หัวข้อสัมมนา

เมื่อเกษตรไทยใช้ ว-ท-น

Facebook
Twitter

ในปัจจุบันภาคการเกษตรได้มีการนำ วิทยาศาสตร์ (ว) เทคโนโลยี (ท) และนวัตกรรม (น) มาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย ครอบคลุมทั้งห่วงโซ่การผลิต ตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ (AgriTech) เช่น ใช้แอปพลิเคชันเพื่อติดตามสภาพดินฟ้าอากาศ การเกิดภัยธรรมชาติเพื่อวางแผนกิจกรรมการเพาะปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ รวมถึงการใช้ทรัพยากรต่างๆ เช่น การให้น้ำ การใส่ปุ๋ยการให้ธาตุอาหารในปริมาณที่เหมาะสมและมีคุณภาพตรงกับความต้องการของพืช ช่วยเพิ่มปริมาณและลดความเสี่ยงการสูญเสียผลผลิต ตลอดจนช่วยยกระดับผลผลิตให้เป็นสินค้าพรีเมี่ยม เป็นต้น

สวทช. ได้เล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญด้านการเกษตรของประเทศ จึงได้ร่วมวิจัย พัฒนา และสร้างนวัตกรรมมากมายที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ผลงานที่นำไปประยุกต์ใช้ร่วมกับเกษตรกร มีส่วนช่วยให้การบริหารจัดการฟาร์มมีความถูกต้อง ตรงจุดแม่นยำและทันท่วงที ช่วยลดต้นทุนการผลิต และ/หรือ เพิ่มมูลค่าผลผลิต ส่งผลดีและเกิดประโยชน์แก่เกษตรกรทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมถึงการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศด้วย      

หัวข้อเสวนานี้ นักวิจัยเนคเทคจะร่วมพูดคุยในประเด็นการนำ ว ท น มาประยุกต์ใช้ในหลากหลายรูปแบบ พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ที่น่าสนใจ และสามารถนำไปช่วยให้ภาคการเกษตรพัฒนาเป็นเกษตรอัจฉริยะที่มีความยั่งยืน เพิ่มความมั่นคงทางอาหารของประเทศต่อไป

หัวข้อนี้เหมาะกับ

  • ภาครัฐ หน่วยงานส่งเสริมการนโยบายด้านการเกษตร/นักวิชาการ
  • ภาคเอกชน Startup ด้านการเกษตร / Data analyst

วิทยากร

  • หัวข้อ เมื่อมะพร้าวหิวน้ำ 
    คุณเสกสรร ศาสตร์สถิต
    นักวิจัย ทีมวิจัยเทคโนโลยีเกษตรดิจิทัล
    เนคเทค สวทช.
    (ดาวน์โหลดเอกสาร)
  • หัวข้อ มังคุดไทยอร่อยที่สุดในโลก 
    โดย ดร.โอภาส ตรีทวีศักดิ์
    นักวิจัย ทีมวิจัยเทคโนโลยีเกษตรดิจิทัล
    เนคเทค สวทช.
    (ดาวน์โหลดเอกสาร)
  • หัวข้อ ดูดีกินดีเมื่อมีใบชิโซะ 
    คุณบรรพต แซ่โค้ว 
    ผู้ช่วยวิจัย ทีมวิจัยเทคโนโลยีเกษตรดิจิทัล
    เนคเทค สวทช.
    (ดาวน์โหลดเอกสาร)
  • หัวข้อ แก้ปัญหาเมล็ดพันธุ์ข้าวปน คนไทยทำ 
    คุณโกษม ไชยถาวร 
    วิศวกรอาวุโส ทีมวิจัยเทคโนโลยีเกษตรดิจิทัล
    เนคเทค สวทช.
    (ดาวน์โหลดเอกสาร)
  • หัวข้อ การตรวจวัด THC, CBD ในกัญชาแบบรวดเร็ว 
    โดย ดร.ฐิตพัฒน์ เงินสุทธิวรกุล
    นักวิจัย ทีมวิจัยเทคโนโลยีเซนเซอร์แสงไฟฟ้าเคมี
    เนคเทค สวทช.
    (ดาวน์โหลดเอกสาร)

ดำเนินรายการ โดย

ดร.ศุภนิจ พรธีระภัทร
นักวิจัยอาวุโส ทีมวิจัยเทคโนโลยีเกษตรดิจิทัล
เนคเทค สวทช.