Education – NECTEC-ACE 2019 https://www.nectec.or.th/ace2019 NECTEC Annual Conference and Exhibitions 2019 Mon, 21 Oct 2019 03:20:02 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.4.1 https://www.nectec.or.th/ace2019/wp-content/uploads/2019/06/cropped-logo_ACE2019-175-32x32.png Education – NECTEC-ACE 2019 https://www.nectec.or.th/ace2019 32 32 Session 4 : สิทธิประโยชน์จากภาครัฐด้านการส่งเสริมพัฒนาการของบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ https://www.nectec.or.th/ace2019/session-4-disability/ Fri, 19 Jul 2019 09:29:28 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2019/?p=1968 Read more

]]>
ace2019-14session-042

หัวข้อ : สิทธิประโยชน์จากภาครัฐด้านการส่งเสริมพัฒนาการของบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2562 เวลา 13.00 – 16.15 น.
ห้อง Ballroom C โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ (เซ็นทรัลลาดพร้าว) 

เนื้อหาโดยย่อ

เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า ส่วนใหญ่บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้จะประสบปัญหาทางด้านการอ่าน (Dyslexia) การเขียน (Dysgraphia) และการคำนวณ (Discalculia)  กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้มีกระบวนการคัดกรองเพื่อจัดการเรียนการสอนสำหรับบุคคลที่บกพร่องทางการเรียนรู้ ทำให้ทราบว่า ในปี 2562 มีจำนวนนักเรียน ที่บกพร่องทางการเรียนรู้อยู่จำนวน 349,753 คน ตามพ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ  พ.ศ. 2550 มาตรา 20 กล่าวถึง ผู้บกพร่องทางการเรียนรู้ได้มีสิทธิเข้าถึง และใช้ประโยชน์ได้จากสิ่งอํานวย ความสะดวกอันเป็นสาธารณะ ตลอดจนสวัสดิการและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ ทั้งในด้าน การบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ การศึกษา การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ ปัจจุบัน ภาครัฐประกอบด้วย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการจัดสวัสดิการสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และในปี 2562 กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ เพิ่มเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ไว้ในสวัสดิการด้วย

ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) ได้มีการพัฒนาชุดซอฟแวร์ช่วยการเขียน และการอ่านสำหรับบุคคลที่บกพร่องทางการเรียนรู้ ที่ผ่านมา มีการทดลองใช้ตามโรงเรียนสังกัด สพฐ. ทั่วประเทศ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เครือข่ายสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ เครือข่ายสถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยส่งเสริมทักษะด้านการเขียนสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการเขียน ในการเสวนาครั้งนี้ จึงได้เชิญผู้เชี่ยวชาญ ที่เกี่ยวข้องมาร่วมเสวนาเพื่อผลักดันเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกให้มีการนำไปใช้ได้จริง และมีการติดตามการใช้งานอย่างต่อเนื่อง

กำหนดการ

เวลา 13.00 – 13.30 น.
วีดิทัศน์นำเสนอการใช้เทคโนโลยีสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

  • นำเสนอเทคโนโลยีสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการเขียน
    โดย ดร.อรอินทรา ภู่ประเสริฐ ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์
  • นำเสนอเทคโนโลยีสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน
    โดย ดร.อนันต์ลดา โชติมงคล ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์

เวลา 13.30 – 16.15 น.
เสวนา : สิทธิประโยชน์จากภาครัฐด้านการส่งเสริมพัฒนาการของบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

  • “ประสบการณ์ด้านการอ่านและการเขียนของบุคคลที่มีความพิการทางการเรียนรู้”

    โดย คุณปิยนาถ มณีรัตนายล
    
นายกสมาคมส่งเสริมศักยภาพบุคคลบกพร่องทางการเรียนรู้แห่งประเทศไทย
    (ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย 1 )
    (ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย 2 )
    (ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย 3 )
  • “การจัดสวัสดิการและการใช้ประโยชน์ชุดซอฟต์แวร์ช่วยการเขียนบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในโรงเรียนสังกัด สพฐ.”
    โดย ดร.สมพร หวานเสร็จ
    
ผู้อำนวยการ ศูนย์การศึกษาพิเศษส่วนกลาง
    กระทรวงศึกษาธิการ
    (ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย 1 )
    (ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย 2 )
  • “การใช้ประโยชน์ชุดซอฟต์แวร์ช่วยการเขียนบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในเครือข่ายโรงพยาบาลของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี”
    โดย พญ.อดิศร์สุดา เฟื่องฟู

