กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค/สวทช.) สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ขอแสดงความยินดีกับ 2 โครงงานจาก Young Scientist Competition (YSC) 2016 ที่ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง สาขา Engineering และ Energy จากการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์นานาชาติ International Sustainable World (Energy, Engineering & Environment) Project Olympiad (I-SWEEP 2016) ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองฮิวสตัน มลรัฐเท็กซัส Texas ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 26 เมษายน ถึง 1 พฤษภาคม 2559 โดยมีการประกาศผลเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2559 ดังนี้
1. โครงงานการศึกษาประสิทธิภาพในการลดแรงกระแทกของหมวกนิรภัยจากของไหลไดลาแทนต์ธรรมชาติ
ผู้พัฒนา นายชิติพัทธ์ ปานอาภรณ์ นายปุณยสิทธิ์ ธนะสมบูรณ์
อาจารย์ที่ปรึกษา นางทิพย์อาภา ศรีวรางกูล
โรงเรียน เตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร
Title: The Study of Ability to Reduce Shocks of Helmet from Natural Dilatant Fluid
Category: Engineering
Contestants: Poonyasit Dhanasomboon and Chitipat Panaphorn
Bronze Award in Engineering, I-SWEEEP 2016
สนับสนุนโดย เนคเทค สวทช.
การศึกษาประสิทธิภาพในการลดแรงกระแทกของหมวกนิรภัยจากของไหลไดลาแทนต์ธรรมชาติ เพื่อพัฒนาสารดูดซับแรงกระแทกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มประสิทธิภาพหมวกนิรภัยให้สามารถลดแรงกระแทกได้มากขึ้น โดยการนำสารไดลาแทนต์ธรรมชาติที่เลือกเป็นมันสำปะหลัง ที่มีความเข้มข้น 12:10 (แป้ง: น้ำ) ซึ่งเป็นสัดส่วนที่พบว่าลดแรงกระแทกได้มากที่สุด สามารถลดแรงกระแทกได้มากกว่ามาตรฐาน 27% ในอนาคตอาจนับได้ว่าสารไดลาแทนต์ธรรมชาติจะเป็นสารที่สามารถช่วยลดแรงกระแทกหลักของโลกแน่นอน
2. โครงงานการศึกษาผลของสารในใบไม้แห้งที่มีผลต่อสมบัติทางเคมีของหวอดจากปลากัดและประยุกต์ใช้สารสกัดจากหวอด
ผู้พัฒนา นายธัชกร จินตวลากร นายภูวนาถ เตรียมชาญชัย
อาจารย์ที่ปรึกษา นายชนันท์ เกียรติสิริสาสน์
โรงเรียน กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
Title: Adjusting the Structure of the Siamese Fighting Fish's Bubble Nest to Improve It's Function as a Food Antimicrobial Agent
Category: Engineering
Contestants: Puvanat Triamchanchai and Touchakorn Chintavalakorn
Bronze Award in Engineering, I-SWEEEP 2016
Special Award from the Houston Urban Network for Science, Technology, Engineering and Mathematics (HUNSTEM) for the most innovative engineering project
สนับสนุนโดย เนคเทค สวทช.
โครงงานการศึกษาผลของสารในใบไม้แห้งที่มีผลต่อสมบัติทางเคมีของหวอดจากปลากัดและประยุกต์ใช้สารสกัดจากหวอด เป็นการศึกษาวัสดุธรรมชาติและความสัมพันธ์ในธรรมชาติจากความรู้และภูมิปัญญาพื้นบ้านของประเทศไทย โดยมีอุปกรณ์ที่แปลกใหม่และมีรูปแบบที่น่าสนใจ ผลการประยุกต์ของงานวิจัยชิ้นนี้คือวัสดุเคลือบในการยืดอายุการเก็บรักษาอาหารสด โดยแบ่งออกเป็น 2 วิธี การทาหวอดบนอาหารสด และผสมหวอดในการทำฟิล์มแป้งมันสำปะหลังเพื่อเคลือบและยืดอายุการเก็บรักษาอาหารสด ซึ่งจากการทดลองพบว่าการทาหวอดบนอาหารสดสามารถทำให้อาหารเน่าเสียช้าลง