หัวข้อสัมมนา

From Vision to Practice: Digital transformation for sustainable manufacturing

Facebook
Twitter

ในยุคของการแปรรูปทางดิจิทัล (Digital transformation)  เทคโนโลยีและนวัตกรรมมีบทบาทสำคัญในการดำเนินธุรกิจ สร้างโอกาส และความท้าทายใหม่ต่อผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทั้งภาคผลิตและบริการ อีกทั้งปรับตัวให้พร้อมในยุคอุตสาหกรรม 4.0 อีกทั้งประเทศไทยยังอยู่ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ผู้ประกอบการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบนิเวศนวัตกรรมต้องเข้าใจและพร้อมปรับตัวสู่การทำงานรูปแบบ “ปกติใหม่ (New Normal)” ในหลาย ๆ องค์กรจึงมีการเร่งปรับใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล เข้ามาช่วยในการดำเนินธุรกิจ อาทิ Cloud, IoT, Cyber Security, 5G และระบบอัตโนมัติต่าง ๆ เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมได้อย่างเต็มที่ องค์กรจึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมและทำความเข้าใจให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทั้งภาคการผลิตและบริการ

การสัมมนา “From Vision to Practice: Digital transformation for sustainable manufacturing” นี้ มุ่งหวังถ่ายทอดประสบการณ์การพัฒนา “การแปรรูปทางดิจิทัล (Digital transformation) ในภาคอุตสาหกรรม” จากวิสัยทัศน์สู่การปฏิบัติจริง และมุ่งสู่การผลิตยั่งยืนด้วยนวัตกรรม ผ่านผู้เชี่ยวชาญที่มาจากผู้ให้บริการเทคโนโลยี นวัตกรรม โทรคมนาคม และโซลูชั่นส์ นำเสนอผ่านแนวทางการพัฒนา กรณีศึกษา แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) และตัวอย่างความสำเร็จ ของหน่วยงานเครือข่าย/พันธมิตร ผู้ซึ่งประยุกต์และใช้จริง เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนานำแนวทางและแนวปฏิบัติเหล่านี้ ไปประยุกต์ใช้กับโจทย์ปัญหาหน้างานของตนเอง และพร้อมเดินงานเชิงรุกสู่อุตสาหกรรม 4.0 รวมทั้งการพัฒนาโรงงานอัจฉริยะด้วย AI  IoT Automation และ Robotics เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการทำงาน เพิ่มผลผลิต และลดการสูญเสียที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต เพื่อให้องค์กรยกระดับไปสู่การผลิตที่ยั่งยืนต่อไป

หัวข้อนี้เหมาะกับ

  • ผู้บริหารระดับสูงของสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต (ขนาดใหญ่ และ SMEs)
  • ผู้จัดการฝ่ายผลิต  ฝ่ายบำรุงรักษา ฝ่ายแผนงานโครงการ ฝ่ายควบคุมคุณภาพ ของโรงงานอุตสาหกรรม
  • System integrators และ Technology Vendors ในสายอุตสาหกรรมการผลิต

กำหนดการ

  • 10.30 – 10.35 น. 
    กล่าวต้อนรับและแนะนำการสัมมนา
  • 10.35 – 11.00 น.
    5G and Digital Platform for Smart Manufacturing
    โดย คุณนวชัย เกียรติก่อเกื้อ
    Head of Enterprise Marketing & SME Business Management Section,
    บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
  • 11.05 – 11.25 น.
    The Digital Enterprise – How Smart factory is driving sustainable manufacturing
    โดย Mr. Joseph Kong
    Senior Vice president, Digital Industries, Siemens Limited.
    บริษัท ซีเมนส์ จำกัด
  • 11.30 – 11.50 น.
    Industry 4.0 in action to transform and sustain your manufacturing in COVID-19 pandemic era
    โดย คุณพิมพ์ลักษณ์ กลิ่นมาลี
    Cognitive Systems Technical Specialist
    บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด
  • 11.50 – 12.00 น.
    ประเด็น ถาม-ตอบ

ผู้ดำเนินรายการ

  • ดร.ปรัชญา บุญขวัญ
    นักวิจัยทีมวิจัยเทคโนโลยีภาษาธรรมชาติและความหมาย 
    กลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์
  • คุณศิริพร ปานสวัสดิ์
    ผู้จัดการงานพัฒนาองค์กรและสื่อสารภายใน
    ฝ่ายกลยุทธ์พัฒนาบุคลากรวิจัยและพัฒนาองค์กร
    เนคเทค สวทช.

วิทยากร

บทคัดย่อ (รายวิทยากร)

