรแกรมควบคุมระบบหุ่นยนต์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ฝ่ายกลยุทธ์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี (SPD)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
112 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง 
อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทร. 0 2564 6900 ต่อ 2346, 2351-54, 2357, 2359, 2361, 2383-84, 2404, 72732, 72744 
อีเมล business@nectec.or.th

The post KidBright AI Simulator appeared first on NECTEC-ACE 2022.

]]>
Traffy Fondue : แพลตฟอร์มบริหารจัดการปัญหาเมือง https://www.nectec.or.th/ace2022/exh-traffy-fondue/ Wed, 31 Aug 2022 08:25:41 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2022/?p=3452 City Problems Management Platform

The post Traffy Fondue : แพลตฟอร์มบริหารจัดการปัญหาเมือง appeared first on NECTEC-ACE 2022.

]]>

นิทรรศการ

Traffy Fondue : แพลตฟอร์มบริหารจัดการปัญหาเมือง

Facebook
Twitter

แพลตฟอร์มบริหารจัดการปัญหาเมือง (Traffy Fondue)  เป็นช่องทางรับแจ้งและจัดการปัญหาเมืองที่พบ ผ่าน LINE Chatbot แบบอัตโนมัติ อีกทั้งยังสามารถสอบถามเพิ่มเติมหรือแจ้งความคืบหน้า ให้แก่ผู้ที่แจ้งปัญหาได้อีกด้วย ช่วยลดภาระการทำงานของเจ้าหน้าที่ ส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และยกระดับการมีส่วนร่วมของพลเมือง (Citizen Engagement) และผู้เกี่ยวข้อง ได้ทุกที่และทุกเวลา

เมื่อระบบได้รับรายละเอียดปัญหาจากผู้แจ้งครบถ้วนแล้ว ระบบจะทำการวิเคราะห์ประเภทปัญหาจากข้อมูลโดยอัตโนมัติ และแจ้งเรื่องไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบแก้ไขปัญหาในพื้นที่ดังกล่าว เช่น กทม., องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบ สามารถเชิญหน่วยงานอื่น มาแก้ไขปัญหาร่วมกันได้ เช่น ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมทางหลวง การไฟฟ้าฯ การประปาฯ อีกทั้งหน่วยงานที่มีหน้าที่ในเชิงการกำกับดูแลและติดตาม เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด กระทรวง ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน (1111) สำนักนายกรัฐมนตรี สํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล  สามารถเข้าร่วมกำกับดูแลและประสานงาน เพื่อให้เกิดการแก้ไขข้อร้องเรียนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นได้อีกด้วย

นอกจากแพลตฟอร์ม Traffy Fondue จะสามารถใช้แจ้งปัญหาเมืองได้ดังที่กล่าวมาแล้ว ปัจจุบันได้ถูกพัฒนาให้สามารถรับแจ้งปัญหาสาธารณภัย จากผู้ประสบเหตุ เพิ่มความรวดเร็วในการให้ความช่วยเหลือกู้ภัย ในภารกิจของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และใช้รวบรวมข้อมูลและประเมินสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ ในโครงการเมืองใจดีเที่ยวได้ทุกวัย ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) อีกด้วย

ผู้ใช้งาน

  • ประชาชนที่ต้องการแจ้งปัญหาไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบ
  • หน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลแก้ไขปัญหา

สถานภาพการพัฒนา

  • ระบบ Traffy Fondue มี 1,903 หน่วยงานเข้าร่วม และมีเจ้าหน้าที่รวม 6,747 คน
  • มีการใช้งานโดยองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จำนวน 738 แห่ง มีเจ้าหน้าที่ อปท. จำนวน 2,074 คน
  • มีการใช้งานเพื่อสนับสนุนภารกิจของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ทั่วประเทศ มีเจ้าหน้าที่ ปภ. จำนวน 1,852 คน
  • มีการใช้งานในโครงการเมืองใจดีเที่ยวได้ทุกวัย ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อเพิ่มข้อมูลสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการและสูงอายุ 2,524 แห่ง
  • ปัจจุบันได้รับทุนจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม (กทปส.) อยู่ระหว่างการขยายผลให้ครอบคลุมหน่วยงาน อบต. และเทศบาล ทั่วประเทศ

หน่วยงานพันธมิตร

  • กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
  • กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
  • กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม
  • สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
    สำนักนายกรัฐมนตรี

วิจัยพัฒนาโดย

ห้องปฏิบัติการระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ (ITS)
กลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย (CNWRG)
Tel: 086-901-6124
LINE:    @fonduehelp
Email:    traffyteam@gmail.com
Website: www.traffy.in.th

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ฝ่ายกลยุทธ์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี (SPD)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
112 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง 
อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทร. 0 2564 6900 ต่อ 2346, 2351-54, 2357, 2359, 2361, 2383-84, 2404, 72732, 72744 
อีเมล business@nectec.or.th

The post Traffy Fondue : แพลตฟอร์มบริหารจัดการปัญหาเมือง appeared first on NECTEC-ACE 2022.

]]>
Open-D: แพลตฟอร์มข้อมูลสำหรับข้อมูลแบบเปิด https://www.nectec.or.th/ace2022/exh-opend/ Wed, 31 Aug 2022 08:03:41 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2022/?p=3439 Data Platform Technology for Open Data

The post Open-D: แพลตฟอร์มข้อมูลสำหรับข้อมูลแบบเปิด appeared first on NECTEC-ACE 2022.

]]>

นิทรรศการ

Open-D: แพลตฟอร์มข้อมูลสำหรับข้อมูลแบบเปิด

Facebook
Twitter

Open-D: Data Platform Technology for Open Data ถูกพัฒนาขึ้นตามหลักการของความเป็นสากลด้าน Open Data โดยได้พัฒนาและผนวกความสามารถของซอฟต์แวร์ CKAN (https://ckan.org/) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ระบบจัดการข้อมูล (Data Management System) ชนิดโอเพนซอร์ส โดยเพิ่มประสิทธิภาพให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทยทั้งในด้านความสอดคล้องกับมาตรฐานการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ การเชื่อมโยงบัญชีข้อมูล และเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการนำเข้าข้อมูล การกำกับดูแลข้อมูล และการใช้ประโยชน์ข้อมูล

คุณลักษณะ

  • พัฒนาขึ้นในรูปแบบ CKAN Extension เพื่อให้หน่วยงานสามารถนำไปติดตั้งเพื่อสร้างระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงาน (Agency Data Catalog) 
  • เมทาดาตา (Metadata) เป็นไปตามมาตรฐานคำอธิบายข้อมูลหรือเมทาดาตาสำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ
  • รองรับการเชื่อมโยง Catalog (Harvesting) กับระบบบัญชีข้อมูลกลางภาครัฐ (Government Data Catalog) และศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ (Data.go.th)
  • รองรับการทำ Data Visualization ชุดข้อมูลเปิด โดยผ่านแพลตฟอร์ม Open-D
  • รองรับการ Tag และ Search ภาษาไทย

จุดเด่น

  • สนับสนุนการดำเนินงานเปิดเผยข้อมูลของหน่วยงานอย่างครบวงจร
  • ซอฟต์แวร์พร้อมใช้สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดทำธุรกิจ ได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ
  • สอดคล้องกับมาตรฐานคำอธิบายชุดข้อมูลที่กำหนดโดยภาครัฐ
  • รองรับการเชื่อมโยงบัญชีรายการข้อมูล (Data Catalog) กับระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐและเว็บไซต์ Data.go.th

ผู้ใจสามารถใช้งาน CKAN Open-D (www.nectec.or.th/opend) ได้ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ส่วนเสริมการใช้งานอื่นๆ สามารถติดต่อเพื่อสอบถามเงื่อนไขการใช้สิทธิ์ซอฟต์แวร์

