NECTEC-ACE 2018 https://www.nectec.or.th/ace2018 Annual Conference and Exhibition 2018 Fri, 02 Nov 2018 10:44:36 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=4.9.8 https://www.nectec.or.th/ace2018/wp-content/uploads/2018/06/cropped-ace-512-32x32.png NECTEC-ACE 2018 https://www.nectec.or.th/ace2018 32 32 Session 12 : เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของการบริหารจัดการน้ำ https://www.nectec.or.th/ace2018/ss12-dsrms/ Fri, 10 Aug 2018 23:19:48 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2018/?p=875 Read more

]]>

หัวข้อ : เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของการบริหารจัดการน้ำ

ห้องสัมมนา : Meeting Room 4
เวลา : 14.45 – 16.15 น.

น้ำมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของประชาชนและช่วยรักษาสภาพแวดล้อมของประเทศ ที่ผ่านมาประเทศไทยประสบทั้งภาวะภัยแล้งและอุทกภัยอย่างรุนแรงและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นมูลค่ามหาศาล เขื่อนคือสิ่งก่อสร้างทางวิศวกรรมสำหรับบริหารจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค การรักษาสมดุลระบบนิเวศน์ลำน้ำ การเกษตร และอื่น ๆ ให้เหมาะสม นอกจากนั้นเขื่อนช่วยรองรับปริมาณน้ำส่วนหนึ่งไว้เพื่อชะลอน้ำท่วมพื้นที่ท้ายน้ำในช่วงน้ำหลากและกักเก็บน้ำไว้ให้ประชาชนได้ใช้อย่างเพียงพอในสถานการณ์น้ำแล้งการเสวนานี้จะกล่าวถึงการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศในการดูแลความปลอดภัยของตัวเขื่อนตลอดจนการบริหารจัดการน้ำที่ได้จากเขื่อนเพื่อการอุปโภคบริโภค

การบริหารจัดการน้ำต้องคำนึงถึงปัจจัยที่สำคัญคือความปลอดภัยของตัวเขื่อน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีเขื่อนขนาดใหญ่อยู่ในความรับผิดชอบทั้งหมด14เขื่อนทั่วประเทศซึ่งมีบทบาทสำคัญในภาระกิจการบริหารจัดการน้ำของประเทศการดูแลความปลอดภัยเขื่อนของ กฟผ. นั้นนอกจากทำการตรวจสอบเขื่อนด้วยสายตา (Visual Inspection) เป็นประจำโดยเจ้าหน้าที่ประจำเขื่อนและผู้เชี่ยวชาญแล้ว กฟผ. ยังได้พัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยมาช่วยในการตรวจสอบอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่ผู้ตรวจสอบไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่ได้ด้วยตนเอง หรือใช้เวลามากในการตรวจสอบ

ในช่วงหน้าแล้ง เขื่อนนั้นยังเป็นเครื่องมือบริหารจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคที่สำคัญในการเพิ่มปริมาณการไหลลงของน้ำท่า ลดผลกระทบของการรุกล้ำของน้ำทะเล เพื่อรักษาคุณภาพน้ำดิบในการผลิตน้ำประปาเพื่อการอุปโภคบริโภค การประปานครหลวง (กปน.) มีหน้าที่หลักในการจัดหาแหล่งน้ำดิบ จัดให้ได้มาซึ่งน้ำดิบเพื่อใช้ในการประปา สำหรับกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง เพื่อการดังกล่าว กปน. ได้พัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ และ ระบบสารสนเทศ ที่ทันสมัยมาช่วยในตรวจสอบและรายงานคุณภาพน้ำดิบเพื่อการผลิตน้ำประปาที่ได้คุณภาพตามมาตราฐานสากล

กำหนดการ

14.45 – 16.15 น.  เสวนา หัวข้อ การพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศในการดูแลความปลอดภัยเขื่อนตลอดจนการบริหารจัดการน้ำที่ได้จากเขื่อนเพื่อการอุปโภคบริโภค ประกอบด้วย

  • เทคโนโลยีและการพัฒนางานด้านความปลอดภัยเขื่อน กฟผ.
    โดย คุณดนัย วัฒนาดิลกกุล
    หัวหน้ากองความปลอดภัยเขื่อน กฟผ.
    ดาวน์โหลดไฟล์นำเสนอ
  • การบริหารจัดการน้ำในเขื่อนภายใต้ความดูแลของ กฟผ.
    โดย คุณชัยยุทธ จารุพัฒนานนท์
    หัวหน้ากองจัดการทรัพยากรน้ำ กฟผ.
    ดาวน์โหลดไฟล์นำเสนอ
  • ระบบสารสนเทศเพื่อภาระกิจของการประปานครหลวงในด้านการจัดการน้ำดิบเพื่อผลิตน้ำประปา
    โดย คุณนิพนธ์ ลีลารุจิ
    หัวหน้าส่วนสารสนเทศทรัพยากรน้ำ
    ดาวน์โหลดไฟล์นำเสนอ

ดำเนินรายการโดย
ดร. จิตติวุฒิ สุวัตถิกุล
คุณสิริอร อุมรินทร์
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

]]>
About NECTEC-ACE 2018 https://www.nectec.or.th/ace2018/about/ Thu, 02 Aug 2018 11:57:18 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2018/?p=737 Read more

]]>
งานประชุมวิชาการและนิทรรศการของเนคเทค ประจำปี 2561
NECTEC Annual Conference and Exhibitions 2018
“ประเทศไทยก้าวไกล ด้วยงานวิจัยใช้ได้จริง”

วันอังคารที่ 25 กันยายน 2561
ณ ห้องบอลรูม รีเซฟชั่นฮอลล์ โซนเอ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ

ปาถกฐา “ประเทศไทยก้าวไกล ด้วยงานวิจัยใช้ได้จริง”
โดย ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร
ดาวน์โหลดไฟล์นำเสนอ

ประเทศไทยยังคงเดินหน้าตามนโยบายปฏิรูปประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และปฏิรูปประเทศไทยสู่ไทยแลนด์ 4.0 จะใช้นวัตกรรมนำไทยสู่ประเทศพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยผลักดันเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งหน่วยงานทุกภาคส่วนจะต้องร่วมกันกำหนดแนวทางการพัฒนาประเทศ และร่วมมีบทบาทในการขับเคลื่อน ไทยแลนด์ 4.0 พร้อมกับการปูพื้นฐานในการเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 เพื่อส่งเสริม และสร้างความเข้มแข็งภายในประเทศ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจ สร้างสังคมแห่งโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม และให้หลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) จึงกำหนดนโยบายหลักมุ่งเน้น 4 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ วิทย์แก้จน วิทย์สร้างคน วิทย์เสริมแกร่ง และวิทย์สู่ภูมิภาค

