SERs – NECTEC-ACE 2019 https://www.nectec.or.th/ace2019 NECTEC Annual Conference and Exhibitions 2019 Mon, 21 Oct 2019 03:30:31 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.4.1 https://www.nectec.or.th/ace2019/wp-content/uploads/2019/06/cropped-logo_ACE2019-175-32x32.png SERs – NECTEC-ACE 2019 https://www.nectec.or.th/ace2019 32 32 Session 13 : เสริมแกร่งให้เทคโนโลยีตรวจวัดสารเคมีโดยใช้เทคนิคเชิงแสงในประเทศไทย ด้วยความร่วมมือจากภาคการวิจัยและภาคธุรกิจ https://www.nectec.or.th/ace2019/session-13-opto-chemical/ Mon, 22 Jul 2019 03:21:24 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2019/?p=2035 Read more

]]>
ace2019-ss13

หัวข้อ : เสริมแกร่งให้เทคโนโลยีตรวจวัดสารเคมีโดยใช้เทคนิคเชิงแสงในประเทศไทยด้วยความร่วมมือจากภาคการวิจัยและภาคธุรกิจ (Strengthen Thailand’s opto – chemical sensing technology with NECTEC & Partners)
วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2562 เวลา 10.30 – 12.00 น.
ห้อง Ladprao 3 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ (เซ็นทรัลลาดพร้าว)

เนื้อหาโดยย่อ 
ปัจจุบันกระแสความต้องการของการตรวจวัดสารเคมีและสารชีวเคมีมีแนวโน้มเปลี่ยนไปสู่การใช้เทคนิคการวิเคราะห์สเปกตรัม ทางแสงเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นเทคนิคที่ตรวจวัดได้เร็วสามารถพัฒนาตรวจวิเคราะห์ในภาคสนามได้ ไม่ต้องใช้สารเคมีสิ้นเปลืองปริมาณมากเหมือนเทคนิควิเคราะห์มาตรฐานและที่สำคัญไม่ต้องอาศัยผู้ใช้ที่มีความชำนาญเป็นพิเศษทางด้านเคมีวิเคราะห์ที่นับวัน จะหาได้ยากขึ้น

ทางศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติได้พัฒนางานวิจัยด้านชิปขยายสัญญาณรามาน (OnSpec; SERS) มาอย่างต่อเนื่อง โดยดำเนินการวิจัยและพัฒนาขึ้นด้วยเทคนิคการเคลือบฟิล์มขั้นสูงมีค่าอัตราการขยายสัญญาณสูงกว่าผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันที่มีขายในท้องตลาดพื้นผิวขยายสัญญาณประกอบด้วยชิปในบรรจุภัณฑ์พร้อมใช้งานสามารถประยุกต์ใช้ได้กับการตรวจวัดสารเคมีในระดับ trace concentration ได้หลายชนิด

การเสวนาในหัวข้อนี้มุ่งหาแนวทางสำหรับการขยายผลผลักดันการใช้งานชิปขยายสัญญาณรามานไปสู่ภาคธุรกิจ ความท้าทายในด้านการพัฒนาระบบนิเวศแวดล้อมของเทคโนโลยีให้ตรงกับความต้องการของตลาด มีการแลกเปลี่ยนความเห็นการมองโอกาสในตลาดและความสำคัญของเนคเทคที่จะมีต่อการเพิ่มมูลค่าให้สินค้าและบริการของเอกชน

กำหนดการ

เวลา 10.30 – 12.00 น. การเสวนา : เสริมแกร่งให้เทคโนโลยีตรวจวัดสารเคมีโดยใช้เทคนิคเชิงแสงในประเทศไทย ด้วยความร่วมมือจากภาคการวิจัยและภาคธุรกิจ

ดำเนินรายการโดย

ดร.นพดล นันทวงศ์
หัวหน้าทีมวิจัยเทคโนโลยีเซนเซอร์แสงไฟฟ้าเคมี
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
(ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย)

]]>