    ประธานศูนย์เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก
    สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
    กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
    (ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย)
  • การจัดสวัสดิการสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ภายใต้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
    โดย  ดร. วรรณศิริ  พัวศิริ
    นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการพิเศษ
    สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
    กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
    (ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย)
  • “ความสำคัญของการส่งเสริมพัฒนาการของบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และหลักการประเมินเด็ก LD ที่สามารถเบิกสวัสดิการได้”
    โดย รศ.นพ.มนัท สูงประสิทธิ์
    ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
    คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
    (ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย)
  • การสนับสนุนอุปกรณ์เครืองช่วยความพิการ และสื่อส่งเสริมพัฒนาการ จากภาครัฐ โดยสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ
    โดย พ.ญ.จุไรรัตน์ บัวภิบาล
    แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
    สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ
    (ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย)

ดำเนินรายการโดย

คุณวันทนีย์  พันธชาติ
ผู้อำนวยการศูนย์เฉพาะทาง
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์

]]>
Session 2 : วัฒนธรรมดิจิทัลกับการหนุนนำเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในบริบทการท่องเที่ยว (Digital Culture for Creative Economy in Tourism Domain) https://www.nectec.or.th/ace2019/session-2-digitalculture/ Fri, 19 Jul 2019 08:57:53 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2019/?p=1961 Read more

]]>
ace2019-ss02

หัวข้อ : วัฒนธรรมดิจิทัลกับการหนุนนำเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในบริบทการท่องเที่ยว (Digital Culture for Creative Economy in Tourism Domain)
วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2562 เวลา 13.00 น. – 14.30 น.
ห้อง Ballroom A โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ (เซ็นทรัลลาดพร้าว)

เนื้อหาโดยย่อ

ข้อมูลวัฒนธรรมในรูปแบบดิจิทัลเป็นคลังความรู้ที่มีคุณค่า เป็นแหล่งทรัพยากรต้นทางให้กับการสร้างนวัตกรรม เพื่อสนับสนุนภาคการศึกษาภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และธุรกิจดิจิทัล ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ได้ดำเนินกิจกรรมวิจัยและพัฒนาด้านข้อมูลวัฒนธรรม มามากกว่า 6 ปี สร้างเครือข่ายองค์กรด้านวัฒนธรรม ทั้งในกรุงเทพฯ และภูมิภาค ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่มีอยู่แล้วจากแหล่งทรัพยากรต่างๆ ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ เพื่อนำมาจัดเก็บและพัฒนาให้เกิดเป็นโครงสร้างข้อมูลเชิงความหมายให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลเข้าหากันได้ เกิดเป็นเครือข่ายข้อมูลวัฒนธรรมขนาดใหญ่ โดยโครงข่ายข้อมูลดังกล่าวจะสามารถนำมาเปิดเผยสู่สาธารณะในรูปแบบเว็บให้บริการ และนำมาพัฒนาต่อยอดเป็นแอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ก่อให้เกิดการรับรู้และเข้าถึงข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ การให้บริการดังกล่าวจะเป็นการส่งเสริมให้เกิดการต่อยอดการใช้งานข้อมูลวัฒนธรรมดิจิทัลไปสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมได้ในอนาคต

ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติได้กำหนดเรื่องเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในบริบทการท่องเที่ยว การนำวัฒนธรรมดิจิทัลเข้ามาจะช่วยสนับสนุนงานในบริบทนี้ ประเด็นในการสัมมนาจะประกอบด้วย
(1)   ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเพื่อเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์
(2)   การรวบรวม การจัดเก็บ และการเชื่อมโยงข้อมูลวัฒนธรรมดิจิทัล
(3)   การประยุกต์วัฒนธรรมดิจิทัลสู่บริบทการท่องเที่ยว

กำหนดการ

เวลา 13.00 – 14.30 น.

  • การเสวนา “วัฒนธรรมดิจิทัลกับการหนุนนำเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในบริบทการท่องเที่ยว”
    การเสวนานี้ ผู้แทนแต่ละท่านจะมาเล่าถึงมุมมองและประสบการณ์ด้านการทำงานวัฒนธรรมดิจิทัลในมิติต่างๆ ได้แก่ ด้านนโยบายที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ของประเทศ นโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดแนวทางการพัฒนา “แพลตฟอร์มสำหรับบริหารจัดการและให้บริการข้อมูลวัฒนธรรม (NAVAnurak Platform)”
  • ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเพื่อเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ความต้องการเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและให้บริการข้อมูลสารสนเทศด้านการท่องเที่ยวให้ตรงกับความต้องการ และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อส่งเสริมคุณค่าการท่องเที่ยวของประเทศไทย ขับเคลื่อนห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและกระจายรายได้อย่างยั่งยืน
    • โดย  คุณเพลินพิศ หมื่นพล
      ผู้อำนวยการฝ่ายดิจิทัล และเทคโนโลยีสารสนเทศ
      การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
  • นโยบายการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้เพื่อใช้ในการพัฒนาการท่องเที่ยวไทยสู่ความยั่งยืน การสร้างความพึงพอใจแก่นักท่องเที่ยว โดยไม่ทำลายสมดุลระหว่างการรักษาต้นทุนทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ กลไกการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เพื่อยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของการท่องเที่ยวไทยในเวทีระดับนานาชาติ
    • โดย  ผศ. สุภาวดี โพธิยะราช
      ผู้อำนวยการฝ่ายการวิจัยมุ่งเป้า
      สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
  • อพท. ในนามขององค์กรแห่งความเป็นเลิศด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อสร้างชุมชนแห่งความสุข มาแบ่งปันประสบการณ์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์การพัฒนาและส่งเสริมต้นแบบการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยชุมชน
    • โดย คุณพัฒน์มาศ วงศ์พัฒนศิริ
      ผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน
      องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.)
      (ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย)
  • ศมส. องค์กรหลักในการจัดการข้อมูลความรู้ด้านมานุษยวิทยาเพื่อสร้างความเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรมของชาติ จะมาให้ความรู้และแบ่งปันประสบการณ์ในการจัดเก็บ รวบรวม และบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศด้านสังคม-วัฒนธรรม มานุษยวิทยาและศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การสร้างเครือข่ายวัฒนธรรมทั่วประเทศ
  • การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งาน และรองรับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ และแผนยุทธศาสตร์ชาติ

ดำเนินรายการโดย
คุณนิรมล ประทีปะจิตติ
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

]]>
Session 1 : KidBright กับวิทยาการคำนวณ (KidBright and Computing Science) https://www.nectec.or.th/ace2019/session-1-kidbright/ Fri, 19 Jul 2019 08:28:32 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2019/?p=1959 Read more

]]>
ace2019-ss01

หัวข้อ : KidBright กับวิทยาการคำนวณ (KidBright and Computing Science)
วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2562 เวลา 10.30 – 12.00 น.
ห้อง Ballroom A โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ (เซ็นทรัลลาดพร้าว)

เนื้อหาโดยย่อ

วิชาวิทยาการคำนวณ (Computing science) เป็นวิชาที่จะมาแทนที่วิชาคอมพิวเตอร์หรือวิชาทางด้านเทคโนโลยี วิชาใหม่นี้จะสอนให้เด็กๆ มีกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและสามารถนำมาปรับใช้เพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ในสาขาวิชาต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และวิชาอื่นๆ เนื่องจากเป็นกระบวนการคิดจึงต้องมีการออกแบบบทเรียนและเครื่องมือในการสอนที่เหมาะสม วิธีการหนึ่งคือการพัฒนากระบวนการคิดผ่านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ประเด็นในการเสวนาประกอบด้วย

(1) ยุทธศาสตร์การศึกษาของประเทศ
(2) ความสำคัญของการเรียนวิทยาการคำนวณตั้งแต่ระดับประถม
(3) หลักสูตรและแผนการสอนวิชาวิทยาการคำนวณด้วยบอร์ดส่งเสริมการเรียนโปรแกรมมิ่ง KidBright

กำหนดการ

เวลา 10.30 – 12.00 น.
การเสวนาหัวข้อ “KidBright กับวิทยาการคำนวณ”  โดย

  • รศ.ยืน ภู่วรวรรณ
    ที่ปรึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ
    มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ดร.โชติมา หนูพริก
    ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการศึกษา สำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ
    สำนักงานคณะการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
  • คุณจินดาพร หมวกหมื่นไวย
    ผู้ชำนาญ สาขาเทคโนโลยี  สำนักวิชาคณิตศาสตร์และเทคโนโลยี
    สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
  • ดร.เสาวลักษณ์ แก้วกำเนิด
    นักวิจัยอาวุโส
    ทีมวิจัยเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว กลุ่มวิจัยระบบอัจฉริยะ
    ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

ดำเนินรายการโดย

คุณศิริพร ปานสวัสดิ์
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

]]>