การวิเคราะห์และเปรียบเทียบภาษาสืบค้นสำหรับ XML ระหว่าง XQuery และ XSLT
เอกพล จีรังสุวรรณ และ สมนึก คีรีโต
ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ABSTRACT -- XML is a great technology that changes the way of collecting and using data. It can also merge the usage of database and document together. However, using XML with most efficiency it is necessary to deal with an appropriate query language too. At present, XQuery is the lastest query language for XML that is proposed by W3C, the organization that has the authority to settling many Internet standards. XQuery is being developed continuously and is expected to become the complete standard of query language for XML soon. However, in opinions of authors, XQuery still lacks several features to manage data collecting in document forms. This article is an analysis and comparison between 2 famous XML proposals related to query fields, XQuery and XSLT. XSLT is the standard for transforming XML document that can work with document very well. This article identifies differences, advantages and disadvantages between both languages and hopefully this article can bring some ideas to develop a complete standard query language for XML.
KEYWORDS -- XML, Query Language, XQuery, XSLT
บทคัดย่อ -- XML เป็นเทคโนโลยีซึ่งสร้างรูปแบบใหม่ในการจัดเก็บและใช้งานข้อมูล ทำให้การใช้งานร่วมกันระหว่างฐานข้อมูลและเอกสารเป็นไปอย่างราบรื่น อย่างไรก็ตามการใช้งาน XML ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดนั้นจำเป็นต้องทำงานร่วมกับภาษาสืบค้นสำหรับ XML ที่เหมาะสมด้วย, ปัจจุบัน XQuery นับเป็นภาษาสืบค้นสำหรับ XML ล่าสุดที่เสนอโดยหน่วยงาน W3C ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลเกี่ยวกับมาตรฐานต่างๆ ของอินเตอร์เน็ต, XQuery ยังคงได้รับการพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่องและเป็นที่คาดกันว่า XQuery จะกลายเป็นมาตรฐานของภาษาสืบค้นสำหรับ XML ที่สมบูรณ์ในอนาคตอันใกล้ อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของผู้เขียนมีความเห็นว่า XQuery นั้นยังขาดคุณสมบัติที่ดีในการจัดการกับข้อมูล XML ที่อยู่ในรูปแบบของเอกสารหลายๆ ประการ, บทความนี้นำเสนอการวิเคราะห์และเปรียบเทียบระหว่าง XQuery และ XSLT, สำหรับ XSLT นั้นเป็นมาตรฐานในการแปลงข้อมูลที่ถูกออกแบบมาเพื่อการจัดการกับเอกสารโดยเฉพาะ โดยพยายามชี้ให้เห็นถึงความเหมือนและความแตกต่าง รวมถึงข้อดีและข้อเสียระหว่างภาษาทั้ง 2 แบบ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนามาตรฐานของภาษาสืบค้นสำหรับ XML ที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป
คำสำคัญ -- ภาษาสืบค้น, XML, XQuery, XSLT