รัฐบาลได้ให้การสนับสนุน 4 นโยบายดังกล่าว เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบโครงการพัฒนาพิเศษขนาดใหญ่ (Big Rock) ให้กับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นงบประมาณทั้งสิ้น 3,292 ล้านบาท เพื่อช่วยกระตุ้นและสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจทั้งในระยะสั้น และระยะยาว โดยในระยะสั้นคือ เพื่อแก้ปัญหาของประเทศให้ตรงจุด และตรงกับความต้องการของคนในประเทศ ลดความเหลื่อมล้ำหรือแก้จนให้กับคนส่วนใหญ่ พร้อมกับสร้างคนรุ่นใหม่ ให้มีความคิดสร้างสรรค์ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม 4 นโยบายหลักจะเป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่ถูกตั้งความหวังว่าจะเป็นอีกหนึ่งกลไกหลักในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ ไทยแลนด์ 4.0 ตามยุทธศาสตร์หลักของรัฐบาล ต่อไป

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หน่วยงานหนึ่งในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ เนคเทค-สวทช. ภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีพันธกิจหลักดำเนินการวิจัย พัฒนา ออกแบบ วิศวกรรม และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของอุตสาหกรรมภายในประเทศให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งพัฒนาบุคลากร ตลอดจนเสริมสร้าง โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจ สังคม และชุมชนของประเทศ ด้วยพันธกิจดังกล่าว เนคเทค จะนำเอาผลงานวิจัยและองค์ความรู้ที่สะสมอย่างยาวนาน มาใช้เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนประเทศสู่ ไทยแลนด์ 4.0 ให้เกิดเป็นรูปธรรม ผลิตผลงานวิจัยที่จับต้องได้สามารถนำไปใช้ได้จริง เนคเทคได้กำหนดกรอบวิจัย 5 ประเด็นมุ่งเน้น เพื่อการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมายและสอดคล้องตามนโยบายหลัก 4 ประเด็นสำคัญของกระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่

“วิทย์แก้จน” ด้วยกรอบวิจัยมุ่งเน้นทางด้านเกษตรและอาหาร
“วิทย์สร้างคน และวิทย์เสริมแกร่ง” ด้วยกรอบวิจัยมุ่งเน้นทางด้านอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ ด้านสุขภาพและการแพทย์ ด้านการศึกษา ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
“วิทย์สู่ภูมิภาค” ด้วยกรอบวิจัยมุ่งเน้นทางด้านการศึกษาการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการพัฒนาชุมชนชายขอบ

ในทุกๆ ปี เนคเทค-สวทช. จะจัดให้มีการประชุมวิชาการประจำปี ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาผลงานวิจัยและส่งเสริมการสร้างเครือข่ายพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน วัตถุประสงค์หลักของการจัดงานประชุมวิชาการ เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าผลงานวิจัย พัฒนา และวิศวกรรมทางด้านอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ในสาขาต่างๆ ที่ใช้งานได้จริง และนำไปสู่ภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ และภาคการศึกษา เพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการสร้างนวัตกรรม เพื่อสร้างผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมในระดับประเทศได้อย่างยั่งยืนและส่งเสริมความเข้มแข็งทางวิชาการที่สามารถสร้างเครือข่ายทั้งในระดับอาเซียนและระดับสากล พร้อมแสดงให้เห็นถึงศักยภาพบุคลากรด้านวิจัย โดยจะมีเวทีการนำเสนอ การอภิปราย และการบรรยายพิเศษโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ จากทุกภาคส่วนทั้งในประเทศ และต่างประเทศ

สำหรับงานประชุมวิชาการและนิทรรศการของเนคเทคประจำปี 2561 หรือ NECTEC Annual Conference and Exhibitions 2018 (NECTEC – ACE 2018) ในปีนี้ กำหนดจัดในวันอังคารที่ 25 กันยายน 2561 ณ ห้องบอลรูม รีเซฟชั่นฮอลล์ โซนเอ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ภายใต้แนวคิด “ประเทศไทยก้าวไกล ด้วยงานวิจัยใช้ได้จริง” โดยมีเป้าหมายเป็นเวทีเพื่อนำเสนอผลงานวิจัยพัฒนาที่มีการนำไปใช้ในภาคส่วนต่างๆ หนุนการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ ไทยแลนด์ 4.0 ได้อย่างก้าวกระโดด ภายใต้กรอบวิจัย 5 ประเด็นมุ่งเน้น

และภายในงานปีนี้จะมีการนำเสนอผลงานโครงการภายใต้งบโครงการพัฒนาพิเศษขนาดใหญ่ (Big Rock) จำนวน 2 โครงการ ที่ เนคเทค-สวทช. ได้รับมอบหมายให้ดำเนินงานตามนโยบาย “วิทย์สร้างคน”และ”วิทย์สู่ภูมิภาค”

โครงการที่หนึ่ง ได้แก่ โครงการสื่อการสอนโปรแกรมมิ่งในโรงเรียน (Coding at School Powered by KidBright) ทีมนักวิจัยเนคเทคจัดทำบอร์ดสมองกลฝังตัว KidBright จำนวน 200,000 ชุด แจกจ่ายให้โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในสังกัดของรัฐ ประมาณ 1,000 แห่ง ทั่วประเทศ เพื่อพัฒนากำลังคนด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในโรงเรียน และยกระดับความสามารถของเด็กไทยสู่ความเป็นเลิศในระดับภูมิภาคและระดับสากล และตามนโยบาย “วิทย์สร้างคน”และ“วิทย์เสริมแกร่ง”

โครงการที่สอง ได้แก่ โครงการขยายผลงานวิจัย DentiiScan เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ไทย อีกหนึ่งผลงานของทีมวิจัยเนคเทค ในการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางทันตกรรมได้แก่ เครื่อง เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามมิติทางทันตกรรม (DentiiScan), ซอฟต์แวร์ช่วยวางแผนการผ่าตัดรากฟันเทียม (DentiPlan), การออกแบบและผลิตครอบฟันเซรามิกส์ โดยทำการติดตั้งเครื่อง DentiiScan ในโรงพยาบาลภาครัฐ จำนวน 50 แห่ง เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลทางทันตกรรมในระดับประเทศด้วยนวัตกรรมไทย และเป็นฐานในการสร้างอุตสาหกรรมการบริการทางการแพทย์ที่เป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลทางทันตกรรมในระดับประเทศ นอกจากนี้ เนคเทค-สวทช. จะถ่ายทอดองค์ความรู้จากผลงานวิจัยของเนคเทค และผลงานที่ร่วมกับพันธมิตร มานำเสนอในรูปแบบการสัมมนาวิชาการ และการจัดนิทรรศการ


