ปิดฉากลงแล้วอย่างยิ่งใหญ่กับมหกรรมประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 15 หรือ Thailand IT Contest Festival 2016 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๕ - ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๙ ณ หอประชุมมหิศร อาคารเอสซีบีพาร์ค ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ เฟ้นหาสุดยอดตัวแทนเยาวชนไทยเพื่อชิงถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย (NSC 2016) พร้อมสรรหาตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมชิงชัยในงาน Intel International Science and Engineering Fair (Intel ISEF) ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา จากการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ (YSC 2016)
ภายในงานประกอบไปด้วย ๔ กิจกรรม ได้แก่
- การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 18 (The Eighteenth National Software Contest: NSC 2016) ชิงถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พบกับซอฟต์แวร์ยอดเยี่ยมในสาขาต่างๆ อาทิ โปรแกรมเกม โปรแกรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ (CAI) โปรแกรมเพื่อช่วยคนพิการ โปรแกรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โปรแกรมเพื่อประยุกต์ใช้งาน โปรแกรมประมวลผลภาษาไทย Internet of Things โปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ โปรแกรม Open Source สุดยอดโปรแกรมของประเทศไทย โดยฝีมือและมันสมองของเยาวชนไทย
- การประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ครั้งที่ 18 (The Eighteenth Young Scientist Competition: YSC 2016)สรรหาตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมชิงชัยในงาน Intel International Science and Engineering Fair (Intel ISEF) ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา พบปะกับนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ นักวิจัยในอนาคต ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมศาสตร์ พลังงานและวิศวกรรมการขนส่ง คณิตศาสตร์ พิสิกส์และดาราศาสตร์ เคมี วิทยาศาสตร์พืช วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
- การประกวดวงจรอิเล็กทรอนิกส์รุ่นเยาว์ ครั้งที่ 15 (The Fifteenth Youth's Electronics Circuit Contest: YECC 2016) โดยตัวแทนค่ายนักอิเล็กทรอนิกส์รุ่นเยาว์จากทั่วประเทศ เพื่อชิงชัยและค้นหาสุดยอดนักประดิษฐ์ นักอิเล็กทรอนิกส์วัยเยาว์ สร้างสรรค์อุปกรณ์สำหรับ Smart Farm, Smart Home และ Smart Machine
- โครงการ “ต่อกล้าให้เติบใหญ่” โดยได้รับการสนับสนุนมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)ในการสนับสนุนงบประมาณให้แก่เยาวชนที่มีความตั้งใจจริงและมีผลงานที่มีศักยภาพในการต่อยอดพัฒนาผลงานร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร เพื่อเป็นการต่อยอดการพัฒนาผลงานสู่การนำไปใช้งานได้จริง โดยเน้นการทำงานในรูปแบบใหม่ที่เน้นการสร้างกลไกการทำงานร่วมกับภาคีในลักษณะของเครือข่ายจิตอาสา เพื่อสร้างความยั่งยืนของโครงการและสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนและสังคมไทย
ผลการแข่งขัน มีดังนี้
- การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 18 (The Eighteenth National Software Contest: NSC 2016) จัดการแข่งขันออกเป็น 3 ระดับ ในประเภทย่อย จำนวน ๑๒ ประเภท ซึ่งผู้ชนะเลิศในแต่ละประเภทจะได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- การประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ครั้งที่ 18 (The Eighteenth Young Scientist Competition: YSC 2016): โดยผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศจำนวน 9 โครงการ จะได้เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมชิงชัยในงาน Intel International Science and Engineering Fair (Intel ISEF) ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา พบปะกับนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ นักวิจัยในอนาคต ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมศาสตร์ พลังงานและวิศวกรรมการขนส่ง คณิตศาสตร์ พิสิกส์และดาราศาสตร์ เคมี วิทยาศาสตร์พืช วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
