สะเต็มศึกษา (STEM Education) คือ แนวทางการศึกษาที่บูรณาการการเรียนรู้ในศาสตร์ต่างๆ เข้าด้วยกัน ได้แก่ ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ความรู้ทางด้านเทคโนโลยี ความรู้ทางด้านวิศวกรรม และความรู้ทางคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต โดยวิชาดังกล่าวมีความสำคัญต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาคุณภาพชีวิต และความมั่นคงของประเทศ ทั้งยังส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสมรรถนะที่จะดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพในโลกศตวรรษที่ 21
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของสะเต็มศึกษา จึงได้พัฒนางานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ที่เน้นการส่งเสริมทักษะในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์นโยบายการศึกษาในรูปแบบดังกล่าว กรณีตัวอย่าง ผลงาน Kid-Bright บอร์ดที่พัฒนาขึ้นเพื่อกระตุ้นศักยภาพการคิดเชิงระบบและการคิดเชิงสร้างสรรค์ผ่านการเรียนรู้แบบ Learn and play โดยผู้เรียนสามารถออกแบบและสร้างชุดคำสั่งแบบ Block-structured programming ผ่านแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน และผลงานวิจัย Mueye (เลนส์มิวอาย) ซึ่งเป็นเลนส์ที่ช่วยเพิ่มความสามารถให้กล้องสมาร์ทโฟนหรือแทปเล็ตกลายเป็นกล้องจุลทรรศน์แบบพกพา สามารถบันทึกภาพวัตถุขนาดเล็กได้ง่ายขึ้น และเมื่อเชื่อมต่อกับเครือข่ายจะช่วยให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลและการเรียนรู้ระหว่างกันได้ ทั้งนี้ เป็นเพียงจุดเริ่มต้นในการพัฒนาผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ที่ช่วยส่งเสริมนวัตกรรมการศึกษาในรูปแบบสะเต็มศึกษาที่เนคเทคได้วิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างเด็กไทยรุ่นใหม่ให้มีทักษะในการสร้างนวัตกรรมที่จะช่วยเสริมความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ผู้ร่วมเสวนา
- ดร.กุศลิน มุสิกุล
ผู้ช่วยผู้อำนวยการ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี - ดร.พูลศักดิ์ โกษียาภรณ์
ที่ปรึกษา สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ - คุณสุภารัตน์ จูระมงคล
ผู้จัดการกิจกรรมเพื่อชุมชน
บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด - ดร.อภิชาติ อินทรพานิชย์
นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ - ดร.อัชฌา กอบวิทยา
นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
ดำเนินรายการโดย
- ดร.อภิวดี ปิยธรรมรงค์
นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