การจัดสัมมนาวิชาการ

NECTEC-ACE 2018 มุ่งเน้นการนำเสนอทั้งแนวโน้มเทคโนโลยี ที่อาจมีทั้งผลกระทบและสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 ในระยะเวลาอันใกล้ รวมถึงการนำเสนอแนวทางผลักดันผลงานวิจัยพร้อมใช้ได้จริงของเนคเทคและเครือข่ายพันธมิตร เพื่อตอบโจทย์ด้านต่างๆ อาทิ “วิทย์แก้จน” “วิทย์สร้างคน” “วิทย์เสริมแกร่ง” หรือ “วิทย์สู่ภูมิภาค” เป็นต้น ทั้งนี้มีหัวข้อสัมมนาน่าสนใจดังนี้

  • ประเทศไทยก้าวไกล ด้วย AI เทคโนโลยี: วิทย์สร้างคนและวิทย์เสริมแกร่ง ว่าด้วยทิศทางแนวโน้มงานวิจัยที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) โอกาสของการนำไปใช้งาน รวมถึงผลงานวิจัยของเนคเทคที่เกี่ยวข้อง
  • Cybersecurity & Disruptive Technologies ประเทศไทยจะก้าวไปอย่างไร: วิทย์เสริมแกร่ง ด้วยการเตรียมความพร้อมด้านความมั่นคงปลอดภัยทางเทคโนโลยีต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วดังกล่าว
  • Kid Bright: Coding at School Project: วิทย์สร้างคนและวิทย์เสริมแกร่ง งานวิจัยไทยสู่การใช้จริงในโรงเรียนกว่า 200 โรงเรียน เพื่อเสริมแกร่งแก่เยาวชน และสร้างเครือข่าย Maker ไทยให้ยั่งยืน
  • Anurak ระบบบริหารจัดการข้อมูลพิพิธภัณฑ์: วิทย์สู่ภูมิภาค จากงานวิจัยสู่คลังข้อมูลวัฒนธรรมดิจิทัลทั่วประเทศไทย
  • อุตสาหกรรมไทยกับมาตรฐานสากลด้านเครื่องมือแพทย์และนวัตกรรมเพื่อคุณภาพชีวิตในสังคมสูงวัย : การนำเสนอทิศทางมาตรฐานอันจำเป็นสำหรับเครื่องมือแพทย์ และนวัตกรรมเพื่อผู้สูงวัย ตอบโจทย์การเปลี่ยนงานวิจัยไปสู่การใช้ได้จริงในระยะอันใกล้

นอกจากนั้น ตลอดงานยังมีการสัมมนาที่น่าสนใจอื่นๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น “เครือข่าย IoT Academic Network” “Advanced Materials for Sensing and Energy Storage” “เทคโนโลยีเซนเซอร์ตอบโจทย์ใช้จริงในประเทศไทย” เป็นต้น โดยการสัมมนาทั้งหมด ผู้เข้าร่วมสัมมนาจะได้รับฟังความรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งรวมถึง ภาครัฐ ภาคธุรกิจ Start-Up บริษัท Maker ต่างๆ อีกด้วย

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม


การจัดนิทรรศการ

NECTEC-ACE 2018 นำเสนอผลงานของเนคเทคที่สามารถตอบสนองความต้องการของภาคส่วนต่างๆ ด้วยงานวิจัยที่สามารถใช้ได้จริง ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย วิทย์ของภาครัฐ ได้แก่ วิทย์แก้จน วิทย์สร้างคน วิทย์เสริมแกร่ง และวิทย์สู่ภูมิภาค โดยมีผลงานที่น่าสนใจ อาทิ

  • วิทย์แก้จน
    Thai Poverty Map and Analytics Platform: TPMAP ระบบ BigData สำหรับชี้เป้าผู้ที่มีรายได้น้อยเพื่อการกำหนดนโยบายการแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด
  • วิทย์สร้างคน
    KidBright บอร์ดสมองกลฝังตัวที่ส่งเสริมให้เยาวชนไทยได้เรียนรู้กระบวนการคิดอย่างมีระบบ มิวอาย (New Version): กล้องจุลทรรศน์บนมือถือสั่งงานด้วยบอร์ด KidBright หรือคอมพิวเตอร์ ผลงานเยาวชนจากโครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่ สนับสนุนการเรียนรู้ของเยาวชนให้ต่อยอดพัฒนาโปรแกรมซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์สู่การใช้งานจริง
  • วิทย์เสริมแกร่ง
    นำเสนอผลงานที่มีความพร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ภาคธุรกิจ เช่น GASSET: เซนเซอร์ตรวจจับแก๊สชนิดฟิล์มบางสารกึ่งตัวนำโลหะออกไซด์ซึ่งมีความไวสูงและใช้พลังงานต่ำ ABDUL Platform: โปรแกรมแชตบอต อยู่ไหน (UNAI): ระบบระบุตำแหน่งภายในอาคารด้วยเทคโนโลยีบลูทูธ Open-D (Open Data Service Platform): แพลตฟอร์มให้บริการข้อมูลแบบเปิด uRTU: หน่วยตรวจวัดระยะไกลยูนิเวอร์แซล DIGEST: ระบบวินิจฉัยและให้คำแนะนำการสร้างกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อยกระดับการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับอุตสาหกรรมขนาดเล็กตามมาตรฐาน ISO/IEC 29110 และผลงานที่ได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ภาคธุรกิจ เช่น NETPIE: แพลตฟอร์มเพื่ออำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อและสื่อสารระหว่างสรรพสิ่ง Aquatic Control: ระบบควบคุมอิเล็กทรอนิกส์สัตว์น้ำ DSM eMeeting Cloud Service, Digital Dentistry Platform และ โปรแกรมคอมพิวเตอร์อ่านไทย เป็นต้น
  • วิทย์สู่ภูมิภาค
    นำเสนอผลงานที่เนคเทคได้พัฒนาขึ้นจนเป็นผลสำเร็จและสามารถส่งต่อเทคโนโลยีสู่ภูมิภาคต่างๆ ได้เป็นผลสำเร็จ อาทิ ผลงานในกลุ่ม Smart City, Lidar Mapping (Li-Ma): ระบบสร้างแผนที่ 3 มิติที่มีพิกัดทางภูมิศาสตร์โดยใช้แสงเลเซอร์ความละเอียดสูง รักษ์น้ำ: ระบบพยากรณ์และจำลองเหตุการณ์เพื่อการบริหารจัดการปัญหาการรุกล้ำของน้ำเค็ม เป็นต้น

ซึ่งผลงานต่างๆ ที่นำเสนอนั้น ล้วนเป็นผลงานที่ใช้งานได้จริง และสามารถตอบโจทย์ทั้งในมิติของผู้ประกอบการที่ต้องการนำเทคโนโลยีไปต่อยอดธุรกิจ ตลอดจนผู้บริโภคปลายทางได้อย่างดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

]]>
Session 11 : Big Data แก้ไขปัญหาความยากจนแบบชี้เป้า https://www.nectec.or.th/ace2018/ss11-tpmap/ Tue, 31 Jul 2018 22:51:50 +0000 https://10.226.48.53/ace2018/?p=659 Read more

]]>

หัวข้อ: Big Data แก้ไขปัญหาความยากจนแบบชี้เป้า

ห้องสัมมนา: Meeting Room 4
เวลา: 13.00 – 14.30 น.