- การประกวดวงจรอิเล็กทรอนิกส์รุ่นเยาว์ ครั้งที่ 15 (The Fifteenth Youth's Electronics Circuit Contest: YECC 2016) โดยตัวแทนค่ายนักอิเล็กทรอนิกส์รุ่นเยาว์จากทั่วประเทศ เพื่อชิงชัยและค้นหาสุดยอดนักประดิษฐ์ นักอิเล็กทรอนิกส์วัยเยาว์ สร้างสรรค์อุปกรณ์สำหรับ Smart Farm, Smart Home และ Smart Machine
โปรแกรมเพื่อความบันเทิง ระดับนิสิต นักศึกษา จากทั้งหมด 14 โครงการ
รางวัลที่ 1 เกมพัซเซิลที่มีระบบวางแผนการกระทำล่วงหน้าบนสมาร์ทโฟน จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รางวัลที่ 2 ปาร์ตี้ลิงค์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
รางวัลที่ 3 เกมส่องแสงต้นกล้า จากมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
รางวัลชมเชย เรื่องเล่าของยูนิตเวอร์ส จากมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
รางวัลชมเชย จากผู้เฝ้าดวงดาว จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รางวัลชมเชย เธาซันด์เวิร์ด เธาซันด์เวิลด์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โปรแกรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ระดับนิสิต นักศึกษา จากทั้งหมด 13 โครงการ
รางวัลที่ 1 เนียร์มิต: สนุกกับการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษผ่านเทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกจริง จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รางวัลที่ 2 หมีขั้วโลกเพื่อการเรียนรู้ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
รางวัลที่ 3 ตุ๊กตาพูดโต้ตอบเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กเล็ก จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
รางวัลชมเชย เกมพัซเซิลสองมิติที่ผู้เล่นสามารถออกแบบด่านได้เอง จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
รางวัลชมเชย ระบบการเรียนรู้เขียนโปรแกรมแบบโต้ตอบออนไลน์ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
รางวัลชมเชย การพัฒนาเกมแนวป้องกันฐานทัพสำหรับการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาญี่ปุ่น จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โปรแกรมเพื่อช่วยคนพิการและผู้สูงอายุ ระดับนิสิต นักศึกษา จากทั้งหมด 11 โครงการ
รางวัลที่ 2 ระบบติดตามการเคลื่อนไหวสำหรับการดูแลผู้สูงอายุโดยใช้เทคนิคการทำเหมืองกระแสข้อมูล จากมหาวิทยาลัยหอการค้า
รางวัลที่ 3 เอ็กซ์โกลฟ ไทยทอล์ค จากมหาวิทยาลัยบูรพา
รางวัลชมเชย เครื่องมือสื่อสารสำหรับผู้ที่มีภาวะบกพร่องทางการสื่อความหมาย จากมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
รางวัลชมเชย อุปกรณ์กายภาพบำบัดแขนสำหรับผู้ป่วยอัมพฤกษ์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
โปรแกรมเพื่องานการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับนิสิต นักศึกษา จากทั้งหมด 13 โครงการ
รางวัลที่ 2 การค้นหาโครงข่ายย่อยของยีนโดยการใช้แอฟฟินิตี้ โพรพาเกชั่น คลัสเตอร์ริ่ง และระบบประมวลผล แบบคู่ขนาน จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
รางวัลที่ 2 ระบบวิเคราะห์และตรวจจับการบุกรุกสำหรับศูนย์ข้อมูล จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
รางวัลที่ 3 การสร้างโมเดลเพื่อพยากรณ์โอกาสสำเร็จการศึกษาโดยใช้เทคนิค การทำเหมืองข้อมูล จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี
รางวัลชมเชย การพัฒนาโปรแกรมค้นหาโครงสร้างโครงข่าย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รางวัลชมเชย ระบบตรวจสอบโอกาสเกิดอุบัติเหตุทางบก เมื่อผู้ขับขี่ยานพาหนะมีทัศนวิสัยไม่ชัดเจน มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Mobile Application จากทั้งหมด 13 โครงการ
รางวัลที่ 3 แกว่งล่าฝัน จากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
