การเสวนา Open Data and Big Data Analytics for E-Government ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริม และผลักดันการใช้ประโยชน์จากข้อมูลแบบเปิดและข้อมูลขนาดใหญ่ จะมาช่วยถ่ายทอดให้เห็นถึงเป้าหมายและความก้าวหน้าในการพัฒนาระบบ ตลอดจนฉายภาพให้เห็นถึงข้อมูลเชิงวิเคราะห์ที่จะนำไปสู่การปรับปรุงการทำงานของภาครัฐตามแนวทางของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ปัจจุบันรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐ (Open Government Data) เพื่อส่งเสริมให้เกิดความโปร่งใสของภาครัฐ การสร้างนวัตกรรมทางธุรกิจ และ การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ได้ริเริ่มเว็บไซต์ Data.go.th ขึ้นเพื่อให้เป็นศูนย์กลางข้อมูลเปิดของหน่วยงานภาครัฐที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ในแบบชุดข้อมูลที่โปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถนำไปประมวลผลได้ง่าย (machine-readable data) ทั้งนี้ข้อมูลที่หลายหน่วยงานได้เปิดเผยนี้เป็นข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ (Big Data) ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะการนำมาใช้วิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบต่างๆ (Data Analytics) เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบาย ที่สามารถนำไปสู่การปรับปรุงการทำงานของภาครัฐตามแนวทางของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ได้ การเสวนาครั้งนี้ได้รับเกียรติจากหน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริม และผลักดันการใช้ประโยชน์จากข้อมูลแบบเปิดและข้อมูลขนาดใหญ่ มาช่วยถ่ายทอดให้เห็นถึงเป้าหมายและความก้าวหน้าในการพัฒนาตามแนวทางดังกล่าว ตลอดจนฉายภาพให้เห็นถึงข้อมูลเชิงวิเคราะห์ที่จะนำไปสู่การปรับปรุงการทำงานของภาครัฐตามแนวทางของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
เวลา 12:30-13:00 น. ลงทะเบียน
เวลา 13:00-14:30 น. การเสวนา “Open Data and Big Data Analytics for E-Government”
ผู้ร่วมเสวนา
- ดร.ศักด์ เสกขุนทด
ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ - คุณณิติญาภรณ์ อิ่มใจ
นักวิชาการคลังชำนาญการ
สำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรมบัญชีกลาง - ดร.สุทธิพงศ์ ธัชยพงษ์
นักวิจัย ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีการวิเคราะห์กระบวนการเชิงคำนวณ
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ - คุณชูชาติ ซาปัน
ผู้อำนวยการเขตการเดินรถที่ 8
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ - ดร.วสันต์ ภัทรอธิคม
นักวิจัยอาวุโส ห้องปฏิบัติการวิจัยระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
ดำเนินรายการโดย
- ดร.มารุต บูรณรัช
นักวิจัย ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีภาษาธรรมชาติและความหมาย
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