 

 

การแก้ปัญหาของประเทศจำเป็นต้องใช้ข้อมูลเพื่อการออกนโยบายที่ตรงเป้าเพื่อแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติที่ตั้งอยู่บนหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence Based Policy) ปัจจุบันมีหน่วยงานต่าง ๆ ในประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนเห็นความสำคัญและความจำเป็นในการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อการแก้ปัญหา เช่น งานศึกษาของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ที่ใช้ข้อมูลหลากหลายมิติในการสนับสนุนการวิเคราะห์ความยากจนของคนไทย เป็นต้น หน่วยงานภาครัฐโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์ ได้ร่วมกันพัฒนาระบบ TPMAP (Thai People Map and Analytics Platform) เพื่อใช้วิเคราะห์สนับสนุนการปัญหาความยากจนที่สามารถระบุปัญหาในระดับบุคคล ครัวเรือน ท้องถิ่น/ท้องที่ หรือรายประเด็น

เพื่อทำให้หน่วยงานภาครัฐสามารถออกแบบนโยบายแก้ปัญหาเรื่องความยากจนได้ตรงประเด็นความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้ พร้อมทั้งยังสามารถวิเคราะห์หรือคาดการณ์ผลกระทบที่เกิดจากนโยบายหรือโครงการต่าง ๆ ได้อีกด้วย งานเสวนาในครั้งนี้จะนำเสนอการแลกเปลี่ยนมุมมองต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ข้อมูลในการปัญหาความยากจนของประเทศ รวมถึงแนวคิดและวิธีแก้ไข ที่มีการพัฒนาทางด้านแนวคิดและเทคโนโลยีของหน่วยงานเชิงนโยบายภาครัฐไปได้ทันกับกระแสการพัฒนาแนวคิดและเทคโนโลยีของโลก

กำหนดการ

13.00 – 14.30 น.   การเสวนา Big Data แก้ไขปัญหาความยากจนแบบชี้เป้า

  • การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงประกันภัยให้ผู้มีรายได้น้อย
    โดย ดร.เฉลิมพล สายประเสริฐ
    ดาวน์โหลดไฟล์นำเสนอ
  • ยุทธศาสตร์ชาติกับการแก้ปัญหาความยากจน
    โดย ดร.วันฉัตร สุวรรณกิตติ
    ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์ด้านนโยบายสาธารณะ และ
    ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ
    สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
    ดาวน์โหลดไฟล์นำเสนอ
  • ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานของครัวเรือน (จปฐ.) และข้อมูลพื้นฐานด้านเศรษฐกิจและสังคมระดับหมู่บ้าน (กชช 2 ค) กับปัญหาความยากจนของไทย
    โดย คุณดวงใจ พัทมุข
    นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ กรมการพัฒนาชุมชน
    ดาวน์โหลดไฟล์นำเสนอ
  • เทคโนโลยีใช้ได้จริงกับการบริหารจัดการข้อมูลคนจนแบบชี้เป้า
    โดย ดร.สุทธิพงศ์ ธัชยพงษ์
    นักวิจัย หน่วยวิจัยการวิเคราะห์ข้อมูลและการคำนวณ
    ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
    ดาวน์โหลดไฟล์นำเสนอ

ดำเนินรายการ โดย

  • ดร.เฉลิมพล สายประเสริฐ
  • คุณศิริพร ปานสวัสดิ์
    ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

]]>
Session 10 : Future Trends in Advanced Materials for Sensing and Energy Storage https://www.nectec.or.th/ace2018/ss10-materials/ Tue, 17 Jul 2018 14:44:09 +0000 https://10.226.48.53/ace2018/?p=151 Read more

]]>

หัวข้อ: Future Trends in Advanced Materials for Sensing and Energy Storage

ห้องสัมมนา: Meeting Room 4
เวลา: 10.30 - 12.00 น.

Based on innovative and functional nanomaterial process, recent developments in advanced materials have grown rapidly toward many demands in many fields of applications. This seminar covers international research collaborations and networks of recent interests.

The first talk covers development of high-voltage graphene nanowalls supercapacitor with the effectively matching pair of electrode materials and electrolytes. The binder-free, vertically grown graphene nanowalls (GNW) and nitrogen-doped GNW (NGNW) electrodes respectively provide good examples for extending the upper potential limit of a positive electrode of EDLCs.

The second talk discusses redox flow batteries, the storage battery technologies that offer the finest combination of capacity, cost, durability, and low environmental impact. In the near future, it will become a home storage battery that could benefit in supplying communities with 24-hour power, with no need to build additional connections to strained national electricity grids.


1st talk: High-Voltage Graphene Nanowalls Supercapacitor

Dr. Huang and his research group proposed a guideline, “choosing a matching pair of electrode materials and electrolytes”, to effectively extend the cell voltage of EDLCs according to three general strategies. Based on the new strategy proposed in their work, materials with an inert surface enable to tolerate a wider potential window in commercially available organic electrolytes in comparison with activated carbons (ACs) powder-coated electrodes, GNW/Ti and NGNW/Ti display a binder-free, vertical structure, favoring the penetration of electrolytes and electron transport in the whole graphene matrix. The oxygen-free, binder-free GNWs circumvent the issue of oxygen-functional group removal, which are inert to the irreversible oxidation of organic electrolytes, enlarging the upper limit of working potential window. The uniform N doping on the binder-free, vertical NGNWs significantly depresses the irreversible reduction of residual water and organic electrolyte at the negative potential end, further enlarging the working potential window. This newly designed asymmetric EDLC exhibits a cell voltage of 4 V, specific energy of 52 Wh kg−1 (ca. a device energy density of 13 Wh kg−1), and specific power of 8 kW kg−1 and ca. 100% retention after 10,000 cycles charge-discharge, reducing the series number of EDLCs to enlarge the module voltage and opening the possibility for directly combining EDLCs and LIBs in advanced applications.


