ระบบเกษตรอัจฉริยะ (HandySense) เป็นระบบเกษตรแม่นยำ ภายใต้แนวทาง “นวัตกรรมแบบเปิด เพื่อความต่อเนื่องและยั่งยืน” โดยการนำเทคโนโลยีเซนเซอร์ผนวกกับอุปกรณ์ไอโอที (Internet of Things) สู่อุปกรณ์ตรวจวัดและควบคุมสภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยต่อการเจริญเติบโตของพืชตั้งแต่การปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยว ได้แก่ การให้น้ำ ปุ๋ย การป้องกันแมลง รวมทั้งการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้นและแสง คุณสมบัติของอุปกรณ์ ประกอบด้วย ระบบการแสดงผล/แจ้งเตือน และระบบการควบคุม ทั้งหมดสามารถใช้งานสั่งการผ่านแอปพลิเคชัน เน้นวิจัย พัฒนา ให้เข้ากับบริบทของเกษตรกรไทย คือ “ใช้งานง่าย ทนทาน และมีราคาที่จับต้องได้” รวมถึงอุปกรณ์ได้ออกแบบให้มีความทนทานเหมาะสมกับสภาวะทางการเกษตรของประเทศไทย โดยผ่านการทดสอบระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมจาถสถาบันที่ได้รับการยอมรับระดับประเทศ
จากการทำงานของเนคเทค สวทช. และหน่วยงานพันธมิตร ในการวิจัย พัฒนา ส่งเสริม และถ่ายทอดเทคโนโลยี อย่างต่อเนื่อง ไปสู่การใช้ประโยชน์จริงกับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่จริง ตลอดจนการสร้าง business value co-creation ระหว่างทีมวิจัย พัฒนา ผู้ใช้/เกษตรกร นักส่งเสริมการเกษตร ผู้ประกอบเทคโนโลยีเกษตร เพื่อส่งให้ HandySense อยู่คู่กับระบบนิเวศนวัตกรรมเกษตรไทยอย่างยั่งยืนต่อไป การสัมมนานี้ จะถอดประสบการณ์ HandySense open innovation จากนวัตกรรมแบบเปิด สู่เกษตรกรไทย และธุรกิจนวัตกรรมเกษตร ด้วยการผสานความร่วมมือตามแนวทาง Open Public-Private-People Partnership
หัวข้อนี้เหมาะกับ
เกษตรกร ผู้ประกอบการ Agri Tech นักวิจัย
วิทยากร
- ดร.สุรางค์ศรี วาเพชร
ผู้อำนวยการกลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่นและนวัตกรรมด้านการเกษตร
กองวิจัยพัฒนางานส่งเสริมการการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
→ (ดาวน์โหลดเอกสาร) - คุณสันติภาพ จุลิวัลลี
ประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.)
เครือข่ายอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี - คุณอดุลย์ ภูผาสุข
ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
→ (ดาวน์โหลดเอกสาร) - ดร.ปรีสาร รักวาทิน
รักษาการผู้ช่วยผู้อำนวยการ
กลุ่มงานส่งเสริมการประยุกต์ใช้ดิจิทัล
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa)
→ (ดาวน์โหลดเอกสาร) - คุณนิติ เมฆหมอก
นายกสมาคมไทยไอโอที
→ (ดาวน์โหลดเอกสาร) - คุณประสิทธิ์ ป้องสูน
ผู้ก่อตั้งบริษัท คิท ฟอร์เวิร์ด จำกัด
และ เลขาธิการสมาคมสตาร์ทอัพ
ด้านการเกษตรไทย (TASA)
→ (ดาวน์โหลดเอกสาร)
ดำเนินรายการโดย
คุณนริชพันธ์ เป็นผลดี
ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส ทีมวิจัยเทคโนโลยีเกษตรดิจิทัล
เนคเทค สวทช.