NECTEC-ACE 2021 https://www.nectec.or.th/ace2021 NECTEC Annual Conference and Exhibition Wed, 08 Dec 2021 07:30:26 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.9.3 https://www.nectec.or.th/ace2021/wp-content/uploads/2021/06/cropped-favicon-nectec-32x32.png NECTEC-ACE 2021 https://www.nectec.or.th/ace2021 32 32 ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมอุตสาหกรรม 4.0 สำหรับประเทศไทย (Thailand i4.0 Index) https://www.nectec.or.th/ace2021/exh50-thi40/ Fri, 03 Dec 2021 10:26:44 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2021/?p=4169

ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมอุตสาหกรรม 4.0 สำหรับประเทศไทย (Thailand i4.0 Index)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.n.) ภายใต้การสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พร้อมด้วยพันธมิตรจากหลายหน่วยงานในภาคอุตสาหกรรมได้ทำการพัฒนาดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมของอุตสาหกรรมไทย หรือ เรียกว่า Thailand i4.0 Index ขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือให้ผู้ประกอบการภาคผลิต ที่ต้องการยกระดับศักยภาพสู่ Industry 4.0 แต่ยังขาดความชัดเจนว่าจะต้องปรับปรุงองค์กรในด้านใด ตลอดจนการเรียงลำดับความสำคัญและชี้แนวทางในการปรับปรุงองค์กรอย่างยั่งยืน

]]>
สมาคมผู้ใช้ดิจิทัลไทย (DUGA) https://www.nectec.or.th/ace2021/exh49-duga/ Fri, 03 Dec 2021 10:23:11 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2021/?p=4160

สมาคมผู้ใช้ดิจิทัลไทย (DUGA)

หลักการดำเนินการของสมาคมผู้ใช้ดิจิทัลไทยนี้ เพื่อผนึกกำลังของ Cross Sector User Group ในประเทศไทยร่วมกับผลักดันวาระ Digital Demand Generation & Transformation ใน Intra-Sector และ Cross Sector พร้อมทำงานร่วมกับภาครัฐเพื่อเดินหน้าประเทศไทย โดยวัตถุประสงค์สำคัญของสมาคม คือส่งเสริมและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในรูปแบบและมิติที่หลากหลายในห้วงการเปลี่ยนผ่าน ขับเคลื่อนกลุ่มอุตสาหกรรมหลักของผู้ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในเชิงสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาประเทศ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม สมาคมผู้ใช้ดิจิทัลไทย (DUGA)มีความพร้อมในการเดินหน้าดำเนินกิจกรรมในทุกรูปแบบ เพื่อสร้างเสริมแผนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สร้างความตระหนัก รณรงค์ และประชาสัมพันธ์ในกลุ่มสมาชิกที่จะมาจากหลายภาคส่วนอุตสาหกรรมหลัก เพื่อการเปลี่ยนผ่านปฏิรูปองค์กร ขับเคลื่อนและร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการยกระดับและพัฒนาประเทศไทย ทางสมาคมฯ มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างให้สมาคมเป็นเวทีระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรมผู้ใช้ดิจิทัลหลักของประเทศกับภาครัฐ ร่วมกันนำเสนอข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ในการพัฒนาแนวทางการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างคุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจและสังคมเพื่อยกระดับประชาชนทั้งประเทศไปพร้อมๆ กัน

]]>
สมาคมไทยไอโอที https://www.nectec.or.th/ace2021/exh48-thaiiot/ Fri, 03 Dec 2021 10:20:26 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2021/?p=4153

สมาคมไทยไอโอที

สมาคมไทยไอโอที หรือ Thai IoT Association จัดตั้งขึ้นเพื่อจุดมุ่งหมายหลัก 4 ด้าน คือ 

1. สร้างความตระหนักรับรู้ 
2. สร้างคนที่มีทักษะ 
3. สร้างเครือข่ายที่เข้มแข็ง เพื่อสร้างการใช้งานที่มีคุณค่า ทำให้เทคโนโลยี IoT (Internet of Things) 
4. สร้างประโยชน์ต่อสังคม ประเทศไทยและภูมิภาค ASEAN 