2nd talk: Development of Highly Efficient Electrode for Vanadium Redox Flow Battery

The rapid growth of global economy and social development has considerably shifted the demand for electrical energy. To encounter this type of massive demand conventionally, to encourage nations worldwide to seek effective approaches to reduce fossil fuels that produce polluted emissions causing substantial environmental damages, to explored eco-friendly sources of energy, and also to enhance the efficiency of the current electrical grid infrastructure, the novel development of efficient energy storage systems is indeed needed and has been the primary focus of many researchers in the past decades. The goal is not only to satisfy the requirement for stable power but also to make up any shortfall between supply and demand of renewable energy sources and to match generation with load requirements. Accordingly, renewable energy sources have gained much attention due to their low environmental impact; however, the integration of renewable energy into the electrical grid is still limited due to fluctuations in efficiency, absence of main light source (night time), unpredictability (wind and wave power) with deviations in the global climate, and the requirement of being used in combination with energy storage devices. For the large-scale energy storage systems, it is significant to store energy during peak production and release it into the grid during peak demand. Among the available large-scale energy storage technologies, redox flow batteries (RFBs) are considerably the most promising candidate because of their highly efficient electrochemical energy storage and conversion devices where energy is stored and converted through chemical changes in species dissolved in the active electrolyte. Unlike those conventional secondary batteries, RFBs employ electroactive materials stored externally in separate liquid reservoirs and pumped to and from the power converting device when energy is being transferred. Therefore, the energy capacity and the power output scale up independently, with the former determined by the volume and concentration of the electrolyte and the latter depending on the electrode size. Furthermore, RFBs generally have a long service life, rapid response to load changes, deep discharge tolerance, design flexibility, and safety with low environmental impact. Henceforward, the VRFBs are affordable batteries that can harvest solar, wind, and wave energy and store them for future usage. This type of storage battery technologies has offered the finest combination of capacity, cost, durability, and low environmental impact. In the near future, it will become a home storage battery that could benefit in supplying communities with 24-hour power, with no need to build additional connections to strained national electricity grids.

Agenda

10.30 - 12.00 น.

  • High-Voltage Graphene Nanowalls Supercapacitor by Dr. Kun-Ping Huang
  • Development of Highly Efficient Electrode for Vanadium Redox Flow Battery by Prof. Dr. Chen-Hao Wang

speakers:

]]>
Session 9 : สร้างคุณค่าวัฒนธรรมท้องถิ่นด้วยแพลตฟอร์มวัฒนธรรมดิจิทัล Anurak https://www.nectec.or.th/ace2018/ss9-anurak/ Tue, 17 Jul 2018 14:40:21 +0000 https://10.226.48.53/ace2018/?p=149 Read more

]]>

หัวข้อ : สร้างคุณค่าวัฒนธรรมท้องถิ่นด้วยแพลตฟอร์มวัฒนธรรมดิจิทัล Anurak

ห้องสัมมนา: Meeting Room 3
เวลา: 14.45 - 16.15 น.

ศิลปะและภูมิปัญญาของชาติไทย ถือได้ว่าเป็นมรดกของชาติ ซึ่งควรค่าแก่การอนุรักษ์ เพื่อสืบต่อให้กับชนรุ่นหลังได้เกิดการเรียนรู้และตะหนักถึงคุณค่าของท้องถิ่น ซึ่งก่อให้เกิดจิตสำนึกในถิ่นฐานบ้านเกิดและหวงแหนมรดกทางวัฒนธรรมที่มีการสืบทอดต่อกันจากรุ่นสู่รุ่น การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดเก็บข้อมูลหลักฐานของโบราณวัตถุ ชะลอการเสื่อมสภาพ ชำรุดเสียหายของวัตถุทางประวัติศาสตร์ อันเกิดจากการจับต้องโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของมนุษย์ อีกทั้งยังเป็นการช่วยเผยแพร่และสืบค้นองค์ความรู้ ให้สามารถเข้าถึงได้โดยง่าย โดยไม่ทำให้วัตถุทางประวัติศาสตร์เกิดความเสียหาย การพัฒนาบุคลากรถือได้ว่าเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนที่สำคัญ โครงการจึงมุ่งเน้นและให้ความสำคัญในการเสริมสร้างความตระหนักในการพัฒนาบุคลากรในท้องถิ่นให้มีความรู้ในการจัดทำพิพิธภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่เข้ามามีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์ของชุมชน และสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้เผยแพร่จากรุ่นสู่รุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังก่อให้เกิดการอนุรักษ์อย่างยั่งยืนเป็นการพัฒนาสู่เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม อันเป็นประโยชน์ต่อประเทศและสังคมไทย

กำหนดการ

14.45 – 16.15 น. สร้างคุณค่าวัฒนธรรมท้องถิ่นด้วยแพลตฟอร์มวัฒนธรรมดิจิทัล Anurak

เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เล่าถึงมุมมองและประสบการณ์ด้านการทำงานวัฒนธรรมดิจิทัลในมิติต่าง ๆ ได้แก่ ด้านนโยบายที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ของประเทศ ด้านการศึกษา
ในรูปแบบ Communities based learning ด้านชุมชน การท่องเที่ยวและการอนุรักษ์ และด้านเทคโนโลยี ดังนี้

  • ถ่ายทอดประสบการณ์ในมุมมองของภาคธุรกิจ ที่มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน การสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับผลิตภัณฑ์และงานบริการ ที่อาจไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน   ความท้าทายที่จำเป็นต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์กับงานด้านเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร (Information Technology : IT)  รวมไปถึงความสำคัญในการพัฒนาทักษะและเพิ่มศักยภาพด้านบุคลากรด้านเทคโนโลยี
    โดย คุณอภิรัตน์ หวานชะเอม
    Principal Visionary Architect
    KASIKORN Business – Technology Group (KBTG)

  • ถ่ายทอดประสบการณ์ จากชุมชนผู้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ผู้ใช้ประโยชน์จริงจากเทคโนโลยีระบบพิพิธภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Museum) และระบบนำชมพิพิธภัณฑ์ (Museum Pool)
    โดย คุณพรรษา บัวมะลิ
    พิพิธภัณฑ์ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย ไตลื้อ บ้านใบบุญ (เชียงใหม่)
  • สถาบันการศึกษา ตัวกลางในการรับและถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนด้านวัฒนธรรม โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอน พัฒนานิสิต นักศึกษา ให้รับใช้และเข้าถึงชุมชนอย่างแท้จริง
    โดย อาจารย์พิสุทธิลักษณ์ บุญโต
    มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งาน และรองรับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ
    โดย ดร.เทพชัย ทรัพย์นิธิ
    นักวิจัยอาวุโส ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

ดำเนินรายการ โดย

คุณกริช นาสิงห์ขันธุ์
หน่วยวิจัยวิทยาการสื่อสารของมนุษย์และคอมพิวเตอร์ (HCCRU)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

]]>
Session 8 : IoT ก้าวต่อไปของการศึกษาไทยสู่ตลาดงานยุค 4.0 https://www.nectec.or.th/ace2018/ss8-iot-academic/ Tue, 17 Jul 2018 14:29:43 +0000 https://10.226.48.53/ace2018/?p=146 Read more

]]>

หัวข้อ : IoT ก้าวต่อไปของการศึกษาไทยสู่ตลาดงานยุค 4.0

ห้องสัมมนา: Meeting Room 3
เวลา : 13.00 -14.30 น.

