VLSI Implementation of a Symmetric Cipher Using Cellular Automata

Banlue Srisuchinwong, Thitiporn Lertrusdachakul,
Orapin Watcharawetsaringkan and Kittipong Meesawat
Department of Electrical Engineering, Sirindhorn International Institute of Technology
Thammasat University, Rangsit Campus, Pathumthani, 12121, Thailand


บทคัดย่อ -- บทความนี้เสนอการสร้างวงจรรวมขนาดใหญ่สำหรับวงจรป้องกันการดักฟัง (Cipher) แบบสมมาตร โดยใช้ เซลลูล่า ออโตเมต้าแบบ non-autonomous และแบบ autonomous โดยการใช้ข้อมูลทุก ๆ 16 บิท ผ่านเข้าไปใน เซลลูล่า ออโตเมต้าแบบ non-autonomous ข้อมูลสามารถไหลทางเดียวได้โดยการใช้ involutions การใช้เซลลูล่า ออโตเมต้าแบบ autonomous จะเปลี่ยนรหัสกุญแจขนาด 96 บิทไปตลอดเวลาในขณะที่ข้อมูลผ่านเข้ามา โครงการนี้ ได้ออกแบบวงจรโดยใช้หลักการ "บนลงสู่ล่าง (Top-Down Design)" ใน 3 ขั้นตอนคือ behavioural level (C language and logic simulations) และ structural level (transistors and spice simulations) สำหรับขั้นตอนที่ 3 คือ physical level (layout) นั้น ยังมิได้นำเสนอในบทความนี้ การออกแบบ "ล่างขึ้นบน (Bottom-Up Design)" ได้นำมาใช้ด้วย ทำให้ได้ข้อสรุปว่า วงจรสามารถทำงานได้ถึง 21 เมกกะเฮิรซ์ โดยมีความเร็ว 336 เมกกะบิทต่อวินาที คุณสมบัติที่สำคัญของเซลลูล่า ออโตเมต้า ได้แก่ ความเรียบง่าย ความเป็นมอดุลาร์ และการติดต่อสื่อสารภายในที่ใช้ระยะทางเพียงสั้นๆกับเซลข้างเคียง คุณสมบัติเหล่านี้ล้วนเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการสร้างวงจรไฟฟ้ารวมขนาดใหญ่มาก


National Electronics and Computer Technology Center (NECTEC)
Copyright  © 2001 By Information System Service Section. All right reserved.