รางวัลที่ 3 สมาร์ทเช็ค จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
รางวัลที่ 3 แอปพลิเคชั่นการบริจาคโลหิต จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
รางวัลชมเชย ระบบการตอบคำถามสำหรับสถานที่ท่องเที่ยวจากการทำเหมืองข้อมูลออนไลน์ จากมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
รางวัลชมเชย โปรแกรมประยุกต์สนับสนุนผู้เข้าใช้บริการโรงพยาบาลโดยระบบนำทางภายในอาคาร จากจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
รางวัลชมเชย ชัปปี้คู่หูดูแลสุขภาพ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
หัวข้อพิเศษ
โปรแกรมเพื่อการประยุกต์ใช้งานสำหรับลินุกซ์ (Linux Desktop Application) ระดับนิสิต นักศึกษา จากทั้งหมด 5 โครงการ
รางวัลที่ 2 โปรแกรมเพื่อการประยุกต์ใช้งานสำหรับลินุกซ์ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
รางวัลที่ 3 แฮชแท็ก ปรินท์ติ้ง จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
รางวัลชมเชย โคโค่ : โซลูชั่นตรวจสอบและบันทึกการใช้งานอินเทอร์เน็ตพร้อมระบบตรวจสอบและจัดการการใช้งานโซเชียลมิเดียในองค์กร จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
รางวัลชมเชย แพลตฟอร์มเพื่อการจัดเก็บข้อมูลที่กำหนดด้วยซอฟต์แวร์ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
BEST 2016-Text Localization and Recognition Contest จากทั้งหมด 6 โครงการ
รางวัลที่ 1 ข้อความเอย เจ้าอ่านว่าอย่างไร, ระบบระบุตำแหน่งและรู้จำข้อความบนภาพถ่ายทั่วไป จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รางวัลที่ 2 ระบบสืบค้นรูปภาพจากข้อความอย่างมีประสิทธิภาพ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รางวัลที่ 3 ระบบการแยกแยะบุคคลในภาพถ่ายจากป้ายรหัส จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
Internet of Things จากทั้งหมด 10 โครงการ
รางวัลที่ 1 ระบบไอโอทีอัจฉริยะ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รางวัลที่ 2 ระบบตรวจวัดและควบคุมการใช้พลังงานและความปลอดภัยภายในบ้านโดยใช้การส่งข้อมูลผ่านสายไฟฟ้าและเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รางวัลที่ 3 โครงข่ายบลูทูธอัจฉริยะเพื่อการจัดงานในสถานที่ขนาดใหญ่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
รางวัลชมเชย เกตเวย์ที่รองรับหลายโปรโตคอล สำหรับการเชื่อมต่อของสรรพสิ่ง จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Artificial Intelligence Applicationจากทั้งหมด 6 โครงการ
รางวัลที่ 3 การประยุกต์ใช้ระบบนิวแมติกส์ร่วมกับ PLC ในการสร้างหุ่นยนต์เล่นดนตรีอัตโนมัติร่วมกับมนุษย์ จากโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี
รางวัลที่ 3 แขนกลคัดแยกขนาดไข่ไก่ จากมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
รางวัลชมเชย ระบบการจำแนกความรู้สึกแบบสองภาษาอัลกอริทึมการเรียนรู้แบบมีผู้สอน มหาวิทยาลัยมหาสารคราม
โปรแกรมเพื่อความบันเทิง ระดับนักเรียน จากทั้งหมด 13โครงการ
รางวัลที่ 2 คืนฆ่า ล่าไม่ยั้ง จากโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 2
รางวัลที่ 2 ตกศัพท์มหาประลัย จากโรงเรียนสตรีอ่างทอง
รางวัลที่ 3 เว็บแอพพลิเคชั่นแมชอัพ MixoNote จากโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี
รางวัลที่ 3 บุญรอด ต้องรอด จากโรงเรียนเซนต์ฟรังซิสซาเวียร์ คอนแวนต์
รางวัลชมเชย แบกเป้ตะลุยไทย จากโรงเรียนสตรีอ่างทอง
รางวัลชมเชย ท่วงทำนองแห่งการก่อกำเนิด จากโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร
โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ระดับนักเรียน จากทั้งหมด 10 โครงการ
รางวัลที่ 1 แรงและความดันในดินแดน New AdvenTonจากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
รางวัลที่ 2 สิ่งเร้า ในโลกเสมือนจริง จากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
รางวัลที่ 3 ทอ-ไอ-ยอ ไทย จากโรงเรียนเซนต์ฟรังซิสซาเวียร์ คอนแวนต์