ผู้ใช้งาน

  • หน่วยงานภาครัฐที่ต้องการพัฒนาเว็บข้อมูลแบบเปิด (Open Data Portal) ในระดับหน่วยงาน 
  • บริษัทซอฟต์แวร์ที่พัฒนาเว็บข้อมูลแบบเปิด (Open Data Portal) ให้กับหน่วยงานภาครัฐ

สถานภาพการพัฒนา

พร้อมให้หน่วยงานต่างๆ นำไปขยายผลและต่อยอดได้

หน่วยงานพันธมิตร

  • สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช. หรือ NSO)
  • สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร. หรือ DGA)
  • สถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (สวข. หรือ GBDi)
  • สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช. หรือ NESDC)

วิจัยพัฒนาโดย

ทีมวิจัยการวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ด้วยปัญญาประดิษฐ์
กลุ่มวิจัยวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์ เนคเทค สวทช.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ฝ่ายกลยุทธ์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี (SPD)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
112 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง 
อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทร. 0 2564 6900 ต่อ 2346, 2351-54, 2357, 2359, 2361, 2383-84, 2404, 72732, 72744 
อีเมล business@nectec.or.th

The post Open-D: แพลตฟอร์มข้อมูลสำหรับข้อมูลแบบเปิด appeared first on NECTEC-ACE 2022.

]]>
Digital Lean Learning Factory https://www.nectec.or.th/ace2022/digital-lean-learning-factory/ Wed, 31 Aug 2022 07:28:23 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2022/?p=3420 โรงงานแห่งการเรียนรู้ดิจิทัลลีน เป็นโรงงานจำลองสำหรับฝึกอบรม ทดสอบ และสาธิตเทคโนโลยีดิจิทัล ทั้ง Hardware และ Software

The post Digital Lean Learning Factory appeared first on NECTEC-ACE 2022.

]]>

นิทรรศการ

Digital Lean Learning Factory

Facebook
Twitter

โรงงานแห่งการเรียนรู้ดิจิทัลลีน หรือ Digital Lean Learning Factor เป็นโรงงานจำลองสำหรับฝึกอบรม ทดสอบ และสาธิตเทคโนโลยีดิจิทัล ทั้ง Hardware และ Software ที่ใช้ในการปรับปรุงกระบวนการผลิตตามแนวคิดลีน โดยได้รับการจัดให้มีสภาพแวดล้อมและความซับซ้อนใกล้เคียงกับการผลิตจริงมากขึ้น แต่ยังคงง่ายต่อการเรียนรู้ เพื่อลดระยะเวลาการเรียนรู้ที่ต้องเผชิญในสายการผลิตจริง และช่วยให้สามารถใช้เทคโนโลยีต่างๆในการนำแนวคิดลีนไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

ประกอบด้วย Workstation ที่เป็นเครื่องจักรอัตโนมัติ 3 Workstation และเครื่องจักรแมนนวล 2 Workstation ใช้ระบบดึงแบบ Kanban ในการควบคุมการผลิต และมีการสาธิตกลไก Karakuri

จุดเด่น

  • โรงงานจำลองใช้เครื่องจักรซีเอ็นซีเป็นเครื่องจักรหลัก ซึ่งเป็นเครื่องจักรอเนกประสงค์ที่มีใช้งานอยู่เป็นจำนวนมากในประเทศไทย
  • โรงงานจำลองประกอบด้วยเทคโนโลยีหลากหลายระดับ ทำให้มีทางเลือกที่เป็นไปได้สำหรับผู้ผลิตตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่
  • โรงงานจำลองมีกรณีศึกษาในการผลิตชิ้นส่วนสำหรับผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายจริงในตลาด ทำให้มีความสมจริง เป็นตัวแทนสะท้อนปัญหาและการแก้ปัญหาที่มีอยู่จริงในอุตสาหกรรม
  • โรงงานจำลองมีความยืดหยุ่นในการสร้างกรณีศึกษา เนื่องจากเครื่องจักรซีเอ็นซีเป็นเครื่องจักรอเนกประสงค์ สามารถผลิตชิ้นงานได้หลากหลายรูปแบบ

