แท้ที่จริง "ร่างรัฐธรรมนูญ" คือ... "หนทาง" ประชาธิปไตย เพื่อชีวิต ที่ดีกว่า

สิทธิในความเป็นผู้เป็นคน | การปฏิรูปราชการ | การปฏิรูป "ศาล" และระบบตรวจสอบ
การปฏิรูประบบผู้แทน | การขจัดความทุจริตในบ้านเมือง | บทส่งท้าย

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มุ่งปฏิรูปการเมือง เพื่อให้พลเมืองไทยมีสิทธิเสรีภาพมีส่วนร่วมในการเมืองการปกครองเพิ่มขึ้น ได้รัฐบาลที่สุจริตชอบธรรม มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพเป็นสำคัญ มาตรการทั้งหลายจึงต้องพิจารณาโดยภาพร่วมเปรียบเสมือนพิจารณาบ้านทั้งหลัง หรือป่าทั้งป่า มิใช่แยกพิจารณาเป็นส่วนๆ ไป

อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญนี้เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้วนั้น หากมีปัญหาในทางปฏิบัติภายหลังก็อาจแก้ไขได้ ผู้ร่างรัฐธรรมนูญตระหนักดีว่ารัฐธรรมนูญนั้น จะต้องปรับปรุงให้เข้ากับสภาวการณ์บ้านเมืองที่เปลี่ยนไป จึงได้รับพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวใส่เกล้าใส่กระหม่อม และกำหนดให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทำโดยง่ายขึ้นกว่าในปัจจุบัน

โดยกำหนดให้ญัตติเสนอข้อแก้ไขมาจาก ส.ส. หรือ ส.ว. เพียง ๑ ใน ๕ เท่านั้น อีกทั้งยังกำหนดให้คณะตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการการเลือกตั้งและคณะกรรมการ ปปช. ใหม่ ทำรายงานให้แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องเสนอต่อ รัฐสภา และคณะรัฐมนตรี เมื่อครบสี่ปี นับแต่วันใช้รัฐธรรมนูญได้ ทั้งนี้เพื่อให้รัฐธรรมนูญนี้สมบูรณ์ที่สุดตามภาวการณ์ในโอกาสต่อๆ ไป และมาตรการใดที่เป็นมาตรการใหม่ ก็ได้กำหนดบทเฉพาะกาลไว้เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านเป็นไปโดยราบรื่นแล้วเช่นกัน