พร้อมทั้งเพิ่มขีดความสามารถและความเข้มแข็งในการผลิตและพัฒนาของผู้ประกอบการไทยให้สามารถผลิตและพัฒนาชิ้นส่วนอุปกรณ์และการใช้งานเทคโนโลยี Internet of Things ในภาคอุตสาหกรรมของไทย และสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งระหว่างผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมของไทย นักวิจัย สถาบันการศึกษา และหน่วยงานของรัฐ

]]>
สมาคมผู้ประกอบการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไทย (Thai Automation and Robotics Association: TARA) https://www.nectec.or.th/ace2021/exh47-tara/ Fri, 03 Dec 2021 10:17:42 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2021/?p=4135

สมาคมผู้ประกอบการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไทย (Thai Automation and Robotics Association: TARA)

สมาคมผู้ประกอบการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไทย (TARA) ประกอบด้วยสมาชิกนิติบุคคลไทยที่ทำธุรกิจทางด้านระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ และ สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ ที่มีผลงาน ด้านระบบอัตโนมัติ หรือหุ่นยนต์ เป็นที่ประจักษ์ โดยการรับเชิญจากสมาคม จุดประสงค์ของสมาคมคือ ก) เพื่อเป็นศูนย์กลางของผู้ซื้อและผู้ขาย รวมถึงประสานความร่วมมือทางธุรกิจในหมู่สมาชิก เกี่ยวกับระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ รวมถึงวิชาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ข)เพื่อสร้างความร่วมมือกันระหว่างสมาชิกของสมาคม หน่วยงาน และองค์กรอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศที่มีวัตถุประสงค์และอุดมการณ์สอดคล้องกัน เพื่อพัฒนาความร่วมมือทางการค้า และ ค) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ รวมถึง วิจัย ค้นคว้า นวัตกรรม สัมมนา อบรม และเป็นที่ปรึกษาการประยุกต์ใช้งานระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์

]]>
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (CoRE) https://www.nectec.or.th/ace2021/exh46-core/ Fri, 03 Dec 2021 10:13:37 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2021/?p=4125

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (CoRE)

ตามที่ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2560 เห็นชอบมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และให้กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการขับเคลื่อนมาตรการต่าง ๆ และมีคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2560 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพของประเทศ เพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ด้านการพัฒนาบุคลากรและเทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เพื่อการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Center of Robotic Excellence : CoRE) เป็นเครือข่ายความร่วมมือของหน่วยงานชั้นนำของประเทศ ทำหน้าที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติจากภาคการศึกษาไปสู่การผลิตหุ่นยนต์เชิงพาณิชย์ และยกระดับไปสู่การผลิตหุ่นยนต์ประเภทอื่น ๆ ที่มีความซับซ้อนในอนาคต มีภารกิจสำคัญ 4 ด้าน ดังนี้ 

1. การรับรองเพื่อรับสิทธิประโยชน์ และมาตรการทางภาษีในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Certify Body) 

2. การพัฒนาต้นแบบอุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์ในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Industrial Prototype) 

3. การพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (HR Development) 

4. การให้คำปรึกษาแนะนำและถ่ายทอดเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Consultant/Technology Transfer)

 โดยปัจจุบัน หน่วยงานเครือข่าย CoRE ประกอบด้วย 17 แห่ง ดังนี้ โดยมี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานกรรมการ CoRE

 1) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

2) มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

3) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

4) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 

5) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น 

6) มหาวิทยาลัยมหิดล

7) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 

8) วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 

9) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) 

10) สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ 

11) สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 

12) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง 

13) สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น)

14) มหาวิทยาลัยบูรพา 

15) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) 