AIS: 5G and Digital Platform for Smart Manufacturing

Global Pandemic เร่งกระบวนการ Digital Transformation ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต และรูปแบบการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่กระทบทั้งด้านการย้ายฐานการผลิต การบริหารจัดการ Supply Chain และแรงงาน การเร่งองค์กรให้ปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ต่างๆ อาทิ Cloud, IoT, Cyber Security อย่างเป็นรูปธรรม จะช่วยให้องค์กรธุรกิจ สามารถดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ 5G ซึ่งจะปลดล็อค ข้อจำกัดของโครงสร้างดิจิทัลแบบเก่า เพื่อสร้างความแตกต่างในการแข่งขัน ตอบสนองต่อการ Transform ของอุตสาหกรรมได้อย่างเต็มที่ 5G เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่จะเพิ่มขีดความสามารถให้กับธุรกิจและอุตสาหกรรมในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงงานอุตสาหกรรม ภาคการผลิต พลังงาน การขนส่งและโลจิสติกส์ ซึ่งองค์กรที่สามารถนำเทคโนโลยี 5G มาปรับใช้ในธุรกิจ จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและการบริหารจัดการ ลดต้นทุนค่าใช้จ่าย และเวลาที่ต้องใช้ในกระบวนการต่างๆ ของอุตสาหกรรม แม้ 5G จะเป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงที่ถูกพัฒนาจาก 4G แต่ก็ได้รับออกแบบที่เน้นการมีส่วนร่วมของภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อให้เป็นเครือข่ายสำหรับการใช้งานเพื่อเทคโนโลยีในอนาคต 5G จึงมึคุณสมบัติที่มากกว่า 4G ทั้งด้านความเร็วสูง ความเสถียรสูง ความหน่วงต่ำ รองรับอุปกรณ์ต่างๆ ได้จำนวนมาก และเป็นพื้นฐานของเทคโนโลยีอื่นๆ อาทิ Network slicing, 5G Private network, MEC, AR / VR, AI หัวข้อสัมมนานี้ มุ่งสร้างแนวคิดในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจ โดยใช้ขีดความสามารถใหม่ของ 5G Ecosystem พร้อมทั้งแนวคิดการใช้งาน 5G กับภาคอุตสาหกรรม, โซลูชั่นส์และตัวอย่างจากการใช้งานจริงจากพันธมิตรและผู้เชี่ยวชาญ

SIEMENS: The Digital Enterprise – How Smart factory is Driving sustainable manufacturing
เพื่อรักษาความสามารถขององค์กรในการแข่งขันในตลาด บริษัทผู้ผลิต รวมทั้งอุตสาหกรรมเครื่องจักรและวิศวกรรมโรงงาน จำเป็นต้องมีความรวดเร็วและยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องรักษาคุณภาพให้สูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ควบคู่ไปกับการใช้ทรัพยากรให้เต็มประสิทธิภาพ ระบบอัตโนมัติแบบดั้งเดิมได้เข้าใกล้ขีดจำกัด การมีศักยภาพที่พร้อมผสานกันของระบบดิจิทัลกับห่วงโซ่การผลิตจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ สิ่งที่จะสนับสนุนความพร้อมเบื้องต้น ระบบอัตโนมัติแบบครบวงจร หรือ Totally Integrated Automation (TIA) ของ
ซีเมนส์ ช่วยให้มั่นใจได้ว่า การทำงานร่วมกันอย่างราบรื่นของทุกส่วนประกอบของระบบอัตโนมัติ ซอฟต์แวร์ที่เชื่อมโยง ไปจนถึงระบบการจัดการระดับสูง ซึ่งสิ่งนี้รับรองโดยการจัดการข้อมูลที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลที่เปิดกว้าง ตั้งแต่ระดับอุปกรณ์ภายในแต่ละเครื่องจักรไปจนถึงระบบการจัดการองค์กร ด้วยเหตุนี้ เทคโนโลยีแห่งอนาคตซึ่งถูกนำมาเพิ่มประสิทธิภาพกับระบบการผลิตที่มีในวันนี้จะผสานเข้ารวมกันแบบเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการลงทุนของผู้ประกอบการ ซีเมนส์พร้อมที่จะสนับสนุน ในการยกระดับการผลิตให้ไปสู่ก้าวต่อไปของกระบวนการผลิตที่ยั่งยืน

IBM: Industry 4.0 in action to transform and sustain your manufacturing in COVID-19 pandemic era
ท่ามกลางสถานการณ์วิกฤติในปัจจุบันที่ทุกคนต้องรู้จักการปรับตัวไปสู่การทำงานรูปแบบ “ปกติใหม่ หรือ New Normal” แม้แต่โรงงานเองก็เช่นกัน ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI ของไอบีเอ็ม มาแชร์ประสบการณ์ และความสำเร็จจากการนำเทคโนโลยีไปใช้งานจริง อาทิ บริษัทรถยนต์ชั้นนำจากอเมริกาและญี่ปุ่น บริษัทในอุตสาหกรรม Hi-Tech เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้งานเชิงรุกในยุค Industry 4.0 ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาโรงงานอัจฉริยะด้วย AI และ IoT การเพิ่มวิสัยทัศน์ในการปฏิบัติงาน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และลดการสูญเสียที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต แนวโน้มของโลกเป็นตัวกำหนดกระบวนการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มขึ้นของความต้องการที่เฉพาะบุคคล ผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงในราคาที่จับต้องได้ และพร้อมวางจำหน่ายในตลาดในระยะเวลาอันสั้น การผลิตที่เน้นผู้บริโภคมีความสำคัญมากขึ้น ผลิตภัณฑ์อัจฉริยะและครบวงจรทางเทคโนโลยีทำให้เกิดโมเดลธุรกิจใหม่ๆ 

NECTEC-ACE 2021

งานประชุมวิชาการและนิทรรศการเนคเทค ประจำปี 2564  ภายใต้แนวคิด “ฐานรากเทคโนโลยีก้าวไกล พัฒนาไทยก้าวหน้า” โดยมีเป้าหมายแสดงผลงานทางด้านนวัตกรรมการผลิตและบริการที่ยั่งยืน ตอบโจทย์การผลิตยุคใหม่ พัฒนาไทยสู่ Industry 4.0 เป็นสำคัญ

Organized by

       

Contact

Call Center: 02-564-6900
email: info@nectec.or.th