กลุ่มลูกค้า/ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย

  • ผู้ผลิตชิ้นส่วนที่ใช้งานเครื่องจักรซีเอ็นซีในสายการผลิต
  • ผู้ให้บริการปรับปรุงสายการผลิต
  • ผู้ให้บริการบูรณาการระบบ (System Integrator – SI)

สถานภาพการพัฒนา

  • อยู่ระหว่างการเพิ่มเติมหลักสูตรฝึกอบรม
  • อยู่ระหว่างการเพิ่มเติมเทคโนโลยีดิจิทัล

หน่วยงานพันธมิตร

สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น (TNI)

วิจัยพัฒนาโดย

ทีมวิจัยระบบไซเบอร์-กายภาพ (CPS)
กลุ่มวิจัยไอโอทีและระบบอัตโนมัติสำหรับงานอุตสาหกรรม  เนคเทค สวทช.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ฝ่ายกลยุทธ์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี (SPD)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
112 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง 
อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทร. 0 2564 6900 ต่อ 2346, 2351-54, 2357, 2359, 2361, 2383-84, 2404, 72732, 72744 
อีเมล business@nectec.or.th

The post Digital Lean Learning Factory appeared first on NECTEC-ACE 2022.

]]>
REMI แชทบอตสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ https://www.nectec.or.th/ace2022/remi/ Wed, 31 Aug 2022 07:15:25 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2022/?p=3399 ระบบตอบกลับอัตโนมัติ (Chatbot) สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ผ่าน LINE Application

The post REMI แชทบอตสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ appeared first on NECTEC-ACE 2022.

]]>

นิทรรศการ

REMI แชทบอตสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

Facebook
Twitter

REMI (Robot for Expecting Mother’s Information) ระบบตอบกลับอัตโนมัติ (Chatbot) สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ผ่าน LINE Application

เป็นแชทบอทที่ใช้ในการติดตามและเฝ้าระวังหญิงตั้งครรภ์ สามารถเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน และติดตามโภชนาการโดยใช้การวิเคราะห์พฤติกรรมรายบุคคล ง่ายและสะดวกต่อการบันทึกข้อมูล สามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากหญิงตั้งครรภ์ให้กับแพทย์ผู้ดูแล เพื่อใช้ในการติดตามสุขภาพร่างกาย และการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ รวมถึงการให้คำแนะนำด้านโภชนาการและติดตามน้ำหนักจะช่วยส่งเสริมสุขภาพของมารดา และทารกในครรภ์ให้อยู่ในภาวะปกติตลอดช่วงการตั้งครรภ์ มีระบบวิเคราะห์ แสดงผลและติดตามข้อมูลคนไข้สำหรับแพทย์ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และวางแผนสำหรับหญิงตั้งครรภ์ อาทิ ประวัติด้านสุขภาพ โรคประจำตัว

จุดเด่น

  • เป็นระบบที่ใช้งานง่ายเหมาะสมกับผู้ใช้ที่ไม่ได้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และประหยัดงบประมาณสามารถใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลา สะดวกต่อการบันทึกข้อมูลโดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เพียงใช้งานผ่าน LINE Application
  • เป็นระบบที่มีการประยุกต์ใช้การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (NLP) เพื่อใช้ในการตอบปัญหาสุขภาพสำหรับหญิงตั้งครรภ์
  • เป็นระบบที่เชื่อมโยงข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ให้กับแพทย์ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ แสดงผล ติดตามข้อมูลคนไข้สำหรับแพทย์ ในสำหรับวิเคราะห์และวางแผนหญิงตั้งครรภ์

ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย

  • หญิงตั้งครรภ์
  • แพทย์สูติ-นรีเวช
  • โรงพยาบาล

สถานภาพการพัฒนา

เปิดให้ใช้งานจริงกับแพทย์และหญิงตั้งครรภ์ที่เข้ามาฝากครรภ์กับทางแผนกสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจ

หน่วยงานพันธมิตร

แผนกสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
และคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วิจัยพัฒนาโดย

ทีมวิจัยการวิเคราะห์พฤติกรรมมนุษย์ 
กลุ่มวิจัยวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์ เนคเทค สวทช.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ฝ่ายกลยุทธ์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี (SPD)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
112 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง 
อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทร. 0 2564 6900 ต่อ 2346, 2351-54, 2357, 2359, 2361, 2383-84, 2404, 72732, 72744 
อีเมล business@nectec.or.th

The post REMI แชทบอตสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ appeared first on NECTEC-ACE 2022.

]]>
สนทนา (Sontana) : Conversational Avatar https://www.nectec.or.th/ace2022/sontana/ Wed, 31 Aug 2022 05:17:19 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2022/?p=3379 เครื่องคัดแยกมะนาว

The post สนทนา (Sontana) : Conversational Avatar appeared first on NECTEC-ACE 2022.

]]>

นิทรรศการ

สนทนา (Sontana) : Conversational Avatar

Facebook
Twitter

แพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์เชิงสนทนาพร้อมอวทาร์ (Conversational Avatar AI): Sontana ให้บริการข้อมูล ตอบคำถาม ผ่านการสนทนาโต้ตอบแทนการพิมพ์ โดยเชื่อมต่อกับระบบบริการถอดความเสียงภาษาไทย พาที, ระบบบริการโต้ตอบอัตโนมัติ อับดุล  และระบบบริการสังเคราะห์ภาพ และเสียงภาษาไทย วาจา ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

  • สามารถแปลงเสียงพูดภาษาไทยออกเป็นข้อความถอด (ตัวอักษร) แบบไม่จำกัดเนื้อหา และไม่จำกัดผู้พูด ด้วยภาษาไทยกลาง พร้อมทั้งรองรับข้อมูลเสียงป้อนเข้าแบบต่อเนื่อง (Streaming) โดยไม่จำกัดความยาวเสียง
  • สามารถทำความเข้าใจคำถาม พร้อมค้นหาคำตอบที่ตรงกับความต้องการ ตามองค์ความรู้ที่สอนระบบ
  • สามารถพูดโต้ตอบแบบทันเวลา​ ด้วยเสียงสังเคราะห์ พร้อมแสดง Animation ท่าทางประกอบขณะพูดโต้ตอบ

จุดเด่น

  • แปลงเสียงพูดเป็นข้อความอัตโนมัติ มีความถูกต้องในการถอดความอยู่ที่ 80%
  • เข้าใจคำถาม พร้อมค้นหาคำตอบที่ตรงกับความต้องการ ผ่านระบบประมวลผลภาษาธรรมชาติ 
  • สังเคราะห์เสียงพูดจากข้อความไทย/อังกฤษ พร้อมแสดงท่าทางผ่านอวทาร์โมเดลที่รองรับ 52 เบลนด์เชฟของ ARKit 
  • เวลาในการตอบสนองไม่เกิน 5 วินาทีหลังพูดจบ
  • ปรับแต่งเนื้อหาให้เข้ากับงานเฉพาะได้

สถานภาพการพัฒนา

  • ผลิตภัณฑ์พร้อมถ่ายทอดในรูปแบบการขายลิขสิทธิ์การใช้งาน

พัฒนาโดย

ทีมวิจัยการเข้าใจเสียงและข้อความ 
กลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ฝ่ายกลยุทธ์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี (SPD)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
112 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง 
อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทร. 0 2564 6900 ต่อ 2346, 2351-54, 2357, 2359, 2361, 2383-84, 2404, 72732, 72744 
อีเมล business@nectec.or.th

The post สนทนา (Sontana) : Conversational Avatar appeared first on NECTEC-ACE 2022.