 

 

Internet of Things หรือเรียกย่อๆ ว่า IoTเป็นเทคโนโลยีที่จะมาเปลี่ยนโลก และถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะผลักดันให้ประเทศไทยก้าวไปสู่ยุค 4.0 เพราะ IoTเป็นโครงสร้างพื้นฐานในการเชื่อมโยงทุกสรรพสิ่ง ไม่ว่าจะมนุษย์ สิ่งของ และเครื่องจักร ให้สามารถสื่อสารและทำงานร่วมกันได้ กระบวนการ “อัจฉริยะ” หรือ “อัตโนมัติ” ต่างๆ ล้วนอาศัย IoT อยู่เบื้องหลัง ดังนั้นความต้องการการใช้เทคโนโลยีนี้จึงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งจากภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรมต่างๆ แต่กลับมีแรงงานที่เชี่ยวชาญด้าน IoT ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ทั้งในระดับปฏิบัติการไปจนถึงระดับออกแบบ ส่งผลให้การใช้งาน IoT ในประเทศที่ไม่เติบโตอย่างที่ควรจะเป็น

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ได้จัดตั้งโครงการ IoT Academic Networkโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนบุคลากรในสถาบันการศึกษาระดับมัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษา ให้มีความรู้และประสบการณ์ในการพัฒนาระบบและผลิตภัณฑ์ด้าน IoTและนำไปถ่ายทอดให้แก่นักเรียน นักศึกษา เสริมสร้างทักษะเยาวชนของประเทศให้เป็นกำลังพลในการผลักดันให้เกิดการใช้งานIoTอย่างแพร่หลายในประเทศ

งานสัมมนา “IoTก้าวต่อไปของการศึกษาไทยสู่ตลาดงานยุค 4.0”จะเป็นการเปิดตัวสมาชิกในเครือข่ายIoT Academic Network แนะนำผลงานด้าน IoTจากนักเรียนนักศึกษาจากแต่ละสถาบันที่ไปคว้ารางวัลในเวทีประกวดต่างๆ บอกเล่าแนวทางการเรียนการสอนด้านIoT จากสถาบันสมาชิกเครือข่าย    และพลาดไม่ได้ การเสวนาในหัวข้อ "IoTสอนอย่างไรให้ใช้ได้จริงในตลาดงานยุค 4.0” โดยเหล่าวิทยากรที่คร่ำหวอดในแวดวงการศึกษา ไอที และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ที่จะมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง IoT ในปัจจุบัน แนวทางที่ควรจะเป็นในการก้าวต่อไปในอนาคต พร้อมกรณีตัวอย่างที่น่าสนใจ รวมทั้งมุมมองจากภาคเอกชนในแง่ความคาดหวังที่มีต่อตลาดแรงงานด้านIoTตามเป้าประสงค์ “สอนอย่างไรให้ใช้ได้จริง”

กำหนดการ

13:00 – 13:15 น. พิธีลงนามความร่วมมือ IoT Academic Network ระหว่างเนคเทคและ 23 สถาบันการศึกษา

โดย  ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร
ผู้อำนวยการ
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

13:15 – 13:30 น. ปาฐกถา ในหัวข้อ"ปฏิวัติการเรียนการสอนในศตวรรษที่21 – การศึกษาไทยกับตลาดแรงงานในยุค4.0"

รศ.ยืน ภู่วรวรรณ
ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษและที่ปรึกษา
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ดาวน์โหลดไฟล์นำเสนอ

13:30 – 13:40 น. บรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “ทักษะแรงงานด้านIoT เพียงพอแล้วหรือยังในตลาดงานยุค 4.0”

คุณเอกสิทธิ์ อินทร์ทอง
ผู้จัดการทั่วไป
บริษัท นิเด็ค ชิบาอุระ อิเล็คโทรนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด

13:40 – 13:45 น. บรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “มองไปข้างหน้า IoT Academic Network”

โดย ดร.พนิตา พงษ์ไพบูลย์
หัวหน้าทีมวิจัยพัฒนา NETPIE IoT Platform
ดาวน์โหลดไฟล์นำเสนอ

13:45 – 14:15 น. การเสวนา หัวข้อ "IoT กับการศึกษาไทย สอนอย่างไรให้ใช้ได้จริง”

ร่วมเสวนาโดย

  • รศ.ยืน ภู่วรวรรณ
    ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษและที่ปรึกษา
    สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ดร.สันติ นุราช
    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ดร.สมชาย ธำรงสุข
    ผู้อำนวยการ
    สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก
  • ผศ.ชยการ คีรีรัตน์
    โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

14:15-14:30 นำเสนอตัวอย่างผลงาน IoT เด่นจากเวทีประกวดนวัตกรรมต่าง ๆ ของนักเรียนนักศึกษาจากสถาบันในโครงการฯ

ดำเนินการโดย

ดร.พนิตา พงษ์ไพบูลย์
หัวหน้าทีมวิจัยพัฒนา NETPIE
และ ดร.เอมอัชนา นิรันตสุขรัตน์
นักวิจัยกลุ่มวิจัยเอดจ์คอมพิวติ้งสำหรับเชื่อมต่อสรรพสิ่ง
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

 

หมายเหตุ : กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

]]>
Session 7 : พัฒนาอัจฉริยภาพเด็กไทยด้วย KidBright สู่ Kick Startup https://www.nectec.or.th/ace2018/ss7-kidbright/ Tue, 17 Jul 2018 14:22:27 +0000 https://10.226.48.53/ace2018/?p=144 Read more

]]>

หัวข้อ: พัฒนาอัจฉริยภาพเด็กไทยด้วย KidBright สู่ Kick Startup

ห้องสัมมนา : Meeting Room 3
เวลา : 10.30 - 12.00 น.

