หัวข้อ : วิศวกรรมควอนตัมในประเทศไทย (Quantum Engineering in Thailand)
วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2562 เวลา 13.00 – 14.30 น.
ห้อง Ladprao 1 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ (เซ็นทรัลลาดพร้าว)
เนื้อหาโดยย่อ
วิศวกรรมควอนตัม (Quantum Engineering) เป็นการวิจัยและพัฒนาในเส้นทางใหม่ โดยใช้ความรู้ทางควอนตัมฟิสิกส์เป็นแกนหลักสำคัญผนวกกับความพยายามเชิงวิศกรรม ที่จะมุ่งเน้นให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง เกิดเป็นนวัตกรรม และเทคโนโลยีขั้นสูง ที่จะสร้างผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคม
เสวนาในหัวข้อนี้จะนำเสนองานวิจัยในกลุ่มของวิศวกรรมควอนตัม โดยหยิบยกตัวอย่างงานวิจัยของภาครัฐของไทยที่กำลังดำเนินการอยู่ ซึ่งประกอปไปด้วย (1) งานทางด้านการพัฒนาระบบสุ่มตัวเลขด้วยหลักการทางควอนตัม (Quantum Random Number Generator) (2) การทำการจำลองทางควอนตัมสำหรับการศึกษาในเชิงเคมี (Quantum Chemistry) (3) การพัฒนานาฬิกาอะตอม (Atomic Clock) สำหรับการยกระดับความแม่นยำของมาตรฐานเวลา และ (4) อุปสรรคหลักที่ขัดขวางความยิ่งใหญ่ของควอนตัมเทคโนโลยี (Quantum Supremacy)
กำหนดการ
เวลา 13.00–14.30น.
การเสวนา : “วิศวกรรมควอนตัมในประเทศไทย(Quantum Engineering in Thailand)” โดย
- ดร.คณิน อึ้งสกุลสิริ
นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
(ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย) - ดร.อภิชัย จอมเผือก
นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
(ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย) - ดร.ปิยพัฒน์ พูลทอง
สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ
(ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย) - ดร.สุจินต์ สุวรรณะ
มหาวิทยาลัยมหิดล
(ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย)
ดำเนินรายการโดย
ดร.ปรัชญา บุญขวัญ
นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