]]>
เครื่องคัดแยกมะนาว https://www.nectec.or.th/ace2022/lemon-sorting-machine/ Mon, 29 Aug 2022 10:09:24 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2022/?p=3278 เครื่องคัดแยกมะนาว

The post เครื่องคัดแยกมะนาว appeared first on NECTEC-ACE 2022.

]]>

นิทรรศการ

เครื่องคัดแยกมะนาว

Facebook
Twitter

ปัจจุบัน การคัดแยกมะนาวมีวิธีการหลากหลายรูปแบบ ทั้งการใช้กำลังคนในการคัดแยกด้วยมือ หรือการคัดแยกด้วยเครื่องจักร ถึงแม้ว่าจะมีการใช้เครื่องจักรเข้ามาเกี่ยวข้องกับการคัดแยกมะนาวแล้วก็ตามยังคงมีกลุ่มเกษตรกรที่ใช้การคัดแยกมะนาวด้วยมืออยู่ ซึ่งการคัดแยกด้วยมือแต่ละครั้งจำเป็นต้องใช้กำลังคนและเวลาจำนวนมาก

คณะผู้จัดทำจึงหาวิธีการที่ช่วยในการใช้เครื่องจักรในการคัดแยกมะนาวอย่างมีประสิทธิภาพและเข้าได้ง่าย โดยใช้หลักการทำงานที่เข้าใจง่าย และโครงสร้างไม่ซับซ้อน 

คุณลักษณะ

  • ลดระยะเวลาในการคัดแยกมะนาว
  • ลดการใช้แรงงานจำนวนมากในการคัดแยกมะนาว
  • ต่อยอดแนวคิดจากการสร้างเครื่องคัดแยกมะนาวไปสู่สร้างสิ่งประดิษฐ์ในอนาคต 
  • ช่วยแบ่งเบาภาระของเกษตรกร

จุดเด่น

  • Fast  คัดแยกมะนาวได้รวดเร็ว
  • Fine  เกษตรกรมีความสุข
  • Fit  ราคาวัสดุอุปกรณ์มีตามท้องตลาด
  • Friendly  ใช้งานง่าย
  • Family  บริการ ซ่อม ดูแล ใส่ใจ

สถานภาพการพัฒนา

  • 95% ความคืบหน้าของชิ้นงาน
  • ขั้นทดลองใช้งานจริง

หน่วยงานพันธมิตร 

กลุ่มเกษตรกรกสิกรรมไร้สาร ตำบลบ้านค่าย จังหวัดระยอง

พัฒนาโดย

  • นายวรุณ เจตนา  
  • นายกิตติศักดิ์ เกษมศิริ 
  • นายพีรวิชญ์  อกะเรือน
  • นายจรูญ  ชาติไทยเจริญ (อาจารย์ที่ปรึกษา)
  • นางสาวฐิติรัตน์  ชาติไทยเจริญ (อาจารย์ที่ปรึกษา)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ฝ่ายกลยุทธ์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี (SPD)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
112 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง 
อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทร. 0 2564 6900 ต่อ 2346, 2351-54, 2357, 2359, 2361, 2383-84, 2404, 72732, 72744 
อีเมล business@nectec.or.th

The post เครื่องคัดแยกมะนาว appeared first on NECTEC-ACE 2022.

]]>
ฟาร์มเห็ดนางรมสีทองอัจฉริยะ https://www.nectec.or.th/ace2022/mushroom-box/ Mon, 29 Aug 2022 09:48:57 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2022/?p=3261 ระบบควบคุมความชื้นและรักษาระดับความชื้นภายในโรงเรือนเพาะเห็ด

The post ฟาร์มเห็ดนางรมสีทองอัจฉริยะ appeared first on NECTEC-ACE 2022.

