หัวข้อสัมมนา

The 21st Century Skills of Engineers to Drive Health and Wellness Businesses

Facebook
Twitter

ในโลกยุคศตวรรษที่ 21 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในมิติต่างๆ ในสังคมเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรง จากความก้าวล้ำทางเทคโนโลยีดิจิทัล หรือ กระแสโลกปกติใหม่ (New Normal) ซึ่งมีตัวเร่งจากการแพร่ระบาดไปทั่วโลกของเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ที่ส่งผลกระทบในวงกว้างกับประชาชน รวมถึงธุรกิจและอุตสาหกรรม โดยเฉพาะด้านสายการแพทย์และสุขภาพ  ดังนั้น วิศวกรในฐานะกลุ่มบุคคลที่เป็นผู้สร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรม จึงเป็นหนึ่งในผู้มีบทบาทและหน้าที่ที่สำคัญในการตอบสนองต่อความต้องการของสังคมและแก้ปัญหาวิกฤตในครั้งนี้  ดังนั้นแล้วการเสวนาครั้งนี้จะเป็นการนำเสนอความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ด้านการแพทย์และสุขภาพ โดยวิศวกรที่มีประสบการณ์ในบทบาทของอาจารย์มหาวิทยาลัย, นักวิจัย และ ผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ (Startup) อาทิ เทคโนโลยีสีเขียว (Green Technology) เพื่อพัฒนาสารประกอบสำคัญเชิงสุขภาพ  อุปกรณ์ทางการแพทย์ (Medical Devices) ที่อาศัยการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) และ ข้อมูลมหัต (Big Data) รวมถึงการแลกเปลี่ยนมุมมองแนวทางการปฏิรูปการสร้างวิศวกรรุ่นใหม่สำหรับโลกยุคปกติใหม่ในศตวรรษที่ 21 อีกด้วย

หัวข้อนี้เหมาะกับ

  • ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม(เทคโนโลยีสุขภาพ)
  • ผู้ประกอบการรายย่อย SMEs, Startup ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสุขภาพ
  • นักวิชาการ, นักวิจัย, บุคคลทั่วไป ที่สนใจในธุรกิจสายเทคโนโลยีสุขภาพ

กำหนดการ

  • 15.40 – 15.50 น.
    แนะนำผู้เข้าร่วมเสวนา
  • 15.50 – 16.20 น. การเสวนาในหัวข้อ
    – การเปลี่ยนแปลงในโลกยุคศตวรรษที่ 21 ต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์
    – เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ในการตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคศตวรรษที่ 21 สำหรับธุรกิจด้านสุขภาพและความกินดีอยู่ดี
    – การปฏิรูปการสร้างวิศวกรรุ่นใหม่สำหรับโลกยุคปกติใหม่ในศตวรรษที่ 21 ต่อการเติบโตธุรกิจด้านสุขภาพและความกินดีอยู่ดี

ผู้ร่วมเสวนา

  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เชษฐา พันธ์เครือบุตร
    ภาควิชาวิศวกรรมโลหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    CTO & co-founder of Meticuly Co., Ltd. (บริษัท เมติคูลี่ จำกัด)
  2. รองศาสตราจารย์ ดร.สุรโชค ธนพิทักษ์
    ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์
    มหาวิทยาลัยมหิดล
  3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงศธร เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา
    สาขาวิชาวิศวกรรมเคมีและเภสัชกรรม 
    สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
    มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • 16.20 – 16.40 น. ถาม-ตอบ  

ผู้ดำเนินรายการ

  • ดร.ก่อศักดิ์ โตวรรธกวณิชย์
    ผู้จัดการสถาบันนวัตกรรมและบ่มเพาะธุรกิจ บมจ.บางจาก คอร์ปอเรชั่น

วิทยากร

ไฟล์ประกอบการเสวนา

**ทีมงานจะอัปโหลดไฟล์หลังเสร็จสิ้นการเสวนา

NECTEC-ACE 2021

งานประชุมวิชาการและนิทรรศการเนคเทค ประจำปี 2564  ภายใต้แนวคิด “ฐานรากเทคโนโลยีก้าวไกล พัฒนาไทยก้าวหน้า” โดยมีเป้าหมายแสดงผลงานทางด้านนวัตกรรมการผลิตและบริการที่ยั่งยืน ตอบโจทย์การผลิตยุคใหม่ พัฒนาไทยสู่ Industry 4.0 เป็นสำคัญ

Organized by

       

Contact

Call Center: 02-564-6900
email: info@nectec.or.th