จากแรงบันดาลใจของนักวิจัยของเนคเทคที่ต้องการพัฒนาเครื่องมือช่วยสอนเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยหวังว่าบอร์ด KidBright ที่พัฒนาขึ้นจะถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการสอนโปรแกรมเขียนคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนทั่วประเทศ แต่การกระจายไปสู่โรงเรียนได้ จำเป็นต้องมีความร่วมมือจากกลุ่มคนหลายกลุ่ม ทั้งทางนโยบายการจัดทำตำราและเนื้อหาการสอน ผู้ช่วยสอนจากเครือข่ายตามภูมิภาคและกระจายบอร์ดไปในพื้นที่ รวมไปถึงการผลักดันประเทศไทยให้มี Science Toy Industry จำเป็นต้องมีกลุ่ม Maker ที่มาช่วยในการผลักดันผลิตภัณฑ์สู่อุตสาหกรรมทั้งในด้านพัฒนาอุปกรณ์เสริมและผลิตเนื้อหาเพิ่มเติม เพื่อให้อุตสาหกรรมเป็นไปอย่างยั่งยืน

กำหนดการ

10.30 – 12.00 น. การเสวนา พัฒนาอัจฉริยภาพเด็กไทยด้วย KidBright สู่ Kick Startup

  • แรงบันดาลใจในการออกแบบ KidBright
    โดย ดร.อภิชาติ อินทรพานิชย์
    นักวิจัย
    ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
  • นโยบายทางด้านการศึกษา
    โดย ดร.พิเชฎษ์ จับจิตต์
    ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาสื่อและการเรียนรู้
    สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
  • เนื้อหาบทเรียน การออกแบบบทเรียน
    โดย อาจารย์จิระศักดิ์ สุวรรณโณ
    นักวิชาการ
  • กลุ่มขับเคลื่อนสู่ภูมิภาค
    โดย อาจารย์โอภาส วงษ์ทวีทรัพย์
    รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและพัฒนาระบบงานคณะวิทยาศาสตร์
    และอาจารย์ประจำภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • Community และอุตสาหกรรม Open Source
    โดย นายแพทย์ภาณุทัต เตชะเสน
    กรรมการผู้จัดการ
    บริษัท เมกเกอร์เอเชีย จำกัด

ดำเนินรายการโดย

ดร.กัลยา อุดมวิทิต
รองผู้อำนวยการ
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

]]>
Session 6 : โอกาสใหม่และข้อท้าทายของการจัดเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (Assistive Technology-AT) เป็นกลุ่มประเภทใหม่ของเครื่องมือแพทย์ https://www.nectec.or.th/ace2018/ss6-agingsociety/ Tue, 17 Jul 2018 14:19:24 +0000 https://10.226.48.53/ace2018/?p=141 Read more

]]>

หัวข้อ: โอกาสใหม่และข้อท้าทายของการจัดเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (Assistive Technology-AT) เป็นกลุ่มประเภทใหม่ของเครื่องมือแพทย์

ห้องสัมมนา: Meeting Room 2
เวลา: 13.00 - 16.15 น.

สังคมโลกก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (Assistive Technology–AT) ถูกใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้น และมีแนวโน้มจะกลายเป็นอุปกรณ์ช่วยในการดำรงชีวิตประจำวันในกลุ่มของผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการรวมทั้งกลุ่มผู้ทำหน้าที่ผู้ช่วย/ผู้ดูแล เช่น อุปกรณ์ช่วยในการเคลื่อนไหว อุปกรณ์ช่วยในการสื่อสาร การรับรู้ทางการเห็นและการได้ยิน เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบันทำให้มีการออกแบบและพัฒนา AT ที่หลากหลายและมีฟังก์ชันใช้ประโยชน์มากขึ้น ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบเชิงพัฒนาคุณภาพชีวิตแล้ว ยังเป็นโอกาสเชิงธุรกิจในการพัฒนาอุตสาหกรรมด้าน AT ด้วย องค์การอนามัยโลกส่งเสริมการการเข้าถึงการใช้งานของคนพิการและผู้สูงอายุโดยจัดทำรายการอุปกรณ์เครื่องช่วย เรียงตามลำดับความสำคัญ 50 รายการ (Priority Assistive Products list)

อย่างไรก็ดี การจัดบริการด้านเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกของหน่วยงานภาครัฐ เอกชนในสังคมไทยส่วนหนึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของประเภทเครื่องมือแพทย์ การกำกับให้เป็นไปตามมาตรฐาน รวมทั้งระบบการกระจายบริการ (Service Delivery and Distribution) ปรากฏมีอยู่ในหลายหน่วยงาน ซึ่งอาจต้องการการหารือและวางแผนร่วมกันเพื่อสร้างระบบการบริการที่สามารถส่งถึงมือผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงกับความต้องการอย่างแท้จริง

กำหนดการ

13.00 – 16.15 น. การเสวนา โอกาสใหม่และข้อท้าทายของการจัดเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (Assistive Technology–AT) เป็นกลุ่มประเภทใหม่ของเครื่องมือแพทย์

  • ความต้องการ AT ในฐานะสิทธิพื้นฐาน
    โดย ดร.นันทนุช สุวรรนาวุธ
    นักวิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
    และคณะกรรมการการบริหารสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย
    ดาวน์โหลดไฟล์นำเสนอ
  • จะสนับสนุนอย่างไรเพื่อผลักดันงานวิจัย AT สู่อุตสาหกรรม
    โดย รศ.ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์
    รองคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • AT ในมิติ กลุ่มประเภทของเครื่องมือแพทย์
    โดย เภสัชกรหญิงกรภัทร ตรีสารศรี
    ผู้อำนวยการกองควบคุมเครื่องมือแพทย์
    สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
  • ระบบบริการและการกระจายบริการ AT
    โดย นายแพทย์ประจักษวิช เล็บนาค
    รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
    กระทรวงสาธารณสุข
    ดาวน์โหลดไฟล์นำเสนอ
  • การจัดทำบัญชีเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกระดับชาติ
    โดย แพทย์หญิงวัชรา ริ้วไพบูลย์
    คณบดีวิทยาลัยราชสุดา
    มหาวิทยาลัยมหิดล
    ดาวน์โหลดไฟล์นำเสนอ

ดำเนินรายการ โดย

อาจารย์วันทนีย์ พันธชาติ
รักษาการผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีเพื่อคนพิการและผู้สูงอายุ
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

]]>
Session 5 : Cybersecurity & Disruptive Technologies https://www.nectec.or.th/ace2018/ss5-cybersecurity/ Tue, 17 Jul 2018 14:06:51 +0000 https://10.226.48.53/ace2018/?p=138 Read more

]]>

หัวข้อ: Cybersecurity & Disruptive Technologies ประเทศไทยจะก้าวไปอย่างไร

ห้องสัมมนา: Meeting Room 2
เวลา: 10.30 - 12.00 น.

Cybersecurity หรือความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ถือเป็นพื้นฐานสำคัญที่ช่วยปกป้องข้อมูลและระบบคอมพิวเตอร์ให้ปลอดภัย รวมถึงระบบภายใต้ Disruptive Technologies ที่คาดหมายว่าจะสร้างผลกระทบในวงกว้างก็จำเป็นที่จะต้องได้รับการปกป้องข้อมูลด้วย เสวนาในหัวข้อนี้จะกล่าวถึง Keyword ที่กำลังมาแรงในประเทศไทย เช่น Blockchain, Cryptocurrency, Cryptography, DepOps/SecOps, National ID, PromtPay, Enterprise Architecture, Secure Coding เป็นต้น ว่าแท้จริงสิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกับ Cybersecurity หรือไม่ อย่างไร ประเทศไทยจำเป็นหรือไม่ และประเทศไทยโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่จะก้าวไปพร้อมกับสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร

กำหนดการ

10.30 – 12.00 น.  การเสวนา Cybersecurity & Disruptive Technologies ประเทศไทยจะก้าวไปอย่างไร

  • แนวโน้มด้าน Cybersecurity ที่กำลังมาแรงในประเทศไทยและของโลก
  • Keyword ใหม่ๆ อย่าง Blockchain, Cryptocurrency, National ID, PromtPay ฯลฯ เกี่ยวข้องกับ Cybersecurity หรือไม่ อย่างไร น่ากังวลหรือไม่
  • ประเทศไทยมีความพร้อมด้าน Cybersecurity หรือยัง ภาครัฐกับเอกชนมีมุมมองต่างกันหรือไม่

ร่วมเสวนาโดย

  • ดร.โกเมน พิบูลย์โรจน์
    ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ที-เน็ต จำกัด
  • คุณนฤดม รุ่งศิริวงศ์
    ผู้อำนวยการอาวุโส หัวหน้าฝ่าย IT Security ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน)
    และกรรมการศูนย์ประสานงานด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศภาคการธนาคาร (TB-CERT)
    ดาวน์โหลดไฟล์นำเสนอ
  • ดร.ภูมิ ภูมิรัตน
    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านควานมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ
    คณะกรรมการเตรียมการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
    ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
    และ ที่ปรึกษาสมาคมฟินเทค

ดำเนินรายการ โดย
ดร.ชาลี วรกุลพิพัฒน์
นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

]]>
Session 4 : เกษตรไทยสู่เกษตรอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยี เพื่อประเทศไทย 4.0 https://www.nectec.or.th/ace2018/ss4-smartfarm/ Tue, 17 Jul 2018 13:59:30 +0000 https://10.226.48.53/ace2018/?p=135 Read more

]]>

หัวข้อ: เกษตรไทยสู่เกษตรอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยีเพื่อประเทศไทย 4.0

ห้องสัมมนา: Meeting Room 1
เวลา: 14.45 - 16.15 น.

สำหรับการดำเนินงานทางการเกษตรของเกษตรกรในปัจจุบันสามารถควบคุมตัวแปรบางประการที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ไม่ว่าจะเป็น วัสดุปลูก การให้น้ำ การให้ปุ๋ยหรือแม้แต่เรื่องการป้องกันแมลงแต่ข้อจำกัดของเกษตรกรคือวิธีการควบคุมสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชว่าควรเป็นอย่างไรทำอย่างไรพืชจึงมีการเจริญเติบโตในสภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตตลอดช่วงอายุตั้งแต่กระบวนการเริ่มต้นเพาะจนกระทั้งเก็บเกี่ยวและด้วยเหตุนี้การนำเทคโนโลยีการทำเกษตรอัจฉริยะแม่นยำสูงซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีเซนเซอร์เข้ามาช่วยในกระบวนการเพาะปลูกถือเป็นสิ่งจำเป็นในการช่วยให้เกษตรสามารถควบคุมสภาวะแวดล้อมในการปลูกตั้งแต่ต้นจนกระทั้งจบ ส่งผลให้สามารถควบคุมคุณภาพและประเมินปริมาณผลผลิตรวมถึงจะช่วยในเรื่องของการเพิ่มมูลค่าของผลิตผลได้ และอีกประการหนึ่งคือการช่วยเกษตรกรนำองค์ความรู้ที่เกิดจากทักษะที่ไม่สามารถถ่ายทอดให้เข้าใจได้เนื่องจากการทำเกษตรกรรมแบบดังเดิม รูปแบบการเรียนรู้และถ่ายทอดทักษะในด้านการเกษตรเกิดจากการลองผิดลองถูกของตัวเกษตรกรเอง หรือจากองค์ความรู้ที่ถูกถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ ซึ่งเป็นทักษะเฉพาะบุคคลหรือเฉพาะกลุ่มคนทำให้กระบวนการในการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นไม่สามารถถ่ายทอดได้โดยง่ายแต่ด้วยการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการเพาะปลูกและเก็บรวบรวมข้อมูลจึงทำให้องค์ความรู้เหล่านั้นสามารถอธิบายและถ่ายทอดสู่เกษตรกรโดยทั่วไปได้ง่ายขึ้น

ดังนั้นการพัฒนาเกษตรไทยสู่เกษตรอัจฉริยะ ด้วยเทคโนโลยีจึงเป็นอนาคตของเกษตรกรไทยเพื่อให้เกษตรกรไทยไปยังเป้าหมายประเทศไทย 4.0 พัฒนาและขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และ ยังยืน

กำหนดการ

14.45 – 15.15 น. เทคโนโลยีเซนเซอร์กับการทำระบบเกษตรอัจฉริยะแม่นยำสูงโดยใช้ IOT ของ TMEC

โดย คุณนริชพันธ์ เป็นผลดี
ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส
ศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC)
ดาวน์โหลดไฟล์นำเสนอ

15.15 – 16.15 น. การเสวนา ถ่ายทอดเรื่องราวมุมมอง การใช้เทคโนโลยีการเกษตรอัจฉริยะแม่นยำสูงกับการพัฒนาด้านการเกษตรในอนาคตไปสู่ประเทศไทย 4.0

ร่วมเสวนาโดย

  • คุณสนั่น เป็นผลดี
    เจ้าของฟาร์ม ล้านนาเจ้านาย ต้นแบบเกษตรกรผู้สูงอายุ
  • คุณณัฐ มั่นคง
    เจ้าของฟาร์มโคโค่เมล่อน  Young Smart Farmer จังหวัดสุพรรณบุรี
    ดาวน์โหลดไฟล์นำเสนอ
  • คุณชลิตา ไทยแก่น
    เจ้าของศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตำบลสิบเอ็ดศอก
    เกษตรกรหญิงผู้ทำการเกษตรอินทรีย์ ศูนย์เรียนรู้ทางการเกษตรตามแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9

ดำเนินรายการ โดย

คุณนริชพันธ์ เป็นผลดี
ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส
ศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC)

]]>