การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ไม่ได้มีความสำคัญในเรื่องเกี่ยวกับการผลิตเป็นอาหารเท่านั้น สัตว์น้ำสวยงามยังเป็นกลุ่มที่ทำรายได้จำนวนมหาศาลให้กับเกษตรกร ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) เห็นความสำคัญของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และพยายามคิดค้นวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ระบบ และอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อสนับสนุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีลักษณะภูมิอากาศ และสภาพแวดล้อมอื่นๆ ใกล้เคียงกัน เพื่อเป็นเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน รวมถึงสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเกษตรกรได้
ในงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2559 ซึ่งเป็นวาระครบรอบ 30 ปีเนคเทค ทีมวิจัยจากห้องปฏิบัติการต่างๆที่เกี่ยวข้อง จึงได้ร่วมกันจัดการเสวนาเรื่องแนวโน้มและทิศทางระบบตรวจสอบและติดตามเพื่อสนับสนุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอัจฉริยะ (Smart Aqua Monitoring System – SAMS) ขึ้น เพื่อจัดเวทีแลกเปลี่ยน รับทราบความคิดเห็น ความต้องการของเกษตรกร ภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำเอาข้อมูลดังกล่าว มาพัฒนาผลงานซึ่งมีการพัฒนามาระดับหนึ่งแล้ว ให้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งเพื่อหาทิศทางที่เหมาะสมในการพัฒนาผลงานให้พร้อมไปสู่การนำไปขยายผลต่อ เพื่อการทำธุรกิจขายหรือให้บริการระบบ/อุปกรณ์ต่างๆ ที่พัฒนาขึ้น อีกด้วย
ผู้ร่วมเสวนา
- คุณบรรจง นิสภวาณิชย์
นายกสมาคมสมาพันธ์เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งไทย - คุณเปรมศักดิ์ วนัชสุนทร
รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด - คุณเสกสรรค์ ศาสตร์สถิต
หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ - ดร.ศุภนิจ พรธีระภัทร
หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
ดำเนินรายการโดย
- ดร.วงศกร พูนพิริยะ
นักวิเคราะห์อาวุโส ฝ่ายบริหารคลัสเตอร์และโปรแกรมวิจัย
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