การตรวจวินิจฉัยสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อลิ้นและคอขณะกลืนด้วยอิเล็กโตรดชนิดปิดผิวหนัง Surface Electromyography in Dysphagia
วิทูร ลีลามานิตย์, แอนดรูว์ ซีการ์ , อลัน กีเตอร์
สถาบันวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
เครือข่ายศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
บทคัดย่อ -- วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยปีที่ 1 ระยะที่ 2 คือศึกษาลักษณะจำเพาะของ surface electromyo- graphy (sEMG) ของกล้ามเนื้อลิ้นและคอ (tongue and thyrohyoid muscle) ขณะอาสาสมัครกลืนน้ำลายและอาหารชนิดต่างๆ วิธีวิจัย ทำการบันทึก sEMG ของกล้ามเนื้อลิ้นและคอในอาสาสมัครจำนวน 61 คน ขณะอาสาสมัครกลืนน้ำลาย น้ำ 5 มิลลิลิตร เยลลี่ 5 มิลลิลิตร ขนมปัง (biscuit) ขนาด 5 มิลลิลิตร อย่างละ 3 ครั้ง และทำการบันทึก sEMG ของกล้ามเนื้อลิ้นและคอในอาสาสมัครอีก 2 คน คนละ 3 ครั้งห่างกันครั้งละ 1 สัปดาห์ ขณะอาสาสมัครกลืนน้ำลาย น้ำ 5 มิลลิลิตร และ 10 มิลลิลิตร อย่างละ 6 ครั้ง เพื่อทดสอบ reproducibility ของวิธีตรวจวัด และ intrasubject and intersubject variation ทำการประมวลผลของ sEMG ทั้งหมดด้วย algorithm ที่ใช้ในระยะแรกของโครงการวิจัย แล้ววิเคราะห์ลักษณะจำเพาะของ sEMG ด้วยวิธี 1.หาค่ารากที่สองของผลคูณค่าเฉลี่ยพื้นที่ใต้ curve (SRMAUC) ของ sEMG กล้ามเนื้อลิ้นและคอขณะกลืน 2.หาผลรวม vector (CV) ของ sEMG กล้ามเนื้อลิ้นและคอขณะกลืน 3.นำค่าSRMAUC และ CV ของ sEMG ในข้อ 1 และ 2 มาหาความสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า 1.SRMAUC ของ sEMG กล้ามเนื้อลิ้นและคอขณะกลืนขนมปังจะแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากการกลืนน้ำลาย กลืนน้ำ และเยลลี่ (p<.001) และ ค่า SRMAUC ขณะกลืน น้ำลายจะแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากการกลืนเยลลี่ (p<.05) ส่วนค่า SRMAUC ขณะกลืนน้ำจะไม่แตกต่างจากการกลืนน้ำลายและเยลลี่ (p>.05) 2.ค่า CV ของ sEMG กล้ามเนื้อลิ้นและคอขณะกลืนขนมปังแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากการกลืนน้ำลาย น้ำ และเยลลี่ (p<.001) และค่า CV ขณะกลืนเยลลี่จะแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากการกลืนน้ำลายและกลืนน้ำ (p<.05) ส่วนค่า CV ขณะกลืนน้ำจะไม่แตกต่างจากกลืนน้ำลาย (p>.05) 3.ค่า SRMAUC และค่า CV ของ sEMG มีความสัมพันธ์ในรูปสมการยกกำลังโดยมี R2=0.83 สรุป การหาค่า SRMAUC และค่า CV ของ sEMG กล้ามเนื้อลิ้นและคอขณะกลืนด้วยวิธีดังกล่าวข้างต้นสามารถใช้ศึกษาลักษณะจำเพาะของ sEMG กล้ามเนื้อลิ้นและคอขณะกลืนในอาสาสมัครปกติได้
|
|
|