ปัจจุบันได้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศแล้ว ทุกประเทศจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ดังนั้น แนวคิดเรื่องคาร์บอนต่ำ (Low Carbon) จึงเป็นนโยบายหนึ่งที่สำคัญระดับโลก คาร์บอนต่ำเป็นเป้าหมายสำคัญในการรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยภาคเกษตรกรรมส่งผลต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 1 ใน 3 ของทั้งโลก ในภาคเกษตรกรรมของไทยนั้น การเพาะปลูกข้าวและการเลี้ยงปศุสัตว์ นับเป็นกิจกรรมสำคัญที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับสูง การปรับตัวของภาคเกษตรกรรมให้เป็นเกษตรคาร์บอนต่ำ จะเป็นการพัฒนาระบบเกษตรไปสู่เกษตรกรรมยั่งยืน (Sustainable Agriculture)
การสัมมนาวิชาการในหัวข้อนี้ เป็นการสะท้อนมุมมองจากนโยบายรัฐ การปรับตัวของภาคเอกชน การวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนภาคเกษตรกรรมไทยเพื่อมุ่งสู่ระบบเกษตรคาร์บอนต่ำและยั่งยืน รวมถึงรับมือกับมาตรการสิ่งแวดล้อมกับการค้า เช่น นโยบาย Farm to Fork ของ EU, การบังคับใช้ Eco-labeling scheme, มาตรการ CBAM, Carbon Tax เป็นต้น
หัวข้อนี้เหมาะกับ
- ภาครัฐ หน่วยงานส่งเสริมการนโยบายด้านการเกษตร/นักวิชาการ
- ภาคเอกชน Startup ด้านการเกษตร / Data analyst
วิทยากร
- ดร.จีระศักดิ์ ชอบแต่ง
นักวิชาการสัตวบาลชำนาญการพิเศษ กรมปศุสัตว์
→ (ดาวน์โหลดเอกสาร) - คุณศิริพร วิริยะตั้งสกุล
ผู้จัดการสำนักประเมินและรับรองโครงการ
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
→ (ดาวน์โหลดเอกสาร) - คุณศาณินทร์ ตริยานนท์
นายกสมาคมผู้ผลิตไบโอดีเซลไทย
→ (ดาวน์โหลดเอกสาร) - ดร.เสกสรร พาป้อง
ผู้เชี่ยวชาญวิจัย
สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
→ (ดาวน์โหลดเอกสาร)
ดำเนินรายการโดย
- ดร.นงนุช พูลสวัสดิ์
นักวิจัย
สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน