|
NECTEC Annual Conference & Exhibitions 2010
"Roles of ICT R&D for Service-Based Economy"
23-24 September 2010 at Thailand Science Park Convention Center, Pathumthani
Serviced-based economy is the form of business which rely on the value of services and how they are delivered to the customers. It can come in variety of forms. Two that are mainly observed are the service features that come with the products (smart services) and the creativity of new business processes (creative service). All these will lead the business competition on “service innovation” term that will give the most value to the customers who will pay only for what they “feel” deserved.
In many developed economies, this trend has been recognized and nurtured for some years. Their governments have planned capacity for business sectors to be ready by supporting fundings into R&D and preparation in the new competing field.
To the dawn of this new horizon, ICT has been and will be playing crucial role as the “enabling technologies” that inter-twine the inter-disciplinary science and cross-application areas. Whether in agriculture, health, environment, energy, electronics and IT industry, transportation, entertainment, and social issues, etc., ICT will appear everywhere as their platform of automation behind the scenes.
คาดการณ์กันว่าในช่วง 3-5 ปีข้างหน้านี้จะเกิดการปฏิรูปการทำธุรกิจ (Business Transformation) จากธุรกิจบนฐานของ “สินค้า” (Product) ไปสู่ธุรกิจบนฐานของ “บริการ” (Service) ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้รูปแบบการธุรกิจเปลี่ยนไปเท่านั้น แต่การปฏิรูปธุรกิจในครั้งนี้จะนำไปสู่การเคลื่อนของระบบเศรษฐกิจจากระบบ เศรษฐกิจฐานการผลิตไปสู่ระบบเศรษฐกิจฐานบริการ (Service-based Economy) การเปลี่ยนผ่านในครั้งนี้นำมาทั้งโอกาสและภัยคุกคามต่อระบบธุรกิจอุตสาหกรรมในทุกสาขา ซึ่งธุรกิจที่ตระหนักและพร้อมเท่านั้นที่จะสามารถมองเห็นแนวโน้มนี้และหยิบคว้ามาเป็นโอกาสทางธุรกิจ
ในประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศได้เริ่มตระหนักและเดินหน้าสู่ เศรษฐกิจฐานบริการมาหลายปีแล้ว ภาครัฐของประเทศต่างๆ เหล่านี้ได้ผลักดันอย่างเต็มที่เพื่อขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศไปสู่ ระบบเศรษฐกิจฐานบริการ (Service-based Economy) ไม่ว่าจะเป็นการสร้างการรับรู้ของภาคธุรกิจต่อการเติบโตของแนวโน้มดังกล่าว การสนับสนุนเงินทุนและส่งเสริมงานวิจัยจำนวนมากเพื่อช่วยให้ภาคธุรกิจของประเทศมีความพร้อมอย่างเต็มที่ในสนามแข่งขันใหม่ที่กำลังจะเข้มข้นในอนาคตอันใกล้นี้
ระบบเศรษฐกิจฐานบริการ (Service-based Economy) คือ รูปแบบของธุรกิจที่หันมาแข่งขันกันที่การบริการมากขึ้น ซึ่งการบริการที่ว่านี้มีด้วยกัน 2 ประเภท บริการประเภทแรก คือ การบริการที่มากับตัวสินค้า (Smart Service) โดยการทำให้ตัวสินค้ามีความฉลาดมากขึ้น สินค้าจะสามารถให้บริการผู้ใช้ได้มากขึ้น เพื่อตอบสนองให้ผู้ใช้งานมีความสะดวกสบายและปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งบริการประเภทนี้ต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยอย่างมาก กับการบริการอีกประเภทหนึ่งคือการบริการที่ผูกติดอยู่กับความเชี่ยวชาญ ความชำนาญและทักษะของคน ซึ่งบริการประเภทนี้เป็นน่านน้ำใหม่ของธุรกิจ ขนาดและความใหญ่ของตลาดประเภทนี้ไร้ขอบเขตและข้อจำกัด เพราะรูปแบบของสินค้าในรูปของบริการนี้สามารถเป็นอะไรก็ได้แล้วแต่ว่าธุรกิจ นั้นจะสามารถมีความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) มากน้อยเพียงใด และเชื่อกันว่าบริการประเภทนี้จะเข้ามามีบทบาทอย่างมากในอนาคตอันใกล้นี้
ทั้งนี้ รูปแบบการบริการทั้ง 2 ประเภทนี้จะผลักดันให้การแข่งขันในภาคธุรกิจเดินหน้าไปสู่การคิดค้นนวัตกรรมการบริการ โดยมีจุดมุ่งหมายสูงสุดอยู่ที่การให้บริการแบบเบ็ดเสร็จในขั้นตอนเดียว (One-Stop-Service) หรือย่างน้อยก็จะต้องคิดค้นบริการที่ลดขั้นตอนของกระบวนการทำธุรกิจให้เหลือ น้อยลง เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจระหว่างกันและระหว่างลูกค้าเพิ่มมากขึ้น
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีบทบาทที่สำคัญยิ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานบริการทั้งในรูปของผลิตภัณฑ์ที่มาพร้อมกับการบริการ และในฐานะเทคโนโลยีที่เรียกว่า “เทคโนโลยีก่อกำเนิด” (Enabling Technologies) นั่นคือจะเป็นเทคโนโลยีที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการให้บริการในสาขาเศรษฐกิจและสังคมอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเกษตร อุตสาหกรรมการผลิต ธุรกิจการค้า การศึกษา การท่องเที่ยว การแพทย์และสาธารณสุข รวมทั้ง อุตสาหกรรมในกลุ่มเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ Creative Economy (ภาพยนตร์ ดนตรี แฟชั่น ฯลฯ) เป็นต้น
การประชุมวิชาการและนิทรรศการประจำปี 2553 ของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC-ACE 2010) เล็งเห็นถึงความสำคัญบทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานบริการของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การวิจัยและพัฒนาที่เป็นรากฐานของการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่นำมาซึ่งการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จึงได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิมาร่วมบรรยายพิเศษเพื่อเป็นการให้ความรู้ มุมมอง และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ อันจะนำไปสู่การสร้างความตระหนักให้สังคมได้เกิดการรับรู้และเตรียมตัวที่จะรับการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งมองหาโอกาสที่จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นกลไกในการขับเคลื่อนธุรกิจอุตสากรรมให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจฐานบริการทั้งในระดับประเทศและระดับโลกได้อย่างราบรื่น