]]>

นิทรรศการ

ฟาร์มเห็ดนางรมสีทองอัจฉริยะ

Facebook
Twitter

ภายในโรงเรือนเห็ดใช้ระบบควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น และใช้ระบบอัตโนมัติ โดยติดตั้งระบบการสั่งงานผ่านสมาร์ทโฟนไปยังกล่องควบคุมที่ทำหน้าที่ในการสั่งงานตามสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในโรงเรือนเพื่อปรับความชื้นและอุณหภูมิให้เหมาะสมกับเห็ดอยู่ตลอด เพื่อให้เห็ดมีดอกที่สมบูรณ์ และออกดอกในปริมาณที่มากขึ้น สามารถบริหารจัดการโรงเรือนเพาะเห็ดได้ง่ายและสะดวก

ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาการทำงานของระบบ HandySense เพื่อจะนำมาพัฒนาต่อยอดในงานวิจัยชิ้นนี้ นำมาแก้ปัญหาและควบคุมความชื้นในโรงเรือน และติดตั้งระบบดูดอากาศเพื่อให้ในโรงเรือน สามารถ ดูอากาศที่มีความชื้นมากเกินไปและปรับระดับความชื้นให้เหมาะสมกับการปลูกเห็ดได้เป็นอย่างดี

คุณลักษณะ

  • ควบคุมความชื้นและรักษาระดับความชื้นภายในโรงเรือนให้เหมาะสม
  • ติดตั้งระบบดูดอากาศ เพื่อให้ในโรงเรือนสามารถดูดอากาศที่มีความชื้นมากเกินไปและระบายอากาศ

จุดเด่น

  • เพิ่มปริมาณผลผลิตต่อก้อนได้มากกว่าร้อยละ 15
  • เพิ่มคุณภาพของเห็ดทั้งขนาดและสีของดอกเห็ด
  • สามารถเพาะเห็ดได้ตลอดทุกฤดู

สถานภาพการพัฒนา

  • 95% ความคืบหน้าของชิ้นงาน
  • ขั้นทดลองใช้งานจริง

หน่วยงานพันธมิตร

ฟาร์มเห็ดยายฉิม อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก  

พัฒนาโดย

  • นายนลธวัช ฤกษ์เนตรี
  • นายอธินันท์ ฤกษ์เนตรี 
  • นางวณิชยา กานันท์
  • นางสาวณัฐนิชา เภารัศมี
  • นายอโณทัย ทีฆะสวัสดิ์
  • นางสาวรัตนา แทนอาษา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ฝ่ายกลยุทธ์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี (SPD)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
112 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง 
อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทร. 0 2564 6900 ต่อ 2346, 2351-54, 2357, 2359, 2361, 2383-84, 2404, 72732, 72744 
อีเมล business@nectec.or.th

The post ฟาร์มเห็ดนางรมสีทองอัจฉริยะ appeared first on NECTEC-ACE 2022.

]]>
ระบบเซนเซอร์เฝ้าระวังกลิ่นจากฟาร์มปศุสัตว์ https://www.nectec.or.th/ace2022/gass-sensor/ Mon, 29 Aug 2022 09:47:49 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2022/?p=3252 ระบบเซนเซอร์เฝ้าระวังกลิ่นจากฟาร์มปศุสัตว์

The post ระบบเซนเซอร์เฝ้าระวังกลิ่นจากฟาร์มปศุสัตว์ appeared first on NECTEC-ACE 2022.