16) สถาบันไทย-เยอรมัน

17) สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

]]>
โครงการส่งเสริมวิทยาการหุ่นยนต์สำหรับทุกคนและพัฒนานวัตกร/นักวิจัย/วิศวกร/วิสาหกิจเริ่มต้นด้านวิทยาการหุ่นยนต์ https://www.nectec.or.th/ace2021/exh45-fibokmutt/ Fri, 03 Dec 2021 10:10:32 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2021/?p=4114

โครงการส่งเสริมวิทยาการหุ่นยนต์สำหรับทุกคนและพัฒนานวัตกร/นักวิจัย/วิศวกร/วิสาหกิจเริ่มต้นด้านวิทยาการหุ่นยนต์

โครงการส่งเสริมวิทยาการหุ่นยนต์สำหรับทุกคนและพัฒนานวัตกร/นักวิจัย/วิศวกร/วิสาหกิจเริ่มต้นด้านวิทยาการหุ่นยนต์ มีเป้าหมายการดำเนินงานเพื่อพัฒนาบุคลากรในระดับต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับนักเรียน นักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย บริษัท และประชาชนทั่วไป ให้เกิดความตระหนักและมีความรู้เกี่ยวกับความสำคัญและประโยชน์ของวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ สามารถลดความเลื่อมล้ำทางการศึกษาทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์ได้ง่ายผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความร่วมมือในเชิงเทคโนโลยีระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคเอกชน

]]>
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://www.nectec.or.th/ace2021/exh44-siittu/ Fri, 03 Dec 2021 10:08:01 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2021/?p=4099

สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

A cooperation agreement among Keidanren, FTI, and Thammasat University was reached in 1992 to establish bachelor’s degree programs in engineering at Thammasat University with initial funds provided by Keidanren and FTI. After two years of successful operation, the “International Institute of Technology (IIT)” was founded on September 16, 1994. Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn graciously presided over the Cornerstone Laying Ceremony of a new building at the Rangsit Center of Thammasat University. His Majesty King Bhumibol Adulyadej of Thailand graciously granted the Institute a new name, “Sirindhorn International Institute of Technology (SIIT),” on June 28, 1996. SIIT offers undergraduate and graduate programs (master and doctoral levels) leading to the Bachelor of Engineering (B.Eng.), Bachelor of Science (B.Sc.), Master of Engineering (M.Eng.), Master of Science (M.Sc.), and Doctor of Philosophy (Ph.D.). At the present time, the Institute has established both faculty member and student exchange programs with a number of universities in Asia, Australia, Europe, and North America. These programs allow not only faculty members to collaborate with their counterparts in research projects, but also students to have an opportunity to take courses at those universities. Additionally, invitations to visit and teach SIIT courses are regularly extended to qualified foreign professors under such programs.

]]>
CoTT: ด้านระบบการผลิตแบบ Digital Lean และการจัดการโลจิสติกส์ – สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น https://www.nectec.or.th/ace2021/exh43-cottthjp/ Fri, 03 Dec 2021 10:04:42 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2021/?p=4091

CoTT: ด้านระบบการผลิตแบบ Digital Lean และการจัดการโลจิสติกส์ – สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

ศูนย์ความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีเฉพาะด้านระบบการผลิตแบบ Digital Lean และ การจัดการโลจิสติกส์ (Center of Technology Transfer Digital Lean Manufacturing System and Logistic Management ) เป็นโครงการความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญีปุ่น และ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ด้วยวิสัยทัศน์ “มุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านศูนย์ความเชี่ยวชาญการจัดการระบบการผลิตแบบ Digital Lean และการจัดการโลจิสติกส์ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานพัฒนาเทคโนโลยีสู่อุตสาหกรรม 4.0”เป็นโครงการความร่วมมือทางด้านพัฒนางานวิจัย และ เทคโนโลยี และ บุคลากรทางด้าน Digital Lean Manufacturing เพื่อนำผลงานที่ได้จากการวิจัยและพัฒนานำไปถ่ายทอดเทคโนโลยี การให้คำปรึกษา ให้การให้ภาคอุตสาหกรรม SME ไทย และ รวมทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนในการพัฒนางานวิจัยและเทคโนโลยีทางด้าน Digitail Lean Manufaceturing ได้แก่ สถาบันการศึกษา บริษัทเอกชน เป็นต้น