รางวัลชมเชย เปิดสมอง ประลองคำศัพท์ จากโรงเรียนสตรีอ่างทอง
รางวัลชมเชย โครงการเกมมือถือเพื่อพัฒนาความรู้รายวิชาเคมีเรื่อง ตารางธาตุ ธาตุ และสารประกอบ จากโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย
โปรแกรมเพื่อการประยุกต์ใช้งาน ระดับนักเรียน จากทั้งหมด 15 โครงการ
รางวัลที่ 2 โปรเจคท์ Zrinka: แพลตฟอร์มบัตรสมาชิกร้านค้าและโปรโมชั่นบนอุปกรณ์พกพา จากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
รางวัลที่ 2 เว็บแอพพลิเคชั่นเพื่อการบริหารจัดการห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนากา
รางวัลที่ 3 หมูออมสิน จากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
รางวัลชมเชย ระบบข้อมูลสัตว์เลี้ยงอัจฉริยะ จากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
รางวัลชมเชย การตรวจสอบการคัดลอกรหัสต้นฉบับในชั้นเรียนโดยการใช้รหัสตัวอย่าง จากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
###รางวัล IoT Windows 10 Special Award ระบบแถวคอยอัจฉริยะ จากมหาวิทยาลัยบูรพา
###รางวัลพิเศษจากบริษัท ไมโครซอฟต์(ประเทศไทย) จำกัด รางวัล Microsoft Universal Windows Platform (UWP) Bridge for Game เกมพัซเซิลที่มีระบบวางแผนการกระทำล่วงหน้าบนสมาร์ทโฟน จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศและได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท อินเทลไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นตัวแทนเข้าแข่งขันในเวที Intel ISEF ได้แก่
-โครงการความสัมพันธ์สมมูลบนบางเซตของคำ สาขาคณิตศาสตร์ จากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
-โครงการการตรวจสอบตะกั่วในน้ำเสียอุตสาหกรรมโดยใช้เซ็นเซอร์บนกระดาษ สาขาเคมี จากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
-โครงงานการศึกษาผลของสารในใบไม้แห้งที่มีผลต่อสมบัติทางเคมีของหวอดจากปลากัด และประยุกต์ใช้สารสกัดจากหวอด สาขาวิทยาศาสตร์พืช โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
รางวัลรองชนะเลิศ ได้รับสิทธิ์เป็นตัวแทนเข้าแข่งขันในเวที Intel ISEF ได้แก่
-โครงการการศึกษาประสิทธิภาพในการลดแรงกระแทกของหมวกนิรภัยจาก ของไหลไดลาแทนต์ธรรมชาติ สาขาฟิสิกส์และดาราศาสตร์ จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
-โครงการการตรวจสอบหมู่เลือดด้วยน้ำลายโดยใช้ GNRs สาขาฟิสิกส์และดาราศาสตร์ จากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
-โครงการการเพิ่มประสิทธิภาพของแผ่นเส้นใยพอลิเมอร์เซลลูโลสอะซิเตทจากไมยราบยักษ์ระดับนาโนจากการปั่นด้วยไฟฟ้าสถิตที่ประกอบด้วยน้ำตะโกในการต้านเชื้อแบคทีเรีย สาขาวิทยาศาสตร์พืช โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย
-โครงการBacterial Cellulosic Ethanol ที่ย่อยด้วย Cellulolytic Bacteria จากมูลวัว สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา
-โครงการวัตกรรมเครื่องกรองน้ำจากวัสดุเหลือใช้เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำเสียปนเปื้อนโลหะหนัก สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย
-โครงการบรรจุภัณฑ์กันกระแทกลดความสูญเสียและชะลอการเปลี่ยนแปลงของผลไม้ในกลุ่ม climacteric fruit ในระหว่างการขนส่งและรอจำหน่าย สาขาวิศวกรรมศาสตร์ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก
ประเภทนิสิต นักศึกษา
รางวัลที่ 1 ระบบตรวจสอบผู้ป่วยผ่านโทรเวชกรรม จากมหาวิทบาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่
รางวัลที่ 2 โต๊ะทำงานอัจฉริยะที่ควบคุมด้วยการเคาะ จากมหาวิทยาลัยนเรศวร
รางวัลที่ 3 ระบบระบายความร้อนในฟาร์มไก่ จากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
มหกรรมประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 15 หรือ Thailand IT Contest Festival 2016
จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สนับสนุนโดย
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
มูลนิธิสยามกัมมาจล
บริษัท อินเทลไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด