หัวข้อ : เทคโนโลยีพื้นผิวน้ำและน้ำมันไม่เกาะแบบยิ่งยวด สำหรับการใช้งานทางการแพทย์และสภาวะใต้ทะเล
(โครงการวิจัย FleXARs)
วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2562 เวลา 13.00 – 16.15 น.
ห้อง Ladprao 2 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ (เซ็นทรัลลาดพร้าว)
เนื้อหาโดยย่อ
บรรยายและเสวนาเทคโนโลยีในโครงการวิจัย FleXARs ซึ่งเป็นการพัฒนาฟิล์มสิ่งมีชีวิตไม่เกาะ (Everything-free surface) ซึ่งชั้นฟิล์มสร้างจากวัสดุคอมโพสิตโพลิเมอร์ชนิด โพลีไดเมทิลไซล๊อกเซน (Polydimethylsiloxane, PDMS) และโพลียูริเทนอะคลีเลต (Polyurethane acrylate, PUA) ซึ่งทำให้มีคุณสมบัติยืดหยุ่นและทนทานต่อการใช้งานในทางการแพทย์และสภาวะใต้ทะเลได้ โดยพื้นผิวของวัสดุคอมโพสิตฯดังกล่าว จะมีลวดลายจุลภาคที่มีความทนทานต่อแรงกระทำภายนอก (Robust microstructure) ที่ก่อให้เกิดคุณสมบัติน้ำและน้ำมันไม่เกาะแบบยิ่งยวด (Superoleophobic surface) ซึ่งจะป้องกันการเกาะตัวของสิ่งมีชีวิตบนพื้นผิววัสดุต่างๆ โดยในการสร้างฟิล์ม FleXARs นั้น จะใช้เทคโนโลยี Roll-to-roll process ซึ่งสามารถผลิตชั้นฟิล์ม FleXARs ที่มีพื้นที่หน้าตัด 35 เซนติเมตร ยาว 100 เมตร ได้ โดยด้านหลังชั้นฟิล์มฯจะมีชั้นกาว เพื่อให้ฟิล์ม FleXARs สามารถติดกับพื้นผิวของวัสดุต่างๆ
ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าว สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการป้องกันการเกาะของเพรียงและสาหร่ายทะเลบนพื้นผิวท้องเรือ และเสาแท่นขุดเจาะน้ำมัน (Marine applications) อีกทั้งยังใช้ในการป้องกันการเกาะของแบคทีเรียในห้องผ่าตัดและห้องพักฟื้นผู้ป่วย (Medical applications) รวมถึงยังสามารถใช้ในการป้องกันการเกาะของเชื้อโรค สำหรับส่วนมือจับต่างๆในระบบขนส่งมวลชน (Public transportation applications)
กำหนดการ
เวลา 13.00–13.45 น.
ช่วงที่ 1 : กล่าวเปิดงานและเกริ่นนำเกี่ยวกับเทคโนโลยีสิ่งมีชีวิตไม่เกาะ
- ความสำคัญของเทคโนโลยีการป้องกันการเกาะของสิ่งมีชีวิตบนพื้นผิววัสดุ และกลไกการเกาะของเพรียงทะเล
โดย ดร.พรเทพ พรรณรักษ์
สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย) - เทคโนโลยีฟิล์ม FleXARs สำหรับป้องกันการเกาะของสิ่งมีชีวิตบนพื้นผิววัสดุ
โดย ดร.นิธิ อัตถิ
นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
(ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย)
เวลา 13.50-15.30 น.
ช่วงที่ 2 : การออกแบบและการสร้างฟิล์ม FleXARs ที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ สำหรับการประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์
- การออกแบบลวดลายจุลภาคบนชั้นฟิล์ม FleXARs
โดย ดร. นิธิ อัตถิ
นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
(ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย) - การศึกษาพฤติกรรมการรับแรงกดของลวดลายจุลภาคที่สร้างด้วยวัสดุโพลีไดเมทิลไซล๊อกเซน ด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์
โดย รศ.ดร.ธำรงค์ พุทธาพิทักษ์ผล
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
(ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย) - การพัฒนาวัสดุคอมโพสิตชนิด PDMS/PUA สำหรับการใช้งานในสภาวะทะเลและการแพทย์
โดย ผศ.ดร.มานิตย์ นิธิธนากุล
วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย) “Flexible electronics at ITRI”
Dr. Je Ping Hu and Dr. Hsin-Chu Chen
Industrial Technology Research Institute (ITRI)
(ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย)Cost-effective FleXARs Mold into the R2R process” feasibility development
Dr. Hsin-Chu Chen
Industrial Technology Research Institute (ITRI)
(ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย)
เวลา 15.35-16.00 น.
ช่วงที่ 3 : การเสวนาเรื่อง ความเป็นไปได้ในการผลิตฟิล์ม FleXARs และการนำไปใช้งานของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
- ดร.พรเทพ พรรณรักษ์
สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - รศ.ดร.ธำรงค์ พุทธาพิทักษ์ผล
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ - ผศ.ดร.มานิตย์ นิธิธนากุล
วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - Dr. Je Ping Hu and Dr. Hsin-Chu Chen
Industrial Technology Research Institute (ITRI) - ดร. นิธิ อัตถิ
นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
เวลา 16.00-16.15 น.
อภิปรายตอบข้อซักถามและปิดการเสวนา