]]>

นิทรรศการ

ระบบเซนเซอร์เฝ้าระวังกลิ่นจากฟาร์มปศุสัตว์

Facebook
Twitter

ผลกระทบทางกลิ่นจากฟาร์มปศุสัตว์นั้น เป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญที่ก่อให้เกิดการพิพาธระหว่างเจ้าของกิจการฟาร์ม และผู้อยู่อาศัยในชุมชนใกล้เคียง โดยสาเหตุหลักนั้นมักมาจากกระบวนการจัดการของเสียอันได้แก่ มูล ปัสสาวะ น้ำเสียจากกระบวนการทำงานในฟาร์มเหล่านั้น ฯลฯ เมื่อของเสียดังกล่าวเกิดการหมักหมมและย่อยสลายจะก่อให้เกิดการคายแก๊สที่มีกลิ่นรุนแรง โดยเฉพาะ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ แอมโมเนีย และแก๊สในกลุ่มสารประกอบอินทรีย์ระเหย (VOCs) ซึ่งหากไม่มีการจัดการหรือการเฝ้าระวังที่ดีพอก็จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อคนในชุมชนใกล้เคียงได้ ในขณะที่การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร์มปศุสัตว์โดยทั่วไปนั้นสามารถทำได้โดยเซนเซอร์ตรวจวัดแก๊ส ซึ่งล้วนเป็นเทคโนโลยีที่นำเข้าจากต่างประเทศซึ่งมีต้นทุนสูงแทบทั้งสิ้น

ในงานวิจัยชิ้นนี้เราได้พัฒนาชุดเซนเซอร์สำหรับตรวจวัดแก๊สในกลุ่มดังกล่าว โดยอาศัยเทคโนโลยีแก๊สเซนเซอร์พลังงานต่ำบนพื้นฐานเทคโนโลยีแอลทีซีซี ซึ่งเป็นเทคโนโลยีฐานที่พัฒนาขึ้นภายในประเทศเป็นหัวใจสำคัญของระบบในการตรวจวัด และเฝ้าระวังกลิ่นที่เกิดขึ้นเพื่อให้ผู้ดำเนินกิจการฟาร์มสามารถบริหารจัดการมลพิษทางกลิ่นที่เกิดขึ้นภายในฟาร์มได้อย่างทันท่วงที

แก๊สเซนเซอร์อาเรย์ 10 ช่องวัด สำหรับการจำแนกกลิ่นในลักษณะจมูกอิเล็กทรอนิกส์ ที่พัฒนาขึ้นภายในห้องปฏิบัติการ

คุณลักษณะ

  • ตรวจวัดแก๊สในกลุ่ม H2S, NH3 และ VOCs 
  • สื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่าย IoT
  • ใช้เทคโนโลยีฐานแก๊สเซนเซอร์พลังงานต่ำบนพื้นฐานเทคโนโลยีแอลทีซีซี

จุดเด่น

  • เป็นเทคโนโลยีเซนเซอร์ตรวจวัดแก๊สที่พัฒนาขึ้นภายในประเทศ
  • เซนเซอร์แต่ละช่องวัดใช้พลังงานต่ำ (40 – 70 mW)
  • สื่อสารข้อมูลแบบเรียลไทม์

ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย

  • ฟาร์มปศุสัตว์ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ 
  • หน่วยงานหรือชุมชนที่ต้องการเฝ้าระวังผลกระทบทางกลิ่นในพื้นที่

สถานภาพการพัฒนา

  • พัฒนาต้นแบบเสร็จสมบูรณ์ อยู่ระหว่างการทดสอบในภาคสนาม
  • เซนเซอร์ดังกล่าวได้รับความคุ้มครองตามคำขอรับสิทธิบัตรเลขที่ 1801005900 เรื่อง อุปกรณ์รับรู้แก๊ส และกระบวนการสร้างอุปกรณ์ดังกล่าว ถือสิทธิ์โดย สวทช.  

หน่วยงานพันธมิตร

  • คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้การสนับสนุนการทดสอบภาคสนามและ สนับสนุนวัสดุตอบสนองแก๊ส
  • คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สนับสนุนวัสดุตอบสนองแก๊ส
  • GPERD, NSTDA สนับสนุนการทดสอบในระดับห้องปฏิบัติการ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ฝ่ายกลยุทธ์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี (SPD)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
112 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง 
อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทร. 0 2564 6900 ต่อ 2346, 2351-54, 2357, 2359, 2361, 2383-84, 2404, 72732, 72744 
อีเมล business@nectec.or.th

The post ระบบเซนเซอร์เฝ้าระวังกลิ่นจากฟาร์มปศุสัตว์ appeared first on NECTEC-ACE 2022.

]]>