]]>
CoTT: คลังสินค้าอัจฉริยะ – มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี https://www.nectec.or.th/ace2021/exh42-cott/ Fri, 03 Dec 2021 10:02:07 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2021/?p=4083

CoTT: คลังสินค้าอัจฉริยะ – มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

SMART WAREHOUSE CENTER OF TECHNOLOGY TRANSFER เป็นศูนย์ความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีเฉพาะด้านคลังสินค้าอัจฉริยะ ที่เกิดจากความร่วมมือของศูนย์วิจัยนวัตกรรมโลจิสติกส์ (LOGIN) และโปรแกรมไอเอ๊กซ์ (INNOVATION EXPERIENCE PROGRAM: IX) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ด้วยวิสัยทัศน์สู่ “การเป็นผู้นำและผู้ผลักดันการปฏิรูปคลังสินค้าด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่” ได้แก่ IoT-enabled Smart Warehouse Solution, UNAI – BLE (Bluetooth Low Energy) และ UNAI – UWB (Ultra-Wide Band) กับพันธกิจของการวิจัยและพัฒนา การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ การถ่ายทอดเทคโนโลยี การให้คำปรึกษา และการสร้างระบบนิเวศน์และเครือข่ายความร่วมมือของภาคเอกชน ตั้งแต่ ผู้ให้บริการเทคโนโลยี (Technology Provider) นักบูรณาการระบบ (System Integrator) ผู้ให้บริการอื่นๆ (Service Provider) และผู้ใช้งาน เช่น โรงงาน คลังสินค้า ศูนย์กระจายสินค้า โรงพยาบาล เป็นต้น โดยใช้อรรถประโยชน์ของศูนย์สาธิตระบบคลังอัจฉริยะ (Smart Warehouse Learning Laboratory) ภายใต้ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center) ในการแสดง สาธิต ทดลอง และทดสอบเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องร่วมกัน

]]>
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ https://www.nectec.or.th/ace2021/exh41-rmutk/ Fri, 03 Dec 2021 09:58:29 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2021/?p=4075

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

ตลอดระยะเวลา 1 ทศวรรษ ของการยกระดับเป็นมหาวิทยาลัย เราได้มีการวางรากฐานการพัฒนาบุคลากร ทั้งอาจารย์ และเจ้าหน้าที่ ตลอดจนพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีความทันสมัยและมีความเป็นมาตรฐาน สากล เพื่อตอกย้ำภารกิจของมหาวิทยาลัยในการ ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ ที่รู้ทฤษฎี เก่งปฏิบัติ และมีความคิดสร้างสรรค์ อันเป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่นและเข้มข้นอยู่ในสายเลือดของชาวราชมงคลมากว่า 80 ปี และเป็นอัตลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพในปัจจุบัน ภายใต้ค่านิยมหลักขององค์กรคือ U-T-K

U หมายถึง Unity (ความ สามัคคีรวมเป็นหนึ่งเดียว) บุคลากรและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยมีใจรวมกันเป็นหนึ่งเดียว มีความสามัคคีกลมเกลียว ร่วมใจกันทำงานเพื่อประโยชน์ของมหาวิทยาลัยและราชการเป็นหลัก
T หมายถึง Talent (ความสามารถพิเศษ) บุคลากรและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยได้รับการฝึกฝนจนมีความสามารถที่โดดเด่นเฉพาะ แตกต่างจากบุคคลอื่น
K หมายถึง Keeness (ความ เชี่ยวชาญ) บุคลากรและนักศึกษาใฝ่หาความรู้ มุ่งพัฒนาตนเองให้มีความเชี่ยวชาญทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติบน พื้นฐานเทคโนโลยีเชิงสร้างสรรค์

]]>